ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลโกตาบารู อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ข้อมูลทั่วไป
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทประวัติศาสตร์ และศาสนา
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
รายชื่อมัสยิด
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
อาหารและเครื่องดื่ม
เครื่องประดับ
กลุ่มอาชีพ / สินค้า
สิ่งอำนวยความสะดวก
สถานีตำรวจ
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

สุสานโต๊ะนิ
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

โต๊ะนิ เป็นคำที่ชาวบ้านใช้เรียกผู้ใหญ่ผู้เฒ่าผู้แก่ ซึ่งมีเชื้อสายเจ้านายราชตระกูลในยุครัฐปัตตานี เป็นการแสดงถึงการยกย่องนับถือด้วยความเคารพ โต๊ะนิที่ได้รับการยกย่องนับถือจากผู้คนตลอดตั้งแต่เมืองรามันห์ จนถึงตำบลโก๊ระ รัฐเปรัค สหพันธรัฐมาเลเซียในปัจจุบัน  ว่า ท่านเป็นบุคคลที่เป็นผู้ปกครองที่ดี มีวิชาอาคม มีอิทธิฤทธิ์สามารถแสดงปาฏิหารย์ ช่วยเหลือ ปัดเป่าความทุกข์ยาก ความเดือดร้อนของชาวบ้าน การเจ็บไข้ได้ป่วย จนเป็นที่เลื่องลือในสมัยนั้น จนกระทั้งท่านได้จากโลกไป ผู้คนในท้องถิ่น ทั้งชาวมาลายู ชาวไทยพุธ และชาวไทยจีน โดยเฉพาะชาวไทยพุธ และชาวไทยจีนได้สร้างศาลตรงกอไผ่ ที่เป็นจุดบ้านของท่านในอดีต เพื่อยึดถือและกราบไหว้บูชาในฐานะ “เจ้าพ่อโต๊ะนิ”เป็นสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ประจำท้องถิ่น สืบทอดกันมา ผู้คนที่ประสบปัญหา ทั้งทางธุรกิจ เจ็บไข้ได้ป่วย หรือถูกคุณไสย จะมาบนบานศาลกล่าว โดยจะนำโกปี้(กาแฟโบราณ ไม่ใส่นม ) กับ ข้าวเหนียวห่อใบตอง ไปแก้บน บางครั้งมีการปล่อยแพะหรือปล่อยไก่เป็นๆ เพื่อถวายท่าน และหลังจากเสร็จพิธี จะปล่อยให้เด็กๆวิ่งไล่จับกันสนุกสนาน ผู้เขียนนั้น เคยร่วมประสบการณ์ครั้งหนึ่ง ตอนเด็กๆเพราะเคยอยู่ติดโรงเรียนวีระราษฎร์ประสาน สถานที่ตั้งศาลโต๊ะนิในปัจจุบัน เรื่องแบบนี้เห็นจนชินตา

ตามตำนานหรือประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ที่เล่าสืบกันมากัน ว่ากันว่า เมืองรามันห์ หนึ่งในเจ็ดหัวเมือง รัฐปัตตานี หรืออำเภอรามัน จังหวัดยะลาในปัจจุบัน มีรายาหรือเจ้าเมืองปกครององค์หนึ่ง มีวังประทับอยู่ที่โกตาบารู คือ รายาจาวัน (รายาหมายถึงราชา, จาวันหมายถึงถ้วยหรือแก้ว) เป็นเจ้าเมืองรามันห์เป็นมุสลิมที่เคร่งครัดศาสนามาก อีกทั้งยังเก่งกล้า วิชาการต่อสู้ วิชาอาคม มีความรู้ในทางพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ต่างๆ(สมัยนั้นอิสลามยังได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหม์อยู่มาก) ทั้งยังมีความรู้เชี่ยวชาญในเรื่องสมุนไพรทุกชนิด

ายาจาวัน ชอบการผจญภัยเป็นชีวิตจิตใจ มักจะออกเยี่ยมเยียนราษฎรอยู่เสมอ ท่านกินนอน อยู่ง่ายแบบสามัญชน ยามใดที่มีโอกาส ก็มักจะชวนสมัครพรรคพวกตลอดจนข้าราชบริพารออกท่องเที่ยวป่า ล่าสัตว์อยู่เป็นประจำ เป็นที่ทราบว่า รายาจาวัน โปรดที่สุด คือการคล้องช้าง ซึ่งมีชุกชุมในเขตพื้นที่ป่าดงดิบบนเทือกเขาสันกะลาคีรี บริเวณอำเภอธารโตถึงอำเภอเบตง จังหวัดยะลา

นอกจากนั้น รายาจาวัน ยังมีจิตใจโอบอ้อมอารีจึงเป็นที่รักใคร่ของประชาชนทุกระดับ โดยเฉพาะ คนที่เจ็บไข้ได้ป่วย เมื่อมาให้รายาจาวันเป็นผู้รักษา มักจะหายเป็นปกติกลับไปทุกราย จนเป็นที่เลื่องลือทั่วสารทิศ ผู้คนขนานนามยกย่องท่านว่า “โต๊ะนิ” ซึ่งเป็นการแสดงถึงความเคารพยกย่องอย่างสูง

สำหรับวังหรือบ้านของรายาจาวันนั้น มีอยู่ 3 แห่ง คือ ที่โกตาบารู ที่เมืองรามันห์ และหมู่บ้านโกร๊ะ ปัจจุบันเป็นกิ่งอำเภอโกร๊ะ ฮูลูเปรัค ประเทศมาเลเซีย

ตามตำนานกล่าวว่า รายาจาวันได้ถึงแก่กรรมด้วยโรคชรา ศพได้ถูกฝังไว้ที่โกร๊ะ ซี่งเป็นบ้านอีกแห่งของท่าน (แต่มีสุสานอีกแห่งที่โกตาบารู อำเภอรามัน จังหวัดยะลา)

แม้ว่าโต๊ะนิรายาจาวันจะถึงแก่กรรมไปแล้ว แต่ด้วยบารมี ความศรัธา กิตติศัพท์ คุณงามความดี ความโอบอ้อมอารี และความศรัทธาในความสามารถด้านวิชาอาคมมิได้เสื่อมคลายไปจากพื้นที่ ชาวไทยพุทธและไทยจีนในอำเภอเบตงได้ปลูกสร้างศาลขึ้นตรงที่พำนักของท่านตรงก่อไผ่ ทางทิศใต้ของสนามบาสโรงเรียนวีระราษฎรประสาน และเรียกขานว่า “ศาลเจ้าพ่อโต๊ะนิ” และมีศาลาข้างข้างสำหรับชาวมุสลิม ทำนูรีหรือทำบุญ แสดงปัจจะสีรัจในอดีต บ้างก็เอาหนังตลุงมาแสดงแก้บน

 

 

ข้อมูลการติดต่อ :

    สุสานโต๊ะนิ ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลโกตาบารู ตำบลโกตาบารู อำเภอรามัน จังหวัดยะลา 
    --------------------
    ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจากเว็บไซต์ http://www.oknation.net/blog/localbetong/2010/09/08/entry-2

 

 

แผนที่ : 
 

 

 

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com