ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลแหลมโพธิ์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ข้อมูลทั่วไป
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทธรรมชาติ
ประเภทประวัติศาสตร์ และศาสนา
เส้นทางท่องเที่ยวโดยทัวร์อื่นๆ
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
รายชื่อมัสยิด
โรงแรม / ที่พัก
โรงแรม รีสอร์ท และสปา
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
อาหารและเครื่องดื่ม
กลุ่มอาชีพ / สินค้า
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

สุสานบ้านดาโต๊ะ โตะปาแย
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

ประวัติความเป็นมา ในอดีต "อ่าวปัตตานี" เป็นศูนย์กลางการค้าขายที่สำคัญ มีพ่อค้านักเดินเรือจากโปรตุเกส ฮอลันดา จีน และอาหรับ ต่างเดินทางมาซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าเป็นจำนวนมาก กลายเป็นชุม ชนท่าเรือใหญ่ที่สุดในแหลมมลายู 

อ่าวปัตตานีจึงเป็นมรดกสำคัญ ที่มีทั้งแหล่งโบราณสถาน โบราณคดี เศรษฐกิจ สังคม และอู่อารยธรรม ที่ตกทอดมาถึงปัจจุบัน แต่เป็นที่น่าเสียดาย ที่รัฐไทยกลับมิได้ให้ความสำคัญมักละเลยที่จะพูดถึง หรือเล็งเห็นคุณค่าทำราวกับจะให้รัฐปัตตานี หรือ "ปาตานี" ในอดีต เลือนหายไปตามกาลเวลา มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย (สกว.) เห็นถึงความสำคัญบริเวณรอบอ่าวปัตตานี ที่มีความผูกพันใกล้ชิด กับเรื่องราวความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ จึงร่วมกันจัดกิจกรรมโครงการ "เรียนรู้รอบอ่าว ความทรงจำในอ่าวปัตตานี" เพื่อศึกษาแหล่งโบราณสถานที่สำคัญตรงนี้  

เริ่มต้นที่หมู่บ้านดาโต๊ะ ต.แหลมโพธิ์ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี สถานที่ตั้งของสุสาน "ดาโต๊ะปาแย" สุสานเจ้าเมืองปัตตานี และมัสยิดดาโต๊ะ ซึ่งบริเวณนี้เคยเป็นท่าพักเรือสินค้า แต่ภายหลังปัตตานีเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม พื้นที่บ้านดาโต๊ะกว่า 25 ไร่ ที่เป็นเนินทรายสูงต่ำสลับกัน จึงถูกเปลี่ยนเป็น "กุโบร์" หรือสุสานฝังศพของชาวมุสลิม นับเป็นกุโบร์ที่ใหญ่สุดในอุษาคเนย์ นายมะรอนิง สาและ นักวิจัยท้องถิ่นบ้านดาโต๊ะ อธิบายว่า ชาวมุสลิมปัตตานีเคารพนับถือกุโบร์โต๊ะปาแญ กันมาก มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า ในอดีตมีพ่อค้าวาณิชชื่อ "โต๊ะปาแย" เดินทางมาค้าขายทองเหลือง แต่ขณะนั้นมีการหล่อปืนใหญ่ เพื่อป้องกันเมืองปัตตานี ทางเจ้าเมืองจึงสั่งให้รวบรวมทองเหลือง และห้ามผู้ใดขายทองเหลือง แต่โต๊ะปาแยละเมิดคำสั่ง จึงถูกประหารชีวิตด้วยการตัดคอ นำศพไปทิ้งลงคลองยะหริ่ง แต่ศพโต๊ะปาแยยังวนเวียนอยู่ในคลอง เจ้าเมืองจึงสั่งให้นำศพมาฝังไว้ที่บ้านดาโต๊ะ แต่เมื่อนำศพลงหลุม ปรากฏว่าศพขยายยาวขึ้น ชาวบ้านต้องขอร้อง ศพจึงไม่ขยายอีก ดังจะเห็นได้ว่าหลุมศพโต๊ะปาแยมีขนาดยาวกว่าหลุมศพทั่วไป ติดกับกุโบร์โต๊ะปาแย คือ "สุสานยะหริ่ง" หรือ "สุสานตนกูปะสา" หรือ "พระยาวิชิตภักดีศรีรัตนาเขตประ เทศราช" เจ้าเมืองปัตตานีคนที่ 9 ปกครองในปี พ.ศ. 2388-2399 ภายในเป็นหลุมศพของเจ้าเมือง และสมาชิกในครอบครัว มีแท่งหินแกะสลักลวดลายสวยงาม 9 แท่น วางอยู่บนหลุมศพอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย โดยหลุมศพเจ้าเมืองอยู่ตรงกลาง จากนั้นมะรอนิง นำคณะข้าไปภายในหมู่บ้าน พาชม "มัสยิดดาโต๊ะ" แต่เดิมชื่อ "มัสยิดดาโต๊ะปันญัง" ที่น่าสนใจคือมีประวัติการก่อสร้างร่วมสมัยกับ "มัสยิดกรือเซะ" มีรูปแบบคล้ายกัน สร้างโดย "ลิ้มโต๊ะเคี่ยม" พี่ชาย "ลิ้มกอเหนี่ยว" สร้างในสมัยสุลต่านมุซัฟฟัรชาห์ เจ้าเมืองปัตตานี เพื่อให้พ่อค้าชาวมุสลิมใช้ปฏิบัติศาสนกิจ ต่อมาในสมัยพระยาพิพิธเสนามาตย์ เป็นเจ้าเมืองยะหริ่ง ได้บูรณะขยายต่อเติมด้านหน้าอาคารให้กว้างขึ้นเป็น 5 ประตู จากเดิมมีเพียง 3 ประตู ครั้นเมื่อปีพ.ศ.2478 กรมศิลปากรขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน และเปลี่ยนชื่อเป็น "มัสยิดดารุล อาอีม" ปัจจุบันตัวอาคารเป็น สี่เหลี่ยมชั้นเดียว มีโดมโค้งอยู่บนอาคารมัสยิด และมีหอคอยกระ จายเสียงอยู่ด้านข้าง คณะออกจากบ้านดาโต๊ะ มุ่งหน้าสู่บ้านปาเระ ต.บาราโหม อ.เมือง จ.ปัตตานี เป็นสถานที่ตั้งของ "สุสานพญาอินทิรา" เจ้าเมืองปัตตานีคนแรก สุสานนี้มีพื้นที่เป็นสี่ เหลี่ยมผืนผ้า สุสานเจ้าเมืองอยู่ด้านในสุด สร้างศาลาป้องกันฝนกัดเซาะ ภายในสุสานมีหินทรายสลักลวดลายเป็นภาษาอาหรับสวยงามวางอยู่ 4 แท่ง เป็นสุสานของพญาอินทิรา และชายาของพระองค์ ส่วนบริเวณโดยรอบเป็นสุสานบุคคลในครอบครัว ห่างออกไป 500 เมตร เป็นสวนมะพร้าว เป็นที่ตั้งของสุสาน ราชินีฮีเยา ราชินีบีรู และ ราชินีอูงู ทั้ง 3 พระองค์ปกครองเมืองปัตตานีต่อเนื่องกันในระหว่างปีพ.ศ.2127-2178 ปัจจุบันบริเวณสุสานราชินีทั้ง 3 พระองค์ ยังไม่ได้บูรณะหรือปรับปรุงภูมิทัศน์ให้สวยงาม ยังคงอยู่ในสภาพเดิม โดยตัวสุสานเป็นเพียงการก่ออิฐแดงขึ้นเหนือพื้นดินเพียง 1 ฟุต และกั้นเป็นห้อง 3 ห้อง ไม่มีศาลา หรือหลังคาคลุม แต่ละหลุมมีหินทรายคล้ายใบเสมาวางอยู่เหนือหลุมศพทั้ง 3 พระองค์เท่านั้น นายสะมาแอ สาและ วิทยากรท้องถิ่นบ้านปาเระ อธิบายว่า พญาอิน ทิรา หรือ "สุลต่านอิสมาอีล ชาห์" เป็นบุตรของรายาศรีวังสา แห่งเมืองโดตามหลิฆัย หรือ "เมืองยะรัง" ได้เดินทางมายังอ่าวปัตตานี เพื่อสร้างท่าเรือทำการค้าขายกับนานาประเทศ หลังจากนั้นจึงสร้างเมืองปัตตานีขึ้นที่กรือเซะ-บานา ต่อมาสถาปนาเป็น "นครปัตตานีดารุสลาม" หรือ "นครแห่งสันติ" พญาอินทิราปกครองปัตตานีในปีพ.ศ.2043-2073 ในรัฐสมัยของท่าน เมืองปัตตานีมีชื่อเสียงทางด้านการค้า และเผยแพร่ศาสนาอิสลาม ส่วนราชินี 3 พระ องค์นั้น สะมาแออธิบายว่า เป็นธิดาของสุลต่านบาฮาดูร์ ชาห์ เจ้าเมืองปัตตานี เนื่องจากไม่มีบุตร สืบทายาท ธิดาทั้ง 3 พระองค์จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองปัตตานี โดยราชินีฮีเยาครองเมืองในปีพ.ศ. 2127-2159 ราชินีบีรู ในปีพ.ศ.2159-2167 และราชินีอูงู ในปีพ.ศ. 2167-2178 "สมัยนั้นเป็นที่รู้จักกันในชื่อ สมัยราชินี อีกทั้งในสมัยของราชินีทั้ง 3 พระองค์ ถือเป็นยุคทองด้านการค้าที่เจริญรุ่งเรืองมาก สร้างกำแพงเมือง พัฒนากำลังทหารให้มีความแข็งแรง ที่สำคัญมีการหล่อปืนใหญ่ 3 กระบอก คือ พญาตานี ศรีนครา และมหาลาลอ เมื่อทั้ง 3 พระองค์เสียชีวิต จึงนำมาฝังรวมกันไว้ที่สุสานแห่งนี้ ชาวบ้านเรียกกันว่า สุสานราชินี" สะมาแอ กล่าวจากการเดินทางลงพื้นที่ศึกษาสถานที่สำคัญรอบอ่าวปัตตานี น.ส.วลัยลักษณ์ ทรงศิริ เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการ มูลนิธิเล็กประไพฯ สรุปว่า เราสามารถเห็นภาพของอดีต และความทรงจำที่ดีได้จากแหล่งโบราณสถาน มัสยิด สุสานเจ้าเมือง และกุโบร์ ที่บันทึกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของสังคมท้องถิ่น รอบพื้นที่อ่าวปัตตานีได้เป็นอย่างดี ดังนั้น หากรัฐให้การส่งเสริมและพัฒนาท้องถิ่นเหล่านี้ ให้เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ทางวิชาการ ทำให้ชาวบ้านได้รู้ถึงคุณค่าของประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอย่างชัดเจน สิ่งที่ตามมาคือ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสิ่งแวดล้อม จะก้าวไปข้างหน้าในทิศทางที่ดี ชาวบ้านจะสามารถพึ่งตนเองได้ ปัญหาใน ชุมชนรอบอ่าวปัตตานี จะถูกนำมาวิเคราะห์และแก้ไขได้อย่างชัดเจนขึ้น ในที่สุดความสงบจะกลับคืนสู่ท้องถิ่นอีกครั้ง 

 

 

ข้อมูลการติดต่อ :

    บ้านดาโต๊ะ หมู่ที่ 4 เป็นชื่อหมู่บ้านหนึ่งในจำนวน 4 หมู่บ้าน ของตำบลแหลมโพธิ์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ลักษณะหมู่บ้านเป็นปลายแหลมยื่นออกไปในอ่าวไทยและมี “สุสานดาโต๊ะ” เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป มีประวัติความเป็นมายาวนานนับร้อยปี มีสุสานโต๊ะปาแย (TORPAGAE) อันเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้านดาโต๊ะ

 

 

เดินทางอย่างไร :

 

สุสานโต๊ะปาแยหรือโต๊ะปันยัง ที่ตั้ง หมู่ที่ 4 ตำบลแหลมโพธิ์ อำเภอยะหริ่ง ใกล้เคียงกับสุสานของตนกูปะสา ไปทางทิศตะวันออก ประมาณ 80 เมตร เป็นสุสานเก่าแก่มีอายุประมาณ 400 กว่าปี



-------------------
ขอขอบคุณข้อมูล และรูปภาพจาก http://web.yru.ac.th

 

 

แผนที่ : 
 

 

 

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com