search
ข้อมูล ตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
ข้อมูลทั่วไป
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทธรรมชาติ
ประเภทประวัติศาสตร์ และศาสนา
ประเภทศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี
เส้นทางท่องเที่ยวโดยทัวร์อื่นๆ
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
รายชื่อมัสยิด
โรงแรม / ที่พัก
โรงแรม รีสอร์ท และสปา
ร้านอาหาร
ร้านอาหาร
สิ่งอำนวยความสะดวก
โรงพยาบาล
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

วัดเทพกระษัตรี (บ้านดอน)
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

สิ่งก่อสร้างภายในวัดประกอบด้วย - โบสถ์เก่า สร้างเมื่อ พ.ศ.2414 หลังคากระเบื้อง ปลายสุดยกเป็นช่อฟ้า มีใบระกาประดับอยู่มุมทั้งสี่ด้าน ด้านหน้าบันมีภาพจิตกรรมแต่สีจางไปมากแล้วต่อมามีการบูรณะทาสีโบสถ์และทาสีหลังคาบางส่วน ปูพื้นด้วยหิน เมื่อได้ต่อเติมด้านหลังของโบสถ์เพื่ออัญเชิญพระพุทธรูปไว้อีกด้านหนึ่งของโบสถ์ ภายในโบสถ์มีพระพุทธรูปโบราณกว่า 10 องค์มีพระพุทธรูปไสยาสน์ขนาดใหญ่ - หอระฆัง อายุกว่า 10 ปี หลังคาสร้างด้วยซิเมนต์ - กุฏิทรงไทย มีอายุประมาณ 100 ปี หลังคามุงด้วยสังกะสี ฝากั้นด้วยไม้กระดานใต้ถุนสูง 150 ซม. มีสภาพชำรุดไปบางส่วนทางวัดได้ซ่อมแซมเพื่อให้คงสภาพเดิม - ศาลาการเปรียญ อายุประมาณ 20 ปีหลังคากระเบื้อง ยกเป็นช่อฟ้าใบระกา ประวัติ พ.ศ. 2328 สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี ประเทศไทยยังติดพันทำศึกกับพม่า รวมทั้งหัวเมืองต่าง ๆ ทางใต้ด้วยซึ่งประเทศไทยได้เกิดมีวีรสตรีสองท่าน คือ "ท้าวเทพกระษัตรี และท้าวศรีสุนทร" ซึ่งประวัติของท่านได้เกี่ยวข้องกับการสร้างวัดเทพกระษัตรี เรื่องเล่า ณ กาลครั้งหนึ่ง ท่านผู้หญิงจัน และคุณมุก สองพี่น้องได้พากันมาอยู่ ณ บ้านดอน อันเป็นบ้านลุง (จอมเฒ่าบ้านดอน ) ของท่าน (เหตุที่เรียกว่าบ้านดอน เพราะสถานที่นี้มีลักษณะคล้ายเกาะ มีน้ำล้อมรอบและเป็นที่ราบสูง น้ำท่วมไม่ถึง) ในขณะนั้นหลังจากพระยาถลางได้ถึงแก่กรรม ทางเมืองหลวงได้แต่งตั้งข้าหลวงให้มาเกาะตัว (จับตัว) ขณะนั้นพม่าได้ยกมาตั้งค่าย ณ เมืองตะกั่วทุ่ง ข้าหลวงได้ตัวท่านผู้หญิงจันไปด้วย การรบได้เกิดขึ้นแม่ทัพไทย (ข้าหลวง) ได้เสียชีวิตในที่รบ ท่านผู้หญิงจันได้ตีฝ่าวงล้อมกลับเมืองถลางบ้านเคียน ต่อสู้พม่าจนชนะ ความทราบถึงเมืองหลวง ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งท่านผู้หญิงจัน เป็นท้าวเทพกระษัตรี และคุณมุกเป็นท้าวศรีสุนทร บ้านดอนได้ถูกพม่ามาราวีเช่นเดียวกันในขณะนั้นที่บ้านดอนมีสำนักสงฆ์อยู่ที่หนึ่งมี "พระฝา" หรือชาวบ้านเรียกว่า "พ่อท่านฝา" (ต่อมาเรียกเพี้ยนเป็น "พ่อท่านเจ้าฟ้า") ท่านเป็นคนต่างจังหวัด ท่านเป็นที่เคารพนับถือ ของชาวบ้านมาก ท่านเป็นผู้ที่ชำนาญด้านเวทย์มนต์คาถา และความคงกระพัน เมื่อพม่าบุกเข้ามาเพื่อที่จะเอาบ้านท้าวเทพ ฯ เป็นที่ตั้งค่าย เส้นทางที่จะผ่านไปบ้านท้าวเทพ ฯ ต้องผ่านสำนักสงฆ์ของพ่อท่านฝาก่อน หัวหน้าฝ่ายพม่าเกิดอยากลองดีกับ พ่อท่านฝา เลยท้าพนันกันว่าถ้าพม่าแพ้จะไม่ทำอันตรายต่อสำนักสงฆ์ตลอดจนชาวบ้าน แต่ถ้าเป็นฝ่ายชนะก็ต้องให้พม่าเข้า ไปตั้งค่ายที่บ้านท้าวเทพ ฯ ได้ เมื่อตกลงกันได้ก็นัดวันต่อสู้ ฝ่ายพม่าจับเคล็ดที่เอาชนะหลวงพ่อได้ จึงนำข้าวสารไปหนึ่งกำมือ แล้วถามพ่อท่านว่า "นี้คืออะไร" พ่อท่านตอบโดยไม่เฉลียวใจว่า "ข้าว (เข้า)" หัวหน้าพม่าก็ฟันร่างของหลวงพ่อท่านสะพายแล่ง แต่พ่อท่านก็สามารถใช้มือลูกร่างกายของท่านให้ต่อกันได้โดยไม่ตกถึงพื้น พม่าจึงยอมแพ้และถอยทัพกลับไป เมื่อท้าวเทพกระษัตรีได้กวาดล้างศัตรูหมดสิ้นแล้ว ได้เกิดศรัทธามีความคิดที่จะสร้างวัดเพื่อเป็นการฉลองชัยชนะ อันเป็นประเพณีในสมัยโบราณ ท่านจึงปรึกษากับกรรมการเมืองถลาง และให้ชื่อวัดนี้ว่า "วัดดอน" ให้พ่อท่านฝาดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสเป็นรูปแรก หลังจากท่านมรณะภาพไปแล้ว บรรดาสานุศิษย์ทั้งหลายได้ปั้นรูปของท่านเป็นอนุสรณ์บริเวณทางด้าน ทิศตะวันออกและได้เปลี่ยนชื่อวัดเป็น "วัดเทพกระษัตรี" ในเวลาต่อมา

 

 

ข้อมูลการติดต่อ :

    สถานที่ตั้ง
    วัดเทพกระษัตรี (บ้านดอน)
    ตำบล เทพกระษัตรี อำเภอ ถลาง จังหวัด ภูเก็ต
    รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
    ชื่อที่ทำงาน วัดเทพกระษัตรี (บ้านดอน)
    ตำบล เทพกระษัตรี อำเภอ ถลาง จังหวัด ภูเก็ต
    --------
    ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจากเว็บไซต์ http://m-culture.in.th

 

 

แผนที่ :