search
ข้อมูล ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
ข้อมูลทั่วไป
เส้นทางท่องเที่ยวโดยนักวิจัย
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทธรรมชาติ
ประเภทประวัติศาสตร์ และศาสนา
ประเภทศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี
การท่องเที่ยวโดยชุมชน
สันทนาการและการบันเทิง
การท่องเที่ยวกลางคืน
การท่องเที่ยวในลักษณะขับรถท่องเที่ยว
เส้นทางท่องเที่ยวโดยทัวร์อื่นๆ
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
โรงแรม / ที่พัก
โรงแรม รีสอร์ท และสปา
ร้านอาหาร
ร้านอาหาร
เครื่องดื่ม
ร้านอาหารฮาลาล
ร้านอาหาร ภัตตาคาร
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
อาหารและเครื่องดื่ม
เครื่องประดับ
เครื่องนุ่งห่ม
ธุรกิจขนาดกลาง/ ขนาดย่อม
กลุ่มอาชีพ / สินค้า
สิ่งอำนวยความสะดวก
โรงพยาบาล
ททท.สำนักงานจังหวัด
สถานีขนส่งรถประจำทาง
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

ย่านเมืองเก่าภูเก็ต ตึกชิโนโปรตุกีส
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

ความเก่าแก่ของถนนถลางซึ่งเคยเป็นศูนย์กลางการค้าของเมือง มีอาคารแบบชิโนโปรตุกีสอันวิจิตรเรียงรายอยู่มากที่สุดประการหนึ่งและสำนึกตระหนักถึงคุณค่าแห่งอดีตของกลุ่มผู้สนใจประวัติศาสตร์เมืองภูเก็จ ที่ริเริ่มเก็บรวบรวมข้อมูลหลักศาสตร์ทางประวัติศาสตร์ของอาคารมาแต่ พ.ศ. 2523 รวมถึงเจ้าของบ้านสถานที่ที่มองเห็นคุณค่าความหมายประการหนึ่ง คือ ปัจจัยก่อเกิดการอนุรักษ์พัฒนาเมืองเก่า

ราว ปี พ.ศ. 2530 เมื่อทิศทางการพัฒนาจังหวัดภูเก็ต มุ่งให้เป็นเมืองท่องเที่ยวระดับโลก ส่วนราชการเริ่มโครงการพัฒนาและอนุรักษ์ย่านการค้าเมืองเก่าขึ้นในปี 2535 มีเทศบาลเมืองภูเก็ตเป็นหลักในการประสานและดำเนินการ ร่วมกันกลุ่มผู้สนใจประวัติศาสตร์เมืองภูเก็จจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องการบูรณะสถาปัตยกรรมย่านเมืองเก่าภูเก็ตขึ้นเมื่อปี 2537 กำหนดพื้นที่นำร่องพัฒนา มีการรณรงค์ให้ชาวถลางเห็นความสำคัญของช่องทางเดินใต้อาคารด้านหน้า (arcade) เพื่อให้เปิดทะลุถึงกันโดยตลอดดังแรกสร้าง 

ซึ่งต่อมาไม่นาน เจ้าของบ้าน 15 คูหายินยอมให้เทศบาลเมือง arcade หรือหง่อคาขี่ และเข้าปรับปรุงซ่อมแซมอาคารได้ปี 2541 และเริ่มต้นจัดงานย้อนอดีตเมืองภูเก็ต ครั้งที่ 1 ขึ้นบนถนนถลาง ระหว่างวันที่ 5-7 มิถุนายนปีเดียวกัน (และมีการจัดต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี) แม้จะมีความพยายามจากหลายฝ่ายในการพัฒนาย่านเมืองเก่าบนพื้นที่ที่มีคุณค่าสูงทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมมาเป็นระยะๆ และมีผลขึ้นบ้าง แต่ก็ยังไม่สามารถสร้างสรรค์ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีตามที่มุ่งหวังไว้ การขาดการบำรุงรักษาอาคารการก่อสร้างใหม่ที่แปลกแยกจากอาคารข้างเคียง การติดตั้งป้ายโฆษณา ป้ายชื่อร้านขนาดใหญ่ การเลือกใช้สีทาอาคารที่ฉูดฉาดเพื่อผลทางการค้า และยังการปิดช่องทางของ arcade ทำให้มีความจำเป็นที่ความรู้ความเข้าใจแก่ชุมชนและภาคธุรกิจให้เกิดจิตสำนึกต่อสาธารณะการจัดระบบและกลไกในความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชน การงบประมาณและความรู้ในทางเทคนิควิธีในการปรับปรุงอาคารเก่า อุปสรรคอันหนึ่งคือความเข้าใจว่าการพัฒนาอนุรักษ์เมืองเก่าของชุมชนและผู้ที่มีหน้าที่นั้น ก็เป็นเพื่อให้ชนรุ่นหลังได้ภาคภูมิใจเท่านั้น ทำให้มีผู้เสียสละเพียงจำนวนน้อยในขณะที่ต้องใช้งบประมาณมาก เทศบาลนครภูเก็ตร่วมกับชุมชนเจ้าของพื้นที่จึงได้ริเริ่มจัดตั้งมูลนิธิ เมืองเก่าภูเก็ตขึ้น เพื่อแสวงหาความร่วมมือจากชุมชนได้คล่องตัวและให้เป็นแนวทางในการพัฒนาร่วม กันต่อไปในอนาคต โดยจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2546 ย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 100 กว่าปีที่แล้ว เมืองภูเก็ตไม่ได้เป็นเมืองท่องเที่ยวชายทะเลเหมือนทุกวันนี้ แต่เป็นเมืองที่มีทรัพยากรแร่ธาติเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะแร่ดีบุก แร่ดีบุกในสมัยนั้นเป็นแร่ที่มีราคามาก หลายประเทศมีความต้องการใช้ในการพัฒนาประเทศเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม จากการที่มีแร่ดีบุกอยู่มาก ทำให้มีชาวต่างชาติโดยเฉพาะชาวตะวันตกเข้าภูเก็ตมาร่วมลงทุนในเหมืองแร่ และมีชาวจีนมาเป็นแรงงาน บ้างก็เปลี่ยนตัวเองมาเป็นนายเหมือง พ่อค้า

เมืองภูเก็ตในตอนนั้นจึงมีวัฒนธรรมแบบตะวันตก และ จีนผสมอยู่ด้วย การสร้างบ้านในตอนนั้นจึงผสมผสานสถาปัตยกรรมทั้งสองแบบเข้าด้วยกัน กลายเป็นสถาปัตยกรรมแบบชิโนโปรตุกีส บ้านเรือนแบบชิโนโปรตุกีส มีอยู่ด้วยกันหลายจังหวัดในภาคใต้ แต่ที่มีเยอะสุด หลายร้อยหลัง อยู่ในสภาพที่ดีที่สุดก็ต้องที่ภูเก็ต

คำว่าชิโน (Sino) แปลว่าจีน ส่วนโปรตุกีส ก็คือประเทศโปรตุเกสในทวีปยุโรป เมื่อรวมเป็น ชิโนโปรตุกีส ก็เป็นสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างจีนกับยุโรปได้อย่างลงตัว

การชมบ้านเมืองเก่าชิโนโปรตุกีส โดยปกติแล้วจะนิยมไปชมที่ ถนนถลาง กระบี่ ดีบุก เยาวราช และ ซ.รมณีย์ เนื่องจากเป็นย่านที่มีบ้านเรือนแบบชิโนโปรตุกีส อยู่อย่างหนาแน่น วิธีที่ง่ายที่สุดในการเดินชมคือการจอดรถเป็นจุดๆ แล้วเดินชม ถ่ายรูป ช่วงเวลาที่ดีที่สุดจะเป็นช่วงเย็น เนื่องจากอากาศไม่ร้อน มีร้านค้า ร้านอาหารหลายร้านในย่านชิโนโปรตุกีส ช่วยเพิ่มสีสัน ให้ย่านเมืองเก่ามีชีวิตชีวา

ผ่านเข้าไปในย่านเมืองเก่าภูเก็ตจะสะดุดตากับตึกแถวแบบโบราณเรียงรายสองฝั่งถนน ที่เป็นร่องรอยประวัติศาสตร์อันรุ่งเรืองสมัยรัชกาลที่ 5 ที่การทำเหมืองแร่เฟื่องฟู ให้ได้สัมผัสเสน่ห์สถาปัตยกรรมชิโน-โปรตุกีส และชมความงดงามแบบคลาสสิค ปัจจุบันเทศบาลนครภูเก็ตและชุมชนได้ร่วมกันส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยจัดเป็นเส้นทางเดินชมเมืองเก่าภูเก็ต มีระยะทางประมาณ 4.6 กม. แบ่งเส้นทางการเดินเป็น 6 ช่วง    ช่วงที่ 1 ถ.ภูเก็ต ถ.รัษฎาและถ.ระนอง    ช่วงที่ 2 ถ.พังงา ถ.ภูเก็ต และถ.มนตรี    ช่วงที่ 3 ถ.ถลาง    ช่วงที่ 4 ถ.กระบี่ และถ.สตูล    ช่วงที่ 5 ถ.ดีบุก ถ.เยาวราช ตรอกสุ่นอุทิศ และซอยรมณีย์    ช่วงที่ 6 ถ.เทพกระษัตรี สถาปัตยกรรม ชิโนโปรตุกีส (Sino-Portuguese) มาจากคำว่า ชิโน หมายถึง จีน ส่วนโปรตุกีสหมายถึง ยุโรป (โปรตุเกส อังกฤษ ฮอลันดา ฝรั่งเศส) แบ่งเป็น 2 รูปแบบใหญ่ๆ คือ    
     1. ตึกแถว ที่คนภูเก็ตเรียกว่า “เตียมฉู่” อาคารพักอาศัยกึ่งพาณิชย์ลักษณะลึกและแคบ มีทางเดินด้านหน้าที่เรียกว่า “หง่อคาขี่”    
     2. อั่ง ม้อหลาว หรือคฤหาสน์ของนายเหมืองชาวจีน อั่งม้อ แปลว่า ฝรั่งหรือชาวต่างชาติ หลาว แปลว่า ตึกคอนกรีต บางแห่งได้แปรเปลี่ยนเป็นร้านอาหาร พิพิธภัณฑ์ แต่ก็ยังคงรูปแบบของสถาปัตยกรรมในอดีตอันทรงคุณค่า

ลักษณะเด่น :
1.เป็นชุมชนที่มีรูปแบบวัฒนธรรมเฉพาะที่เรียกว่า เพอรานากัน ผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมจีนกับมาเลย์ 2.ย่านเมืองเก่าภูเก็ตเป็นแหล่งรวมสถาปัตยกรรมแบบชิโนโปรตุกีส ที่ยังคงรักษาไว้จนถึงปัจจุบัน 
3.มีพิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว เป็นแหล่งรวบรวมเรื่องราวของย่านเมืองเก่าและวิถีชีวิตวัฒนธรรมชาวจีนโพ้นทะเลที่อพยพมาทำเหมือง 
4.ชุมชนเมืองเก่าร่วมกันอนุรักษ์ฟื้นฟูในเรื่องวัฒนธรรม อาคารสถาปัตยกรรม อาหารท้องถิ่น เทศกาลงานประเพณี

กิจกรรมที่น่าสนใจ :
1. ถนนคนเดิน เส้นทางชมเมืองเก่า 6 ช่วง 
2. กิจกรรม นำเที่ยวถนนถลาง ร่วมกิจกรรมทำอาหารพื้นเมือง โดยชาวชุมชน Old Phuket Town ทุกวันอังคารและวันเสาร์ เวลา 10.00-14.00 น. โทร.08-3590-4828, 08-1693-1938

 

 

สิ่งอำนวยความสะดวก :
ที่พัก : มีที่พักในย่านเมืองเก่าอยู่หลายแห่ง ในราคาย่อมเยา
นำเที่ยวโดยชุมชน : ร่วมกิจกรรมทำอาหารพื้นเมือง ในวันอังคารและวันเสาร์ เวลา 10.00 และ14.00 น. สนใจติดต่อ คุณยินดี มโนสุนทร โทร.08-3590-4828 คุณพรรณทิพย์ เสรีพงศากร โทร.08-1693-1938 พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว ตั้งอยู่ริมถ.กระบี่ เปิดให้เข้าชมวันอังคาร
 

 

วันเปิดทำการ : 
 

 

ข้อมูลการติดต่อ :

    เวปไซต์ : www.oldphuketfoundation.org

 

 

เดินทางอย่างไร :

 

อยู่ในตัวเมืองภูเก็ตบริเวณถ.ถลาง ถ.ภูเก็ต ถ.รัษฎา ถ.ระนอง ถ.พังงา ถ.มนตรี ถ.สตูล ถ.เยาวราช และถ.เทพกระษัตรี



--------------------
ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจากเว็บไซต์ http://www.emagtravel.com/archive/phuket-oldtown.html 

 

 

แผนที่ :