ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ข้อมูลทั่วไป
เส้นทางท่องเที่ยวโดยนักวิจัย
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทธรรมชาติ
ประเภทประวัติศาสตร์ และศาสนา
ประเภทศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี
การท่องเที่ยวโดยชุมชน
สันทนาการและการบันเทิง
สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ
การท่องเที่ยวกลางคืน
เส้นทางท่องเที่ยวโดยทัวร์อื่นๆ
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
รายชื่อมัสยิด
โรงแรม / ที่พัก
โรงแรม รีสอร์ท และสปา
คอนโด อพาร์ทเม้นต์ และแมนชั่น
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
อาหารและเครื่องดื่ม
ศิลปะหัตถกรรม
เครื่องสำอาง
ธุรกิจขนาดกลาง/ ขนาดย่อม
กลุ่มอาชีพ / สินค้า
สิ่งอำนวยความสะดวก
สถานีตำรวจ
โรงพยาบาล
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

วัดดอนรัก
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

วัดดอนรัก ตั้งอยู่เลขที่ ๑๗ หมู่ที่ ๔ บ้านบ่อยาง ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ๙๐๐๐๐ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่เนินสูง เดิมเป็นป่าต้นรักมากมาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๗ ไร่

วัดดอนรัก สร้างขึ้นเป็นวัดตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๙๑ ชาวบ้านเรียกว่า “วัดใต้” โดยมีเจ้าคุณสุนทรานุรักษ์ ให้สร้างวัดขึ้น ณ ที่ใกล้ๆ จวนสักวัดหนึ่ง ตามคำปรารภของนางศรีเนี่ยว เพื่อสะดวกแก่การบำเพ็ญกุศล เจ้าคุณสุนทรานุรักษ์ จึงได้แบ่งที่ดินหลังจวนซึ่งเป็นป่าต้นรักและเป็นเนินสูง ให้ตั้งวัดขึ้นชื่อว่า “วัดดอนรัก” ได้จัดสร้างกุฏิ วิหาร และอุโบสถ เมื่อสร้างอุโบสถแล้วก็จัดการผูกพัทธสีมา ปรากฏว่าในวันผูกพัทธสีมานั้น นางศรีเนี่ยวได้ถึงแก่กรรมลง พร้อมๆ กับสัญญาณระฆัง สัญณาณฆ้อง กลอง และคุณหญิงพักตร์ ณ สงขลา ภรรยาของพระยาสุนทรานุรักษ์ ได้คลอดบุตรชาย คือ พระยาวิเชียรคีรี (ชม ณ สงขลา) ซึ่งได้เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลา คนสุดท้ายในกาลต่อมา และพระยาวิเชียนคีรี (ชม ณ สงขลา) ก็ได้อุปสมบท ณ วัดนี้ ได้สร้างพระไตรปิฎก ฉบับราชการที่ ๗ ไว้ ๑ ฉบับ สมัยนั้นวัดดอนรักมีเจ้าอาวาสมาแล้ว ๓ รูป เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๔ เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่สงขลา วัดดอนรักถูกภัยทางอากาศเป็นครั้งแรก ทำให้สามเณร ๑ รูป ศิษย์วัด ๑ คน เสียชีวิต และอาคารเสนาสนะเสียหายมาก เมื่อสงครามสงบได้บูรณะพัฒนาเริ่ม ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๙ เป็นต้นมา จนปัจจุบันได้รับการยกย่องให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างในจังหวัดสงขลาด้วย

วัดดอนรัก ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ วันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๓๙๕ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๒๐ เมตร เจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนามมี ๕ รูป ดังนี้
๑. พระอธิการชู ถาวโร
๒. พระครูธรรมศีลวัตร
๓. พระภัทรธรรมธาดา
๔. พระย่อง ยุตตรมโม
๕. พระสุทธิสารสุธี ปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๕๒)

อาคารเสนาสนะ
อุโบสถ ๒ หลัง โครงสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ศาลาการเปรียญ ๑ หลัง กว้าง ๑๓.๕๐ เมตร ยาว ๒๐.๕๐ เมตร โครงสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก หอระฆัง ๑ หลัง โครงสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก หอสมุดแห่งชาติ ๑ หลัง โครงสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก อาคารปฏิบัติธรรม รัตนนารีศรีสงขลา ๑ หลัง โครงสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก อาคารเอนกประสงค์ ๑ หลัง โครงสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สำนักงานพุทธสมาคมจังหวัดสงขลา ๑ หลัง โครงสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก กุฏิสงฆ์ ๕ หลัง โครงสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก และไม้ ซุ้มประตู ๑ ซุ้ม โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก กุฏิสงฆ์ ๒ หลัง โครงสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ซุ้มประตู ๑ ซุ้ม โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก โรงครัว ๑ หลัง โครงสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก

ปูชนียวัตถุและโบราณวัตถุ
พระประธานภายในอุโบสถหลังเก่า มีขนาด กว้าง ๗๙ เมตร ยาว ๑๐๒ เมตร รอยพระพุทธบาทจำลอง สร้างด้วยหินอ่อนเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๗ โดยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และนายสังข์ นางเอี่ยม ธรรมโชติ ซึ่งถอดแบบจากพระพุทธบาท วัดบวรนิเวศวิหาร ที่รัชการที่ ๔ นำมาจากสุโขทัย

--------------------
ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจากเว็บไซต์ https://ssl.panoramio.com/user/3845213 และ http://m-culture.in.th/album/5840

 

 

ข้อมูลการติดต่อ :

    ตั้งอยู่เลขที่ ๑๗ หมู่ที่ ๔ บ้านบ่อยาง ถนนไทรบุรี ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ๙๐๐๐๐ 

    โทรศัพท์ 074 310 125

 

 

แผนที่ : 
 

 

 

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com