search
ข้อมูล ตำบลฉลอง  อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
ข้อมูลทั่วไป
เส้นทางท่องเที่ยวโดยนักวิจัย
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทธรรมชาติ
ประเภทประวัติศาสตร์ และศาสนา
ประเภทศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี
สันทนาการและการบันเทิง
เส้นทางท่องเที่ยวโดยทัวร์อื่นๆ
โรงแรม / ที่พัก
โรงแรม รีสอร์ท และสปา
ร้านอาหาร
ร้านอาหาร
สิ่งอำนวยความสะดวก
ท่าเทียบเรือ
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

วัดฉลอง หรือ วัดไชยธาราม
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

วัดฉลอง หรือชื่อที่เรียกเป็นทางการ ก็คือ วัดไชยธาราม เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองที่มีชื่อเสียงของภูเก็ต ถ้าใครมา ภูเก็ตจะต้องมาแวะนมัสการ หลวงพ่อแช่ม แห่งวัดฉลอง เพื่อเป็นสิริมงคลแต่ตัวเอง เรื่องราวความศักดิ์สิทธิ์ กิตติศัพท์ในการรักษาโรค บุญญาบารมีและเมตตาธรรมที่สูงส่งของหลวงพ่อทำให้มีผู้เลื่อมใสศรัทธาเป็นอันมาก เล่ากันว่าในขณะที่ท่านมีชีวิตอยู่นั้นถึงกับมีผู้ที่รอปิดทองตามแขนและขาของท่านจนแลดูเหลืองอร่ามไปทั่ว ราวกับปิดทองพระพุทธรูปและแม้ว่าหลวงพ่อแช่มจะมรณภาพเป็นเวลานับหนึ่งร้อยปีมาแล้วก็ตาม ชื่อเสียงเกียรติคุณ และบารมีของท่านก็อยู่ในความทรงจำของผู้คนสืบมา

วัดฉลอง  ถือเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองของภูเก็ต ซึ่งเป็นที่รู้จักกันมาอย่างช้านาน หากใครมีโอกาสมาเที่ยวภูเก็ต ก็ควรจะมานมัสการหลวงพ่อแช่มที่วัดฉลอง เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตัวเอง นอกจากนี้ยังมีหลวงพ่อช่วง และหลวงพ่อเกลื้อม ที่ชาวภูเก็ตต่างให้ความเคารพและศรัทธาในเรื่องการแพทย์ การปรุงยาสมุนไพรรักษาโรค จึงทำให้มีผู้คนมากราบไหว้บนบานกันอยู่ตลอดเวลา

อีกทั้งที่วัดฉลองแห่งนี้ยังเป็นที่ตั้งของ พระมหาธาตุเจดีย์พระจอมไทยบารมี ประกาศเป็นที่ประดิษฐสถานของ พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าที่นำมาจากศรีลังกา วัดฉลองแห่งนี้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวใน ภูเก็ตอีกแห่งที่ ใครๆ ที่มาเที่ยวภูเก็ตจะต้องมาวัดแห่งนี้

วัดไชยธาราราม ตั้งอยู่ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ห่างจากอำเภอเมืองภูเก็ต ระยะทาง 8 กิโลเมตร ทางหลวงหมายเลข 4021 ผ่านสนามกีฬาสุระกุล เลี้ยวซ้ายไปห้าแยกฉลอง

วัดฉลอง หรือ วัดไชยธาราราม เป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางศาสนาในจังหวัดภูเก็ต เป็นวัดที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน และมีความสวยงามที่สุดในภูเก็ต วัดแห่งนี้ตั้งอยู่อยู่ห่างจากตัวเมืองภูเก็ต 8 กิโลเมตร และห่างจากอ่าวฉลอง 3 กิโลเมตรเศษ วัดแห่งนี้มีชื่อเสียงจากความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อแช่ม อดีตเจ้าอาวาสวัดฉลอง ไม่เฉพาะชาวภูเก็ตเท่านั้นที่เคารพ และ นับถือในความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อแช่ม ชื่อเสียงของหลวงพ่อแช่มไกลออกไปถึงประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย ปีนัง

ประวัติหลวงพ่อแช่มและความศักดิ์สิทธิ์

หลวงพ่อแช่มเป็นคนพังงา เกิดใน พ.ศ. 2370 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 3 ท่านได้บวชเป็นสามเณร และ พระภิกษุ ได้เรียนรู้ศึกษาวิปัสนาธุระจากพ่อท่านเฒ่า (เจ้าอาวาสวัดฉลองในตอนนั้น) ความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อแช่มเกิดขึ้นในตอนที่ภูเก็ตเต็มไปด้วยคนจีนที่มาทำเหมืองแร่ และชาวจีนได้รวมตัวกันเป็นอั้งยี่ ต้องการยึดและปกครองภูเก็ต ได้มีการทำร้าย ไล่ฆ่าชาวบ้าน ล้มตายเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านได้หนีเข้าป่า และส่วนหนึ่งหนีเข้ามาอาศัยที่วัดฉลอง

ชาวบ้านได้ขอให้หลวงพ่อแช่มทำเครื่องรางเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ ต่อหลวงพ่อแช่มได้ทำผ้าประเจียดแจกโผกศีรษะคนละผืน ชาวบ้านได้สู้รบกับอั้งยี่ ครั้งนี้อั้งยี่ไม่สามารถทำอะไรชาวบ้านได้เลย ซึ่งเป็นชัยชนะครั้งแรกของชาวบ้าน ชาวบ้านจึงนับถือในความศักดิ์สิทธ์และบารมีของหลวงพ่อแช่ม ต่อมาชาวบ้านได้รวบรวมตัวกันสู้กับอั้งยี่จนได้รับชัยชนะ

ความศักดิ์สิทธ์ของหลวงพ่อแช่มเกิดขึ้นหลายครั้ง ชื่อเสียงของหลวงพ่อแช่มเลื่องลือไปไกล มีผู้คนมาบนบานเป็นจำนวนมาก บางคนก็แก้บนด้วยวิธีแปลกๆ เช่นติดทองบนร่างกายหลวงพ่อแช่ม

ประวัติวัดฉลอง

เป็นวัดเก่าแก่ ไม่มีบันทึกที่แน่ชัดว่าสร้างขึ้นเมื่อใด แต่มีบันทึกขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 เดิมมีชื่อว่า “วัดฉลอง” พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้ทรงเปลี่ยนชื่อ เสียใหม่เป็น “วัดไชยธาราราม” แต่ชาวบ้านยังคงติดปากเรียกว่าวัดฉลองอยู่ เพราะเป็นชื่อที่เรียกง่าย และ สั้นกว่า

สมัยรัชกาลที่ 5 พระครูวิสุทธิวงศาจาริย์ญาณมุนี (หลวงพ่อแช่ม) เป็นเจ้าอาวาส มีชื่อเสียงการปรุงสมุนไพร และรักษาโรค เข้าเฝือกผู้ป่วยกระดูกหัก ปัจจุบันพระครูวิสุทธิวงศาจาริย์ญาณมุนี ได้มรณภาพแล้ว

เจ้าอาวาสวัดสัมโพธิหาร (วัดสัมโพธิหาร เดิมชื่อ วัดป่าอรัญนิรมล ประเทศศรีลังกา) ได้กล่าวว่า พระบรมสารีริกธาตุที่ได้มอบให้วัดไชยธาราราม เคยอยู่ในเจดีย์ของเมืองอนุราชปุระ เมืองหลวงเดิมของศรีลังกา มีอายุกว่า 2,200 ปี มาแล้ว

วโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมายุครบ 72 พรรษา พระเถระชั้นผู้ใหญ่ของศรีลังกาคือ พระปิยะทัสสะ นายะกะเถโร และพระกุศลาธรรมา แห่งวัดสัมโพธิวิหาร ได้มีหนังสือกราบทูลสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก เสด็จเยือนศรีลังกา เพื่อรับการถวายพระบรมสารีริกธาตุ

วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2542 สมเด็จพระสังฆราชมีพระบัญชาให้ พลเอก มงคล อัมพรพิสิฏฐ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดไปรับพระบรมสารีริกธาตุ ณ วัดสัมโพธิวิหาร ประเทศศรีลังกา และอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุกลับมาถึงประเทศไทย พ.ศ. 2543 สมเด็จพระสังฆราชได้ประทาน พระบรมสารีริกธาตุอัญเชิญมาจากศรีลังกา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ต เพื่ออัญเชิญมาประดิษฐาน ณ วัดไชยธาราราม (วัดฉลอง) อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต เพื่อเป็นสิริมงคลแก่พุทธบริษัทในจังหวัดภูเก็ตและบริเวณฝั่งอันดามัน

สำหรับเรื่องเล่าในอดีตถึงคุณงามความดีที่สำคัญของหลวงพ่อแช่ม ก็คือ การเป็นผู้นำ เป็นที่พึ่งและศูนย์รวมทางจิตใจให้กับชาวบ้าน ในการต่อสู้กับพวกโจรอั้งยี่ กบฎชาวจีนที่ซ่องสุมกำลังเพื่อที่จะเข้ายึดเมือง ไล่ฆ่าฟันผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก จนชาวบ้านต้องทิ้งบ้านเรือนหลบหนีเข้าพึ่งวัด และท่านก็ได้มอบผ้าประเจียดสีขาวให้ชาวบ้านใช้โพกหัว เพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการต่อสู้ จนสามารถเอาชนะปราบพวกอั้งยี่ได้ จึงได้รับโปรดเกล้าพระราชทานสมณะศักดิ์จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เป็นพระครูวิสุทธิวงศาจารย์ญาณมุนี และอีกเรื่องที่เป็นความเชื่อที่บอกกล่าวกันมา ก็คือ เรื่องราวความศักดิ์สิทธิ์ของไม้เท้า ที่สามารถช่วยรักษาโรคฝี ปาน ไส้เลื่อน ฯลฯ

ปัจจุบัน วัดฉลองมีกุฎิจำลองทรงเรือนไทยสวยงาม ซึ่งได้จัดทำหุ่นขี้ผึ้งจำลอง หลวงพ่อแช่ม หลวงพ่อช่วง หลวงพ่อเกลี้อม และเครื่องใช้ต่างๆ ของทั้งสามองค์ อีกทั้งวัดฉลองยังเป็นที่ตั้งของ พระมหาธาตุเจดีย์พระจอมไทยบารมี โดยภายในจะเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่างๆ และภาพวาดฝาผนังที่เป็นพุทธประวัติของพระพุทธเจ้า และประกาศเป็นที่ประดิษฐสถานของพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าที่นำมาจากศรีลังกา

 

 

วันเปิดทำการ :  ทุกวัน
 

 

ข้อมูลการติดต่อ :

    อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
    โทรศัพท์: 076 280 343

 

 

เดินทางอย่างไร :

 

- โดยรถยนต์ส่วนตัว จากตัวเมืองภูเก็ตใช้ถนนเจ้าฟ้าตะวันตก ลงมาทางอ่าวฉลอง เลี้ยวซ้ายเข้าซอยหลวงพ่อแช่ม จุดสังเกตซอยนี้เป็นสี่แยกไฟแดงขนาดเล็ก ตรงข้ามกับโรงเรียนบ้านฉลอง ขับตามทางไปเรื่อยๆ จะเจอกับทางเข้าวัด ถ้าเลี้ยวเข้าซอยหลวงพ่อแช่มไม่ทันก็สามารถเข้าวัดได้ที่ซอยถัดไป


- โดยรถประจำทาง ขึ้นสองแถวสาย ภูเก็ต – อ่าวฉลอง ที่วงเวียนน้ำพุ ตัวเมืองภูเก็ต



---------------------
ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจากเว็บไซต์ http://www.emagtravel.com/archive/wat-chalong.html , http://th.wikipedia.org/wiki/วัดไชยธาราราม  , http://www.phuket-travel.net  และ http://www.chillpainai.com

 

 

แผนที่ :