ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ข้อมูลทั่วไป
เส้นทางท่องเที่ยวโดยนักวิจัย
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทธรรมชาติ
ประเภทประวัติศาสตร์ และศาสนา
ประเภทศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี
การท่องเที่ยวโดยชุมชน
สันทนาการและการบันเทิง
สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ
การท่องเที่ยวกลางคืน
เส้นทางท่องเที่ยวโดยทัวร์อื่นๆ
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
รายชื่อมัสยิด
โรงแรม / ที่พัก
โรงแรม รีสอร์ท และสปา
คอนโด อพาร์ทเม้นต์ และแมนชั่น
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
อาหารและเครื่องดื่ม
ศิลปะหัตถกรรม
เครื่องสำอาง
ธุรกิจขนาดกลาง/ ขนาดย่อม
กลุ่มอาชีพ / สินค้า
สิ่งอำนวยความสะดวก
สถานีตำรวจ
โรงพยาบาล
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

วัดยางทอง ( Wat Yangthong )
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

วัดยางทอง ตั้งอยู่บ้านเลขที่ ๑ ถนนนางงาม ในเขตเทศบาลนครสงขลา ปัจจุบันมีเนื้อที่ประมาณ ๔ ไร่ โดยมีอาณาเขตดังนี้

ทิศเหนือ ติดถนนสงขลาบุรี ซึ่งมีสถานีดับเพลิงของเทศบาลอยู่ฝั่งตรงข้าม
ทิศใต้ ติดด้านหลังบ้านเรือนของชาวบ้านริมถนนยะหริ่ง
ทิศตะวันออก ติดถนนนางงาม
ทิศตะวันตก ติดด้านหลังบ้านเรือนของชาวบ้านริมถนนนครใน

วัดยางทอง เป็นที่ตั้งของ บ่อยาง ซึ่งเป็นชื่อท้องถิ่นของที่ตั้งเมืองสงขลา ส่วนจะสร้างขึ้นเมื่อไหร่นั้นไม่ปรากฎหลักฐาน สืบได้แต่เพียงเค้าเงื่อนจากพงศาวดารเมืองสงขลาว่า ในราชการที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ไทยยังคงรบกับพม่า เมื่อเกิดสงครามเก้าทัพ พม่าได้บุกมาทางถลางหรือภูเก็ต กองทัพเมืองสงขลาจึงได้ยกไปช่วย หลังจากเสร็จศึกเก้าทัพแล้วเจ้าเมืองสงขลาก็ได้สร้างอุโบสถวัดยางทอง (ทำนองสร้างบุญล้างบาป) จึงคาดหมายว่าวัดยางทองน่าจะมีอยู่ก่อนกรุงรัตนโกสินทร์ หรือคงจะมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา…

“ครั้น ณ ปีเถาะสัปตศก ศักราช ๑๑๕๗ (พ.ศ.๒๓๓๘) อ้ายพม่าข้าศึกยกกองทัพเรือมาตีเมืองถลางแตก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยาพลเทพ (บุนนาก) กับพระยาวิเศษโกษาเปนแม่ทัพ โปรดเกล้าฯ ให้นายเถี้ยนจ๋งมหาดเล็กบุตรพระอนันตสมบัติเปนหลวงนายฤทธิ์ ออกมาในกองทัพเจ้าพระยาพลเทพ (บุนนาก) ด้วย เจ้าพระยาพลเทพยกกองทัพเรือออกมาขึ้นเดินกองทัพที่เมืองชุมพรไปเมืองถลาง เจ้า พระยาพลเทพให้หลวงนายฤทธิ์ (เถี้ยนจ๋ง) เชิญท้องตราออกมาเมืองสงขลา ในท้องตราโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยาสงขลา (บุญหุ้ย) ยกกองทัพไปถ่วงเมืองไทรบุรีไว้ แล้วให้เกณฑ์ไพร่เมืองสงขลา เมืองจะนะ ให้หลวงนายฤทธิ์ยกไปช่วยตีเมืองถลาง เจ้าพระยาสงขลา (บุญหุ้ย) เกณฑ์ไพร่เมืองสงขลาได้เจ็ดร้อยคน ให้หลวงพลเปนนายทัพ เกณฑ์ไพร่เมืองจะนะได้สองร้อยคน ให้จีนขวัญซ้ายมหาดเล็กบุตรพระจะนะ (เค่ง) เปนนายทัพ รวมไพร่เมืองสงขลา เมืองจะนะเก้าร้อยคน มอบให้หลวงนายฤทธิ์ยกไปทางเมืองพัทลุงไปสมทบทัพเจ้าพระยาพลเทพที่เมืองตรัง แล้วเจ้าพระยาสงขลา (บุญหุ้ย) เกณฑ์ไพร่สองร้อยคน ให้หลวงจ่ามหาดไทยยกไปตั้งถ่วงเมืองไทรบุรีไว้ กองทัพเจ้าพระยาพลเทพกับพระยาวิเศษโกษา หลวงนายฤทธิ์ ยกไปถึงเมืองถลาง ได้ยกเข้าตีพวกพม่าข้าศึกแตกหนีกลับไป เจ้าพระยาพลเทพจัดราชการเมืองถลางอยู่ปี ๑ เสร็จราชการแล้วยกกองทัพมาเมืองสงขลาทางเมืองตรัง ครั้งนั้นด่าตูปักหลันเจ้าเมืองยิริงคิดขบถ เจ้าพระยาพลเทพจัดให้กองทัพเมืองพัทลุง เมืองสงขลา สมทบกับกองทัพหลวง ให้หลวงนายฤทธิ์เปนแม่ทัพยกออกไปตีเมืองยิริง หลวงนายฤทธิ์ยกกองทัพออกไปตีทัพด่าตูปักหลันเมืองยิริงถึง ตลุมบอน จับตัวด่าตูได้ จึ่งได้แยกเมืองตานีออกเปน ๗ เมืองตามพระบรมราชานุญาต เหตุด้วยเมืองตานีเมืองเดียวมีกำลังมาก เมืองสงขลามีกำลังน้อย แล้วตั้งให้นายพ่ายทหารเอกเมืองสงขลาเปนผู้ว่าราชการเมืองยิริง จัดราชการแยกเมืองตานีอยู่ ๖ เดือน เสร็จราชการแล้ว ยกกองทัพพาตัวด่าตูกลับเข้ามาเมืองสงขลา เจ้า พระยาพลเทพ พระยาวิเศษโกษา หลวงนายฤทธิ์ ก็ยกกองทัพกลับเข้าไปกรุงเทพ ฯ เมืองสงขลาเปนปรกติไม่มีทัพศึกอยู่ ๒ ปี ในระหว่างเมืองสงขลาเปนปรกติอยู่ ๒ ปีนั้น เจ้าพระยาอินทคิรี ได้สร้างพระอุโบสถวัดยางทองขึ้นอาราม ๑ โรง พระอุโบสถวัดมัชฌิมาวาศอาราม ๑ รวม ๒ อาราม แลเจ้าพระยาสงขลา (บุญหุ้ย) ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ฟากแหลมสน.” (ข้อความจาก…พงศาวดารเมืองสงขลา)

สภาพปัจจุบัน วัดยางทองมีอุโบสถ ๑ หลัง ศาลาการเปรียญ ๑ หลัง ศาลาบำเพ็ญกุศล ๑ หลัง หอระฆัง ๑ หลัง และกุฏิ ๕ หลัง ซึ่งเสนาสนะเหล่านี้ เก่าที่สุดคือกุฏิที่ผู้เขียนอยู่สร้างเมื่อพ.ศ. ๒๕๐๐ นอกนั้นเกือบทั้งหมดสร้างมาไม่เกิน ๒๐ ปี แต่เมื่อขุดดินลงไปภายในวัด ก็จะเจอก้อนอิฐในสมัยต่างๆ ทับถมอยู่หนาแน่นและทั่วไป เคยมีผู้ให้ความเห็นว่า ถ้าจะศึกษายุคสมัยวัดยางทอง อาจศึกษาจากก้อนอิฐแต่ละรุ่นที่ฝังอยู่ในดิน

 

 

วันเปิดทำการ :  ทุกวัน
 

 

ข้อมูลการติดต่อ :

    ตั้งอยู่บ้านเลขที่ ๑ ถนนนางงาม  ตำบลบ่อยาง 
    วัดยางทอง:     watyangtong@gmail.com
    พระมหาชัยวุธ:   bmchaiwut@gmail.com

 

 

แผนที่ : 

ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น
 

 

 

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com