ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ข้อมูลทั่วไป
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทธรรมชาติ
ประเภทศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
รายชื่อมัสยิด
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
อาหารและเครื่องดื่ม
ธุรกิจขนาดกลาง/ ขนาดย่อม
กลุ่มอาชีพ / สินค้า
สิ่งอำนวยความสะดวก
สถานีตำรวจ
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

เมืองโบราณบ้านประแว (เมืองพระวัง)
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

เมืองโบราณบ้านประแว (เมืองพระวัง) เป็น 1 ใน 3 เมืองของเมืองโบราณยะรัง อยู่ทางด้านเหนือสุดของเมืองโบราณห่างจากเมืองโบราณบ้านจาเละ 300 เมตร ผังเมืองโบราณบ้านประแวเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ขนาด 470x510 เมตร มีคูน้ำ (คูขุดลึกและแคบ) กำแพงดินและป้อมทั่งสี่มุม ทางด้านทิศตะวันตกมีคลองส่งน้ำขนาดเล็กต่อเชื่อมกับทางน้ำธรรมชาติที่ไหลมาจากบ้านวัด ด้านทิศใต้มีคลองส่งน้ำที่ขุดจากบริเวณป้อมไปเชื่อมกับคูเมืองบริเวณมุมเมืองทางด้านทิศเหนือของเมืองยะรัง ภายในตัวเมืองทางด้านทิศใต้พบแนวดินรูปตัวแอลในภาษาอังกฤษ ความยาว 120 และ 130 เมตร สันนิษฐานว่าเป็นคันกั้นน้ำ

จากการสำรวจพบกลุ่มโบราณสถานที่สำคัญภายในเมืองพบ ซากสิ่งก่อสร้างอิฐ 2 แห่ง และบ่อน้ำเก่า 5 แห่ง หลักฐานที่ได้จากการขุดค้นและขุดตรวจพบว่าเมืองโบราณบ้านประแวสร้างขึ้นร่วมสมัยกับกรุงศรีอยุธยาตอนต้น (ปลายพุทธศตวรรษที่ 19)  แต่จากหลักฐานจากการสำรวจ พบโบราณวัตถุที่ร่วมสมัยกับแหล่งโบราณคดีบ้านจาเละและบ้านวัด เช่น ศิวลึงค์ ชิ้นส่วนกุฑุ ชิ้นส่วนสถูป เป็นต้น ทำให้นักวิชาการสันนิษฐานว่าอาจมีการใช้พื้นที่บริเวณนี้มีตั้งแต่ช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 เป็นต้นมา ร่วมกับเมืองโบราณบ้านจาเละและบ้านวัด จากนั้นได้มีการสร้างเมืองขึ้นอีกครั้งในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 19 คือ เมืองประแวที่มีผังขนาด 470x510 เมตร มีคูน้ำกำแพงดินและป้อมสี่เมืองที่เห็นในปัจจุบัน โดยสันนิษฐานว่าอาจมีความเกี่ยวพันกับการสร้างเมืองบริเวณกับบ้านกรือเซะและกลายมาเป็นเมืองปัตตานีในสมัยต่อมา

ภูมิประเทศ: ที่ราบ
สภาพทั่วไป: เมืองโบราณบ้านประแวเป็น 1 ใน 3 เมืองของเมืองโบราณยะรังที่ตั้งอยู่บนที่ราบปากแม่น้ำ (Delta) ปัตตานีตอนบน เมืองโบราณบ้านประแวอยู่ทางด้านเหนือสุดของเมืองโบราณยะรังห่างจากเมืองโบราณบ้านจาเละทางด้านทิศใต้ 300 เมตร ผังเมืองโบราณบ้านประแวเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ขนาด 470x510 เมตร มีคูน้ำ (คูขุดลึกและแคบ) กำแพงดินและป้อมทั้งสี่มุมเมือง ทางด้านทิศตะวันตกมีคลองส่งน้ำขนาดเล็กต่อเชื่อมกับทางน้ำธรรมชาติที่ไหลมาจากบ้านวัด ด้านทิศใต้มีคลองส่งน้ำที่ขุดจากบริเวณป้อมไปเชื่อมกับคูเมืองบริเวณมุมเมืองทางด้านทิศเหนือของเมืองยะรัง ภายในตัวเมืองทางด้านทิศใต้พบแนวดินรูปตัวแอลในภาษาอังกฤษ ความยาว 120 และ 130 เมตร สันนิษฐานว่าเป็นคันกั้นน้ำ (ภัคพดี อยู่คง และพรทิพย์ พันธุโกวิท 2538 : 267)

 
ปัจจุบันพื้นที่ภายในเมืองโบราณบ้านประแวเป็นพื้นที่เกษตรกรรมเพาะปลูกและอยู่อาศัย

ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง:  4-7 เมตร (ทิวา ศุภจรรยา และกฤษณพล วิชชุพันธ์ 2538 : 280)
ทางน้ำ:  อยู่ในเขตอิทธิพลของลุ่มแม่น้ำปัตตานี และทางน้ำรองบ้านดอนหวายและบ้านปาหนันซึ่งเป็นแขนงแยกของแม่น้ำปั้ตตานีเก่าทางตะวันออก (ปัจจุบันเหลือหลักฐานให้เห็นแค่เป็นทางน้ำเก่า)

สภาพธรณีวิทยา: เป็นที่ราบที่เกิดจากการทับถมของตะกอนแม่น้ำปัตตานีในยุค Cenozoic โดยเป็นการทับถมทั้งตะกอนแม่น้ำพัดพา (สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 10 สงขลา 2541 : 13)

 

 

เดินทางอย่างไร :

 

เมืองโบราณบ้านประแว อยู่ในกลุ่มเมืองโบราณยะรัง ซึ่งตั้งอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี มีเส้นทางเข้าสู่แหล่งโบราณคดีได้ 2 ทาง คือ

- ตามเส้นทางหลวงหมายเลข  410 (ปัตตานี – ยะลา) จากจังหวัดปัตตานี ประมาณ 15 กิโลเมตร ถนนจะเลียบแนวคูเมืองทางทิศตะวันตกทางด้านเหนือลงไปและผ่านที่ว่าการอำเภอเมืองยะรัง ห่างจากจังหวัดยะลา ประมาณ 24 กิโลเมตร

- ตามเส้นทางหลวงหมายเลข 4016 แยกจากอำเภอยะรังไปอำเภอมายอ ถนนตัดผ่านคูเมืองทางด้านทิศตะวันตกเข้าสู่กลางเมืองโบราณและตัดผ่านคูเมืองโบราณบ้านจาเละไปทางทิศตะวันออก



(ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.sac.or.th/)

 

 

แผนที่ : 
 

 

 

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com