search
ข้อมูล ตำบลตลาดเหนือ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
ข้อมูลทั่วไป
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทประวัติศาสตร์ และศาสนา
ประเภทศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี
โรงแรม / ที่พัก
โรงแรม รีสอร์ท และสปา
ร้านอาหาร
ร้านอาหาร
เบเกอรี่
กลุ่มอาชีพ / สินค้า
สิ่งอำนวยความสะดวก
บริษัททัวร์
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

วัดมงคลนิมิตร (วัดกลาง)
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

“วัดมงคลนิมิตร” เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่เลขที่ 3 ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต บริเวณใกล้เคียง ทิศเหนือติดต่อกับเขตสวนของเอกชน ทิศใต้ติดต่อกับถนนดีบุก ทิศตะวันออกติดต่อกับถนนเทพกระษัตรี ทิศตะวันตกติดต่อกับถนนเยาวราช

ลักษณะพื้นที่โดยทั่วไปของบริเวณที่ตั้งวัดเป็นที่ราบเรียบ ตั้งอยู่กลางใจเมืองภายในเขตเทศบาล ประชาชน นิยมเรียกวัดนี้ว่า “วัดกลาง” เพราะว่าตั้งอยู่ใจกลางเมือง วัดนี้สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ.2423 ในสมัยที่เกาะถลางยังเป็นมณฑลภูเก็ตสันนิษฐานกันว่าเป็นเจ้าเมืองเป็นผู้สร้างและได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ประมาณ พ.ศ.2428

เหตุที่เปลี่ยนชื่อ “วัดกลาง” มาเป็น “วัดมงคลนิมิตร” เพราะวัดนี้อยู่ในใจกลางเมือง ทั้งในสมัยเมื่อยังเป็นมณฑลภูเก็ตอยู่ ทางราชการใช้เป็นสถานที่ทำพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาทุก ๆ ปี และเป็นที่ทำพิธีน้ำมุรธาภิเศก ในรัชกาลที่ 4,6 และ 7 ตลอดจนรัฐพิธีและราชพิธีต่าง ๆ ก็ทำที่วัดนี้มาโดยตลอด มายกเลิกเสียเมื่อคราวยุบเลิกมณฑลจึงนับว่าเป็นวัดที่ทางราชการและประชาชน นิยมนับถือว่าเป็นวัดที่ให้มงคลเกิดขึ้น ทางราชการจึงได้ขอเปลี่ยนนามวัดนี้ใหม่ว่า “วัดมงคลนิมิตร” และได้รับพระราชทานยกขึ้นเป็นพระอารามหลวงในปี พ.ศ.2496

วัดมงคลนิมิตร  ปัจจุบันมีพระราชวิสุทธิมุณีเจ้าคณะจังหวัดเป็นเจ้าอาวาสวัดมงคลนิมิตรเป็นวัดที่มีความเก่าแก่วัดหนึ่งในเมืองภูเก็ตและคงจะเป็นวัดหลวงแต่ครั้งตั้ง เมืองภูเก็ตหลังจากเมืองถลางถูกพม่าทำลายลง คงจะราวรัชกาลที่ 3 เป็นต้นมาเพราะก่อนจากนี้เมือง ภูเก็ตอยู่แถววัดเก็ตโฮ่ วัดมงคลนิมิตร ใครเป็นผู้สร้างไม่ปรากฎแน่ชัดไม่มีหลักฐานแต่เจ้าเมืองภูเก็ตได้ปฏิสังขรณ์ทะนุบำรุงนี้ตลอดมา แต่เดิมธรณีสงฆ์ของวัดมงคลนิมิตรกว้างขวางมาก คือ ทางตะวันตกก่อนที่ถนนเยาวราชยังไม่ผ่านที่ของวัดไปถึงโรงเรียนปลูกปัญญา วัดคุณชี ทางตะวันออกจดถนนเทพกษัตรีย์ บนเขารังที่ดงตาลโตนดก็เป็นที่ของวัด ปัจจุบันธรณีสงฆ์จึงมีน้อยลง

ประวัติวัดมงคลนิมิตร
เล่ากันว่าพระยารัษฎาฯ จะตัดถนนผ่านวัดโดยตัดจากซอยรมณีย์ออกถนนทุ่งคาแต่ท่านพระครูวิสุทธิวงศาจารย์ (เพรา) ท่านไม่ยอมเพราะจะต้องตัดตรงผ่านโบสถ์ด้วยถ้าตัดถนนผ่านวัดคราวนั้นธรณีสงฆ์อาจแคบกว่าที่เป็นอยู่ก็เป็นได้ แต่ครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ได้เสด็จไปวัดมงคลนิมิตร ท่านพระครูวัดฉลองเป็นเจ้าคณะจังหวัดและเป็นเจ้าอาวาสวัดมางคลนิมิตรด้วย ทรงเห็นโบสถ์ชำรุดทรุดโทรมไปมากแล้วจึงโปรดเกล้าให้พระยาศรีสรราช จัดการซ่อมแซมโบสถ์

ในคราวกระทำพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ของมณฑลภูเก็ต พระราชพิธีได้จัดที่วัดนี้ จากรายงานของหลวงวรากรราชกิจ ปลัดกรมสรรพากรนอกกระทรวงมหาดไทยซึ่งตามประกาศตราตั้งให้หลวงวรากร นำน้ำพระพิพัฒน์จากกรุงเทพฯ มายังมณฑลภูเก็ต โดยลงเรือกลไฟ ชื่อตราด จากกรุงเทพฯ ถึงสงขลาแล้วย้อนมาพัทลุง ถึงเมืองตรังมีหม่อมเจ้าประดิพัท เกษมศรี ปลัดมณฑลภูเก็ตกับพระสกลสถานพิทักษ์ผู้ว่าราชการเมืองตรังได้กระทำการถือน้ำที่วัดกันตังครั้นถึงวันที่ 9 พฤศจิการยน พ.ศ. 2453 หม่อมเจ้าประดิพัทธ เกษมศรี ปลัดมณฑลภูเก็ตกับพระสกลสถานพิทักษ์ ผู้ว่าราชการเมืองตรังได้กระทำการถือน้ำที่วัดกันตังครั้นถึงวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2453 หม่อมเจ้าประดิพัทธ์ ได้จัดตั้งพิธีถือน้ำ ณ วัดมงคลนิมิตร ข้าราชการผู้ใหญ่น้อยฝ่ายทหารและพลเรือนมาประชุมพร้อมกันโดยกระทำสัตย์สาบานต่อหน้าพระพุทธปฏิมากร และพระบรมรูปพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แล้วได้ดื่มน้ำโดยทั่วกัน ในครั้งนี้พ่อค้าจีนได้ตัดเปียด้วย

วัดมงคลนิมิตรมีพระพุทธรูปทององค์หนึ่ง กล่าวว่าเป็นพระพุทธรูปสมัยเดียวกันกับ พระพุทธรูปทองวัดไตรมิตร กรุงเทพมหานครฯ เดิมอยู่ในเจดีย์หน้าโบสถ์ รวมกับพระพุทธรูปแบบพม่าครั้งแรก ลงรักสีดำ ได้ขัดกันมาหลายครั้ง ต่อมาเห็นรอยด้านหน้าร้าวจึงได้ขัดทั้งองค์โดยท่านเจ้าคุณรูปปัจจุบันได้เรียกช่างมาดู ปรากฎว่าเป็นทองดังกล่าวมาแล้ว

สำหรับเจ้าคณะจังหวัดหลังจากท่านพระครูวิสุทธิวงศาจารย์ญาณมุรี (หลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง) แล้วรูปถัดมาคือ พระวิสุทธิวงศาจารย์ (ไข่) พระราชวิสุทธิวงศาจารย์ (เพรา) และท่านเจ้าคุณ รูปปัจจุบัน คือ พระราชวิสุทธิมุนี (ริ่น) เป็นเจ้าอาวาสและเจ้าคณะจังหวัดภูเก็ต 

 

 

สิ่งอำนวยความสะดวก :

 

 

ข้อมูลการติดต่อ :

    ตั้งอยู่เลขที่ 3 ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต 



    ---------------------
    ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจากเว็บไซต์ http://live.phuketindex.com/th/wat-mongkol-nimit-phuket-804.html  และ  http://www.phuketcity.go.th/tourism_location/detail/5

 

 

แผนที่ :