ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลบ้านควน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ข้อมูลทั่วไป
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทธรรมชาติ
การท่องเที่ยวโดยชุมชน
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
รายชื่อมัสยิด
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
อาหารและเครื่องดื่ม
ศิลปะหัตถกรรม
กลุ่มอาชีพ / สินค้า
สิ่งอำนวยความสะดวก
โรงพยาบาล
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนตำบลเกตรี โฮมสเตย์เด่นล้ำค่าวัฒนธรรม
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

"บ้านเกตรี" หรือ "บูเกตรีบุตรี" ภาษามลายู แปลว่า "ลูกสาวเจ้าเมือง" เดิมหมู่ 3 บ้านเกตรี อยู่ใน ต.บ้านควน อ.เมือง จ.สตูล ต่อมาได้แยกเป็น ต.เกตรี เมื่อปี 2527 ประกอบด้วย 6 หมู่บ้าน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของ ต.เกตรี

เมื่อมีการตั้งถิ่นฐาน จึงเรียกชื่อหมู่บ้านว่า "บ้านเกตรีบุตรี" และต่อมาเพี๊ยนเป็น "บ้านเกตรี" ซึ่งลักษณะภูมิประเทศของ "บ้านเกตรี" ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบลุ่ม เหมาะแก่การทำนาและเพาะปลูก ที่ราบเชิงเขาเหมาะแก่การทำสวนยางพารา และสวนผลไม้ อาทิ เงาะ ทุเรียน ส้ม ลองกอง และมีแหล่งน้ำที่สำคัญ เช่น หนองปลัก และฝายส่งน้ำดุสน ทำให้มีน้ำใช้ตลอดปี หมู่ที่ 3 บ้านเกตรี มีพื้นที่ทั้งหมด 6,672 ไร่ เป็นพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด 2,434 ไร่ ส่วนที่เหลือเป็นพื้นที่สาธารณะป่าสงวนแห่งชาติ และทุ่งเลี้ยงสัตว์

ส่วนสภาพภูมิอากาศ แบ่งเป็น 2 ฤดู คือฤดูฝน ประมาณ 8 เดือน ฤดูแล้ง ประมาณ 4 เดือน ซึ่งจะได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกพัดผ่านและลมมรสุมทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่านสลับกัน โดยประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวบ้านหมู่ที่ 3 บ้านเกตรี  คือ การผลิตกาแฟโบราณ,  การทำขนมบุหงาปูดะ, ขนมปะการัง และขนมแนหรัม หรือขนมเจาะหู ฯลฯ

ผมหยิบยกเรื่องราวของ "บ้านเกตรี" มาเขียนถึง เพราะมีโอกาสมา "ตะลอนตามอำเภอใจ" ร่วมเดินทางมากับคณะของกรมการปกครอง เพื่อดูภารกิจบทบาทฝ่ายปกครองในการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ชายแดนและการท่องเที่ยวรับ AEC และการขยายผลศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงสู่ชุมชนศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ณ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนตำบลเกตรี หมู่ที่ 3 ต.เกตรี อ.เมือง จ.สตูล แห่งนี้ครับ

"ร่อหาน จังแดหวา" กำนันตำบลบ้านเกตรี อ.เมือง จ.สตูล บอกว่า ที่ชุมชนตำบลเกตรี  มีการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา ที่ผ่านมามีโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่างประเทศ โดยนักศึกษาจากประเทศสวีเดนได้มาศึกษาเรียนรู้และใช้ชีวิตกับครอบครัวที่นักศึกษาได้มาอาศัยอยู่ หลังจากนั้นได้มีการติดต่อเพื่อบอกต่อให้เพื่อนนักศึกษาในต่างประเทศให้มาท่องเที่ยวในชุมชนตำบลเกตรีด้วย

ส่วนการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ชุมชนตำบลเกตรี ก็มีการประชุมประจำเดือนของคณะกรรมการศูนย์บริหาร และถ่ายทอดเทคโนโลยีประจำตำบลเกตรี ทำให้มีขับเคลื่อนขยายจุดเรียนรู้หลายจุด เช่น พลังงานทดแทน, การใช้พลังงานลมผลิตกระแสไฟฟ้า, การทำโรงเพาะฟัก, ปลาน้ำจืด, การเลี้ยงปลาน้ำจืด, ห้องอบสมุนไพร, โฮมสเตย์ และแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น มีการขยายจุดเรียนรู้ไปยังหมู่บ้านใน ต.เกตรี เพื่อเป็นเครือข่ายการเรียนรู้โดยชุมชน เช่น ที่ "บ้านเกตรี" ม.1 ก็มีจุดเรียนรู้การแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ และการทำขนม, ม.2 มีจุดเรียนรู้ปศุสัตว์ เลี้ยงแพะ และการทำเครื่องจักสาน, ม.3 มีศูนย์การเรียนรู้ชุมชนตำบลเกตรีเป็นจุดศูนย์รวม, ม.4 มีจุดเรียนรู้การปลูกผักปลอดสารพิษ, ม.5 มีจุดเรียนรู้การทำสวนผลไม้เกษตรผสมผสาน, ม.6 มีจุดเรียนรู้การทำไร่อ้อย, และม.7 มีจุดเรียนรู้พลังงานทดแทน ที่โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 43

นอกจากนี้ ยังมีการฝึกอบรมกลุ่มโฮมสเตย์ของชุมชนบ้านเกตรี เพื่อเพิ่มความรู้ในเรื่องการจัดการโฮมสเตย์ จึงเกิดการจัดการท่องเที่ยวเต็มรูปแบบ ทำให้มีการต้อนรับนักท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น โดยกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวที่ศูนย์ฯ แห่งนี้ คือ หน่วยงานราชการที่มาจัดอบรมสัมมนา, นักศึกษาที่มาเรียนรู้การบริหารการจัดการกลุ่ม, นักท่องเที่ยวจาก 3 จังหวัดชายแดนใต้ ได้แก่ ปัตตานี, ยะลา, นราธิวาส มาศึกษาดูงาน รวมถึงนักท่องเที่ยวทั่วไปที่มาพักโฮมสเตย์ของศูนย์การเรียนรู้ชุมชนตำบลเกตรีอีกด้วย

"เหนือชาย จิระอภิรักษ์" ผู้ว่าราชการจังหวังหวัดสตูล บอกว่า ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนตำบลเกตรีถูกสร้างขึ้นมาเพื่อต้องการให้เป็นศูนย์กลางการรวมกลุ่มองค์ความรู้ในเรื่องต่างๆ ให้ประชาชนได้ศึกษาและนำไปปรับใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน และยึดเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพ เพื่อเสริมสร้างสถานภาพความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น รวมทั้งได้มีโอกาสเรียนรู้ในเรื่องการถ่ายทอดประสบการณ์ การสืบทอดภูมิปัญญา วัฒนธรรม ค่านิยม ตลอดจนเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของชุมชน โดยการจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการของคนในชุมชน เพื่อให้ปรับตัวได้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม และก่อให้เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ น่าท่องเที่ยว น่าพักพิง มุ่งไปสู่การพัฒนาแบบพึ่งตนเอง

"ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนบ้านเกตรี ยังเป็นศูนย์การเรียนรู้ของคนในชุมชน ก่อให้เกิดความเข้มแข็งยั่งยืน โดยภายในศูนย์การเรียนรู้ชุมชนแห่งนี้ได้จัดฐานการเรียนรู้ไว้ 7 ฐาน เพื่อให้บริการความรู้ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งกลุ่มคนภายในและภายนอกได้อย่างมีประสิทธิภาพ" นายเหนือชาย กล่าว

 "รัชฐพนธ์ ณ อุบล" นายอำเภอเมืองสตูล จ.สตูล บอกว่า ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนตำบลเกตรี เป็นศูนย์เรียนรู้โฮมสเตย์ 1 ใน 5 ของอำเภอเมืองสตูล ซึ่งเรามีความภาคภูมิใจว่าเป็นศูนย์เรียนรู้ครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นด้านสถานที่  ด้านความรู้เกี่ยวกับคนที่มาที่ศูนย์เรียนรู้โฮมสเตย์แห่งนี้ ไม่ว่าจะเป็นบุคลากรที่มีความรู้ที่อยู่ในเกณฑ์ที่ดี ซึ่งในส่วนของอำเภอเมืองสตูลก็ได้มีการประสานงานในศูนย์การเรียนรู้ชุมชนตำบลเกตรีอยู่ตลอดเวลาเป็นประจำทุกเดือน เพราะมีคนเข้ามาศึกษาดูงานและมาพักที่ศูนย์โฮมสเตย์แห่งนี้อยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นคนที่มาเรียนรู้หรือมาท่องเที่ยว ทางอำเภอก็สนับสนุนในทุกๆ ด้านอยู่แล้ว ทั้งเรื่องงบประมาณในการดำเนินการของศูนย์เรื่อนรู้ในด้านต่างๆ และถ้าทางอำเภอมีงบบูรณาการก็จะดำเนินการให้

"นายอำเภอเมืองสตูล" บอกอีกว่า ทางอำเภอสตูลเองก็พยายามผลักดันศูนย์การเรียนรู้ชุมชนตำบลเกตรีให้เป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบของ จ.สตูล ซึ่งทางผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล และตนก็ได้ลงมาค้างคืนในพื้นที่ และได้สัมผัสว่าตรงไหนบ้างที่เราควรจะปรับปรุง ตรงไหนบ้างที่ควรจะเพิ่มเติม โดยทางผู้ว่าราชการจังหวัดสตูลก็ได้ให้งบประมาณเพื่อปรับปรุงศูนย์เรียนรู้ในปี 2556 นี้ ประมาณ 9 แสนกว่าบาท และทางอำเภอสตูลก็ได้ดำเนินการในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงศูนย์ฯ, การประชาสัมพันธ์, สถานที่ห้องพักต่างๆ, หรือเพิ่มฐานของศูนย์เรียนรู้ต่างๆ ซึ่งทางอำเภอก็ได้ดำเนินการโดยใช้งบประมาณดังกล่าว และเพิ่งจะดำเนินการแล้วเสร็จ และภายในปีนี้ 2557 ก็ทราบว่าจะมีการเพิ่มงบประมาณให้อีกประมาณ 1 ล้านบาท ซึ่งทางอำเภอเมืองสตูลก็จะได้ประเมินดูว่าตรงไหนบ้างที่จะต้องเพิ่มเติมเข้าไป ตรงนี้ก็เป็นความร่วมมือประสานงานของทางอำเภอกับชุมชนในพื้นที่

 นอกจากจะได้รับฟังบรรยายสรุปความเป็นมาของศูนย์เรียนรู้ฯ แล้ว ยังได้ชมการสาธิตของกลุ่มชาวบ้านที่ผลิตขนมบุหงาปูดะ, กลุ่มผลิตขนมไข่, กลุ่มผลิตขนมทองพับ, และกลุ่มผลิตขนมแนหรัม หรือขนมเจาะหู ฯลฯ โดยขนมแนหรัม หรือขนมเจาะหู "ร่อหาน จังแดหวา"  กำนันตำบลบ้านเกตรี อ.เมือง จ.สตูล เลาว่า ขนมแนหรัม สืบทอดมาจากคนเชื้อสายมาลายูที่อพยพถิ่นฐานมาอยู่ที่เมืองสตูล ซึ่งเป็นขนมที่ใช้ในเทศกาลงานต่างๆ ของคนในพื้นที่ และถ้าเทศกาลต่างๆ ไม่มีขนมแนหรัม

              
Credit: http://talontody.blogspot.com/2013/10/blog-post.html

 

 

ข้อมูลการติดต่อ :

    216 ต.เกตรี อ.เมือง จ.สตูล 91140
    โทรศัพท์ 088 168 1578

    Facebook: https://www.facebook.com/KetriEducationCenter.Muang.Satun.Thailand/

 

 

แผนที่ : 
 

 

 

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com