ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลจะบังติกอ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ข้อมูลทั่วไป
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
รายชื่อมัสยิด
ร้านอาหาร
ร้านอาหาร
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
อาหารและเครื่องดื่ม
ศิลปะหัตถกรรม
ธุรกิจขนาดกลาง/ ขนาดย่อม
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

วังเก่าจะบังติกอ
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

วังจะบังติกอ ตั้งอยู่ที่ตำบลจะบังติกอ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี สร้างโดยสถาปนิกชาวจีนในสมัยตนกูมูฮัมหมัดหรือตนกูบือซา พ.ศ. 2388-2399 เชื้อสายราชวงศ์กลันตัน ( กำปงลาว์หรือบ้านทะเล)ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองปัตตานี ตัววังล้อมด้วยกำแพงทึบก่ออิฐถือปูน รูปทรงของวังเป็นบ้านชั้นเดียวขนาดใหญ่ หลังคาทรงปั้นหยา หรือแบบลีมะ ตัวอาคารเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้ายกพื้นสูง 1 เมตร สร้างด้วยไม้ ภายในอาคารมีห้องโถงขนาดใหญ่ใช้ป็นที่ทำงานของเจ้าเมือง ส่วนด้านหลังของห้องโถงจะเป็นที่อยู่อาศัยของภรรยาและบริวาร วังจะบังติกอได้ใช้เป็นศูนย์กลางการปกครองในท้องถิ่นและเป็นที่อยู่อาศัยของเจ้าเมืองปัตตานี จนกระทั่งถึงสมัยตนกูอับดุลกอร์เดร์ เจ้าเมืองคนสุดท้าย ได้มีการยุบเมืองรวมเป็นมณฑลปัตตานี ทำให้วังซึ่งเป็นศูนย์กลางการปกครองก็เปลี่ยนสภาพไปกลายเป็นเพียงที่อยู่อาศัยของบุตรหลานสืบต่อมาถึงปัจจุบัน


ประวัติความเป็นมาของชุมชน  
วังเก่าจะบังติกอ  เป็นวังโบราณของเจ้าเมืองปัตตานี ตั้งอยู่ที่ริมแม่น้ำปัตตานีตรงสามแยกจะบังติกอบนเส้นทางถนนหน้าวัง ซึ่งเป็นถนนลาดยางเลียบแม่น้ำปัตตานีถนนนี้เชื่อมระหว่างตัวเมือง ซึ่งตั้งต้นจากที่ตั้งของที่ทำการไปรษณีย์ปัตตานี เลียบแม่น้ำปัตตานีไปต่อกับถนนยะรัง เป็นเส้นทางรถยนต์เชื่อมระหว่างปัตตานีกับจังหวัดยะลา

ประวัติศาสตร์
ประมาณปี พ.ศ.  2382 ได้เกิดความขัดแย้งในเมืองกลันตัน (มาเลเซียปัจจุบัน)ถึงขั้นสู่รบระหว่างพระยากลันตันตนกูสนิ(ปากแดง)กับตนกูบือซาหรือตนกูมูฮำมัด ซึ่งเป็นพี่น้องต่างมารดาด้วยเหตุตนกูบือซาน้อยใจพระยากลันตันตนกูสนิที่ตนไม่ได้ครอบครองเมืองอื่นๆ ตลอดจนเรื่องทรัพย์สมบัติบ่าวไพรของตนกูบือซาเหตุการณ์ลุกลามมากขึ้น เมื่อตนกูบือซาได้ชักชวนพระยาบาโงย ช่วยกันรวบรวมผู้คนตั้งค่ายสู้รบกับพระยากลันตัน ด้วยเหตุนี้กองทัพกรุงเทพฯซึ่งมีพระยาศรีพิพัฒน์ยกทัพตั้งหมั้นที่เมืองสงขลา และมอบหมายให้พระยาไชยายกกองทัพเรือไปเมืองกลันตันและนำพระยากลันตันตนกูสนิกับตนกูบือซามาพบพระยาพิพัฒน์ ณ เมืองสงขลา เพื่อไกล่เกลี่ยและสามารถประนีประนอมได้ จึงให้กลับไปเมืองกลันตัน ในปีต่อมาได้เกิดทะเลาะวิวาทอีกครั้ง เมื่อความทราบถึงกรุงเทพฯทำให้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริถ้าปล่อยให้เหตุการณ์เป็นเช่นนี้ความวุ่นวายต้องเกิดขึ้นไม่สิ้นสุดประกอบตำแหน่งเจ้าเมืองปัตตานีว่างลงจึงทรงแต่งตั้งตนกูบือซาเป็นเจ้าเมืองปัตตานีคนแรกแห่งราชวงศกลันตัน(กำปงลาว์)บ้านทะเลความบาดหมางระหว่างพระยากลันตันตนกูสนิกับตนกูบือซาจึงยุติไปตนกูบือซาเมื่อเดินทางมาถึงปัตตานีพร้อมกับพาครอบครัวประมาณ1,388ครอบครัว มีชายหญิงประมาณ 6,863คน พระยาตรังกานูจัดเรือช่วยรับส่งตนกูบือซาจำนวน 30ลำ เมื่อเดินทางมาถึงปัตตานีได้สร้างที่ประทับขึ้นเป็นครั้งแรกบริเวณชายทะเลคือหมู่บ้านตันหยงดาโตะอำเภอยะหริ่ง ปัจจุบัน ต่อมาตนกูบือซาเห็นว่าที่นี้ไม่เหมาะสมด้านภูมิศาสตร์จึงเรียนดาโตะ(ขุนนาง)ผู้ทรงคุณวุฒิที่ศักดิ์ตระกลูแวหรือวันนำหน้าจำนวน 12 ท่าน

ได้ปรึกษาหารือเกี่ยวกับการย้ายที่ประทับเพื่อจะสร้างวังใหม่ดาโตะทั้งหลายได้หาสถานที่ที่เหมาะสมนั้นคือ บริเวณจะบังติกอ(หรือวังเก่าปัจจุบัน)เพราะน้ำท่วนไม่ถึงน้ำบ่อใสสะอาดมีแม่น้ำไหลผ่าน 3 ด้านไปออกปากอ่าวปัตตานี วังเก่าจะบังติกอเดิมเรียกว่า กอตอจือเบาะห์ปูเยาะห์ตำหนักที่ประทับ เรียกว่า อิสตานอร์อาซัมจาวอ





-------------------------------
ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก  http://www.oknation.net/blog/Chabangtiko/2014/12/07/entry-1

 

 

ข้อมูลการติดต่อ :

    ต.จะบังติกอ อ.เมือง จ.ปัตตานี

 

 

เดินทางอย่างไร :

 

latitude : 6.85

longitude : 101.26

 

 

แผนที่ : 
 

 

 

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com