ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลตันหยงลุโละ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ข้อมูลทั่วไป
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทธรรมชาติ
ประเภทประวัติศาสตร์ และศาสนา
ประเภทศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี
การท่องเที่ยวโดยชุมชน
การท่องเที่ยวเชิงเกษตร
เส้นทางท่องเที่ยวโดยทัวร์อื่นๆ
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
รายชื่อมัสยิด
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
อาหารและเครื่องดื่ม
ศิลปะหัตถกรรม
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

หน้าพระลานและอนุสรณ์สถานยามาดา
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

หน้าพระลาน ตั้งอยู่หน้าพระราชวังตรงข้ามกับประตูใหญใกล้มัสยิดกรือเซะ เป็นบริเวณลานกว้าง สำหรับจัดพิธีการสำคัญของเมือง ขณะเดียวกันก็เป็นสมรภูมิสงครามหลายครั้ง เมื่อมีการสู้รบกับกองทัพจากเมืองอื่นๆ เช่น กรณีสงครามยามาดา เมื่อปี พ.ศ. 2173 "ยามาดา" หรือออกญาเสนาภิมุข มีชื่อเต็มว่า "Yamada Nizaemonmojo Nagamasa" เป็นขุนนางญี่ปุ่นสมัยอยุธยา ได้เป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ในปี พ.ศ.2172 ต่อมาในปี พ.ศ. 2173 ได้นำกำลังมาปราบปรามเมืองปัตตานี แตี่ได้รับบาดเจ็บกลับไปและเสียชีวิตที่นครศรีธรรมราชในเวลาต่อมา ลำดับเหตุการณ์ครั้งนั้นเกิดหลังจากเมื่อออกญาเสนาภิมุข พระยานครศรีธรรมราช ส่งบุตรชายและคณะลงไปเรียกส่วยภาษีที่เมืองปัตตานี และได้รับการต่อต้านโดยเฉพาะชาวต่างชาติที่ไม่ชอบญี่ปุ่นที่เป็นคู่แข่งทางการค้าอยู่ก่อนแล้ว นอกจากนั้นพ่อค้านักเดินเรือทั้งหลายก็เอือมระอากับโจรสลัดญี่ปุ่นในย่านน้ำสยามแถบปัตตานี นครศรีธรรมราช และเส้นทางเดินเรือในญี่ปุ่น จึงร่วมกันขัดขืนไม่จ่ายส่วย และไม่ส่งเครื่องบรรณาการไปให้นครศรีธรรมราช


ปี พ.ศ. 2173 ออกญาเสนาภิมุขได้นำกำลังทางบกและทางเรือไปทำศึกกับปัตตานี ตรงกับสมัยราชินีอูงู เกิดการสู้รบกันบริเวณหน้าพระลาน ชาวเมืองปัตตานีนำกำลังออกมาต่อสู้อย่างเต็มความสามารถ การสู้รบยังไม่เสร็จสิ้นจนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งชนะ ออกญาเสนาภิมุขซึ่งบัญชาการรบด้วยตนเองถูกอาวุธมีบาดแผลฉกรรจ์ที่ขา จึงต้องถอนกำลังกลับ เชื่อกันว่าการสู้รบครั้งนั้นบรรดาทหารนครศรีธรรมราชไม่ได้สู้รบอย่างเต็มใจ เนื่องจากไม่ชอบขุนนางญี่ปุ่นผู้นี้เป็นการส่วนตัวอยู่แล้ว รวมทั้งไม่ต้องการเป็นศัตรูกับปัตตานี ที่มีความเข้มแข็งทางการทหารอยู่ในเวลานั้น ส่วนออกญาเสนาภิมุขกลับไปรักษาบาดแผลที่นครศรีธรรมราชจนเกือบหาย แต่ถูกออกพระมะริด เจ้าเมืองไชยา ที่ออกไปช่วยราชการอยู่ที่นครศรีธรรมราชนำยารักษาบาดแผลอาบยาพิษมาใส่ให้ จนถึงอสัญกรรมในปี พ.ศ. 2173 เป็นที่รับรู้กันว่าแผนการนี้มีบัญชามาจากพระเจ้าปราสาททอง ซึ่งต้องการกำจัดออกญาเสนาภิมุข ตั้งแต่เมื่อครั้งอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา เมื่อทราบข่าวออกญาเสนาภิมุขได้รับบาดเจ็บ จึงให้ออกพระมะริด ซึ่งเป็นน้องชายของพระมเหสีองค์หนึ่งของพระองค์นำยาพิษงูผสมยางไม้ชนิดหนึ่งมารักษาให้ โดยบอกว่า เป็นยาหลวงจากราชสำนัก แผนการกำจัดออกญาเสนาภิมุขของพระเจ้าปราสาททอง จึงบรรลุผลสำเร็จ

ออกญาเสนาภิมุขเป็นขุนนางชาวญี่ปุ่นที่ประสบความสำเร็จในการรับราชการในราชสำนักสยามมากที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ไทย - ญี่ปุ่น ภูมิหลังเป็นชาวเมือง Warashima มณฑล Suraka ในวัยหนุ่มได้ทำการค้าขาย และเป็นคนหามเกี้ยวของเศรษฐีอยู่ระยะหนึ่ง ต่อมาได้หลบหนีการจับกุม เนื่องจากได้ฆ่าคู่วิวาทเสียชีวิต จึงอาศัยเรือสินค้าญี่ปุ่นเดินทางมายังไต้หวัน และเข้าร่วมกับโจรสลัดญี่ปุ่นในน่านน้ำเอเชียอาคเนย์อยู่ระยะหนึ่ง จึงเดินทางมาพำนักที่อยุธยาเมื่อปี พ.ศ. 2160 สมัยพระเจ้าทรงธรรม จากนั้นได้เข้ารับราชการเป็นทหารอาสาญี่ปุ่นเมื่อปี พ.ศ. 2163 ยามาดา ได้ออกรบทำศึกกับพม่าและปราบกบฎชาวต่างชาติหลายครั้งและได้รับชัยชนะทุกครั้ง จนได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นออกขุนไชยสุนทร ออกหลวงไชยสุนทร ออกพระเสนาภิมุข และออกญาเสนาภิมุข ตามลำดับ ออกญาเสนาภิมุขมีบทบาทมากในอยุธยา มีกำลังชาวญี่ปุ่นอยู่ในอำนาจถึง 600 คน ในช่วงเวลานั้นเมืองนครศรีธรรมราชมีปัญหาความขัดแย้งภายในอยู่ ออกญากลาโหม ขุนนางผู้มีอำนาจอีกคนหนึ่งของอยุธยาคิดกำจัดออกญาเสนาภิมุข จึงเสนอให้ออกญาเสนาภิมุขลงไปเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช เพื่อจัดการปัญหาดังกล่าว ขณะเดียวกันออกญากลาโหมได้เข้ายึดอำนาจ ในอยุธยาโดยปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์แทนพระอาทิตย์วงศ์ยุวกษัตริย์ในเวลานั้น และสถาปนาตนเองเป็น "พระเจ้าประสาททอง"

ออกญาเสนาภิมุข เมื่อลงไปปกครองนครศรีธรรมราช เกิดความขัดแย่งอย่างรุ่นแรงกับบรรดาขุนนาง ผู้ที่ไม่อ่อนน้อมหลายคนถูกประหารชีวิต ที่ดินถูกริบ และถูกบังคับให้ทำงานหนัก ต่อมาออกญาเสนาภิมุขได้นำกำลังไปปราบปรามปัตตานี ได้ทุ่มเทการทำรบด้วยตนเองจนได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตในเวลาต่อมา แม้ว่าชีวประวัติและบทบาทของยามาดา หรือออกญาเสนาภิมุขจะมีทั้งสองด้าน และมีผู้โต้แย้งอยู่เสมอว่า เป็นวีรบุรุษ หรือผู้ร้ายในประวัติศาสตร์ไทย แต่ยามาดาก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นคนสำคัญคนหนึ่งในประวัติศาสตร์การปกครองของไทย ความสัมพันธ์กับปัตตานี แม้ว่าจะเป็นด้านลบ แต่ก็เป็นบทบาทหน้าที่ในฐานะเจ้าเมืองคนหนึ่งในเวลานั้น การเรียนรู้ความสัมพันธ์เพื่อนำไปสู่การสร้างสรรค์มิตรภาพและความเข้าใจอันดี ย่อมมีประโยชน์ต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง สมรภูมืสงครามยามาดาที่ปัตตานีเกิดขึ้นบริเวณหน้าพระลานใกล้กับมัสยิดกรือเซะ เช่นเดียวกับสงครามที่เกิดขึ้นครั้งก่อนๆ บริเณหน้าพระลานจึงเป็นสถานที่ที่คนรุ่นหลังควรจะได้รับรู้ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของประวัติความสัมพันธ์ ไทย-ญี่ปุ่น รวมทั้งความสัมพัธ์ทางการค้าและการฑูต ระหว่างปัตตานีกับญี่ปุ่น ที่เคยมีมากกว่า 400 ปี ก็เป็นอีกสถานหนึ่งที่ควรอยู่ในความทรงจำ เ่ชนเดีบงกัลสถานที่สำคัญอื่นๆ ของเมืองปัตตานี

 

 

ข้อมูลการติดต่อ :

    -----------------------------------------------------
    ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือ มัสยิดกรือเซะ ในประวัติศาสตร์นครปตานี
    ศาสตราจารย์ ดร.ครองชัย หัตถา มหาวิทยาลัยสงขลานคริทร์

 

 

 

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com