search
ข้อมูล ตำบลทุ่ง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ข้อมูลทั่วไป
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทประวัติศาสตร์ และศาสนา
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
รายชื่อมัสยิด
การคมนาคม
 

 

 

 

 

วัดจำปา
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

วัดจำปา เป็นวัดเก่าแก่ของชุมชนไชยา มีประวัติยาวนานมีโบราณวัตถุ และ โบราณสถานที่มีคุณค่าหลายอย่าง เช่นวิหารไม้เก่าแก่ที่โครงทำด้วยไม้ทั้งหมด ปัจจุบันได้ทำการบูรณะใหม่ทั้งหมดซึ่งใช้ไม้เหมือนเดิมแต่หน้าจั่วทรงไทยมี ปีกนกลดหลั่นสามชั้นยังคงใช้ของเก่าดั้งเดิมติดไว้ นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปเก่าแก่อายุกว่าสามร้อยปีตั้งเรียงรายอยู่ ส่วนลวดลายที่ใช้จำหลักไม้นั้นน่าจะสร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย ซึ่งสามารถดูบานประตูนี้ได้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติไชยา และยังพบหลักศิลาจารึกที่ทำจากหินทรายแดง จารึกด้วยภาษาขอม ภาษาไทย สมัยธนบุรีอีกด้วย หลักฐานอีกอย่างที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของแถบนี้คือจะมีคำพูดติดปาก ว่า "เมียของเจ้าพอจะเข้าวัดจำปาได้ไหม" ซึ่งหมายถึงนำออกงานสังคมที่มีผู้คนเยอะๆ อย่างวัดจำปาได้หรือไม่ส่วนชื่อวัด น่าจะมาจากจามปา ภาษาลาวที่เรียกดอกลั่นทมเพราะสมัยก่อนแถวนี้มีดอกลั่นทมจำนวนมาก วัดจำปาตั้งอยู่ ณ หมู่ที่ 5 บ้านหัวหนอน ตำบลทุ่ง อำเภอไชยา เล่าสืบต่อกันมาว่า วัดจำปาสร้างเมื่อราว 300 ปีมาแล้ว ตามข้อความในจารึกอักษรขอม ภาษาไทย ซึ่งเดิมอยู่ที่วัดจำปา ต่อมานายเอื้อน สุรทิน ปลัดอำเภอได้นำไปไว้ ที่วัดสมุหนิมิต ตำบลพุมเรียง กล่าวว่าอาจารย์วัดจำปา พระสงฆ์สามเณร ได้ไปเอาศิลาจากเขาโพมาทำพระพุทธรูปปางสมาธิ 21 องค์ พระอรหันต์ 9 องค์ เมื่อ พ.ศ.2319 แล้วลงรักปิดทองนำไปไว้ที่ถ้ำศิลาเตียบ วัดจำปาเป็นวัดที่สำคัญของชุมชนที่เจริญรุ่งเรืองกว่าวัดอื่นๆ ในละแวกนี้ เพราะมีคำพูดติดปากจากชาวบ้านนำไปใช้เชิงเปรียบเทียบ เช่น เมื่อชายหนุ่มาจะมีภรรยา ผู้ใหญ่ก็จะถามว่า "เมียของเจ้าพอจะเข้าวัดจำปาได้ไหม" คล้ายกับจะถามว่าจะนำออกงานสังคมที่มีคนมาชุมนุมมากมายอย่างวัดจำปาได้หรือ ไม่ สิ่งสำคัญในวัดจำปา ได้แก่ วิหารเก่า และลวดลายเครื่องไม้จำหลักที่สวยงามคงสร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย (ประชุม ชุ่มเพ็งพันธุ์ 2519 : 70 - 71) หลักฐานทางโบราณคดี 1. วิหาร ซึ่งเป็นอาคารที่มีโครงไม้ทั้งหมด ยกเว้นผนังและฐาน ก่ออิฐถือปูนฐานวิหารขนาดกว้าง 10 เมตร ยาว 15 เมตร มีบันไดทางขึ้นด้านทิศตะวันออก ตัววิหารสร้างด้วยไม้เนื้อแข็ง เดิมไม่มีข้างฝา ปัจจุบันปรับปรุงเป็นฝาไม้มีหน้าต่างโดยรอบหลังคม วิหารเป็นหลังคาจั่วทรงไทยมีปีกนกลดหลั่นกัน 3 ชั้น มุงด้วยกระเบื้องกาบกล้วย มีกระเบื้องเชิงชายตกแต่งด้วยลายเทพพนมและลายกนกรูปดอกไม้ หน้าบันทำยื่นออกมาเป็นมุขประเจิด ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง แกะสลักไม้เป็นลวดลายก้านขดหางโตและลายพุ่มข้าวโครงสร้างเป็นแบบสถาปัตยกรรม โบราณไม่ใช้ตะปูยึด ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปหินทรายสีแดงขนาดต่าง ๆ สิบกว่าองค์ 2. บานประตูไม้แกะสลัก บานประตูของวิหารวัดจำปา บานหนึ่งจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไชยาแกะสลักไม้รูปเทวดาสวมชฎา มีเรือนแก้วรอบพระเศียร พระหัตถ์ขวาถือ พระขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายจับก้านลายกนกประทับยืนอยู่บนแท่นมีรูปมารแบกอยู่ข้างล่างสุด การตกแต่งลวดลายมีร่องรอยการประดับกระจกสีที่เครื่องทรงของ เทวดาและตามลวดลายไม้แกะสลัก ส่วนบานประตูของเดิมอีกบานหนึ่งหายไป บานประตูปัจจุบันที่วิหารเป็นของทำขึ้นใหม่ 3. ศิลาจารึก ทำจากหินทรายสีแดง ขนาดกว้าง 36 เซนติเมตร สูง 79 เซนติเมตร หนา 11 เซนติเมตร จารึกด้วยภาษาขอม ภาษาไทย สมัยธนบุรี

 

 

ข้อมูลการติดต่อ :

    บ้านหัวหมอน
    หมู่ที่/หมู่บ้าน 5
    ตำบล ทุ่ง อำเภอ ไชยา จังหวัด สุราษฎร์ธานี

    รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
    บุคคลอ้างอิง กระทรวงวัฒนธรรม
    ชื่อที่ทำงาน กระทรวงวัฒนธรรม
    ถนน ถนนบรมราชชนนี
    ตำบล บางบำหรุ อำเภอ เขตบางพลัด จังหวัด กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์ 10700
    โทรศัพท์ 1765
    เว็บไซต์ www.m-culture.go.th

    --------------------
    ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจากเว็บไซต์ http://m-culture.in.th/

 

 

แผนที่ :