ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลสะพานไม้แก่น อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ข้อมูลทั่วไป
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทประวัติศาสตร์ และศาสนา
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
รายชื่อมัสยิด
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
อาหารและเครื่องดื่ม
กลุ่มอาชีพ / สินค้า
การคมนาคม
 

 

 

 

 

วัดเกษมรัตน์
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

ชุมชนสะพานไม้แก่น มีโบราณสถานที่สำคัญคือ วัดเกษมรัตน์” เป็นมรดกทางวัฒนธรรมประเภทกลุ่มของสิ่งก่อสร้างที่อยู่คู่กับชุมชนมายาวนาน  โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับวัดเกษมรัตน์ดังต่อไปนี้


1). ที่ตั้งและอาณาเขต  วัดเกษมรัตน์

              วัดเสะหรือวัดเกษมรัตน์เป็นวัดสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 6 บ้านเกษมรัตน์  ตำบลสะพานไม้แก่น  อำเภอจะนะ  จังหวัดสงขลา ตั้งอยู่บริเวณที่ราบสูง ห่างจากที่ว่าการอำเภอจะนะ  ตามถนนสายจะนะสะพานไม้แก่น ประมาณ 10 กิโลเมตร  ปัจจุบันมีธรณีสงฆ์พื้นที่ประมาณ  7 ไร่  อาณาเขตพื้นที่ที่ติดต่อกับวัดเกษมรัตน์มีดังต่อไปนี้
        ทิศเหนือ       จรด   ถนนลาดยางสายจะนะ  สะพานไม้แก่น

         ทิศใต้           จรด   บ้านเรือนของราษฏรหมู่ที่ 6

        ทิศตะวันตก    จรด  สวนยางพาราของราษฏรหมู่ที่ 6
        ทิศตะวันออก  จรด  ถนนลาดยางสายจะนะ-สะพานไม้แก่นและบ้านเรือนของราษฏรหมู่ที่ 6

  2). ประวัติและความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของวัดเกษมรัตน์

             วัดเกษมรัตน์หรือวัดกะเสะ  เป็นวัดโบราณที่มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่าสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยตอนปลาย กรุงศรีอยุธยา โดย นายโต๊ะเจ๊ะเสะ เป็นชาวมุสลิมมาจากต่างถิ่นที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานและประกอบอาชีพทางการเกษตรอยู่ในพื้นที่ดินแห่งนี้ ในระหว่างที่ถางหญ้าเพื่อทำการเพาะปลูกอยู่นั้น ได้พบพระพุทธรูปรูปหนึ่งในบริเวณที่ทำกินของคน คนบริเวณนั้นได้มีการกล่าวขานข่าวนี้ออกไปทำให้คนต่างมาชมและไหว้พระพุทธรูปดังกล่าว นายโต๊ะเจ๊ะเสะ จึงเกิดความสงสารผู้คนที่มีความศรัทธาเลื่อมใสต่อมาจึงได้มอบที่ดินผืนนี้เพื่อสร้างวัดให้ชาวพุทธ คนทั่วไปจึงเรียกชื่อจนติดปากว่า วัดกะเสะ

             หนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักรได้บันทึกประวัติความเป็นมาของวัดเกษมรัตน์เพิ่มเติมไว้อีกว่า  วัดเกษมรัตน์ถูกสร้างขึ้นใน พ.ศ. 2159 มีชื่อว่า วัดเสะ” ตั้งตามชื่อ นายโต๊ะเจ๊ะเสะ ซึ่งเป็นผู้บริจาคที่ดินในการสร้างวัด จนกระทั้งใน พ.ศ.2184 จึงได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา หลังจากนั้นใน พ.ศ. 2482  ตรงกับสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม กรมการศาสนาจึงเปลี่ยนชื่อวัดมาเป็น วัดเกษมรัตน์


            วัดเกษมรัตน์เป็นวัดที่มีความเจริญรุ่งเรืองวัดหนึ่งในสมัยก่อน ต่อมาได้ถูกโจรแขกปล้นและทำลายชาวบ้าน เรียกเหตุการณ์ในครั้งนั้นว่า ศึกกุเด่น เหตุการณ์นี้คาดว่าน่าจะเป็นเหตุการณ์เดียวกับที่พระยาแขกเจ็ดหัวเมืองคบคิดก่อขบถ เมื่อปลายปี พ.ศ. 2445 ซึ่งเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ ขบถ ร.ศ. 121


            วัดเกษมรัตน์หรือวัดเสะ  นับเป็นวัดโบราณที่มีความสำคัญมากแห่งหนึ่งของอำเภอจะนะ  เป็นวัดที่มีอดีตเจ้าอาวาส หลวงพ่อย่ามใหญ่” และ หลวงพ่อเสน ซึ่งเป็นที่เคารพสักการบูชาของประชาชนโดยทั่วไป นอกจากนี้ภายในวัดยังมีโบราณสถาน โบราณวัตถุ และศิลปวัตถุที่มีคุณค่า เช่น พระพุทธรูปภายในอุโบสถ บ่อน้ำโบราณ พิพิธภัณฑ์วัดเกษมรัตน์ ฯลฯ ซึ่งนับเป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมที่มีคุณค่ายิ่ง สมควรร่วมกันอนุรักษ์ไว้สืบไป


             ตั้งแต่โบราณเริ่มสร้างวัดกะเสะได้เคยมีสมภารเจ้าอาวาสหลายรูปด้วยกัน  แต่เท่าที่สืบความได้มีดังต่อไปนี้

             1. พ่อท่านย่ามใหญ่              

             2. พ่อท่านลี้หรือพ่อท่านลอง

             3. พ่อท่านลิ้นดำ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า หลวงปูทวดลิ้นดำ  พ่อท่านแป๊ะ  พ่อท่านฉีด  พ่อท่านหัวมวย   พ่อท่านแดง

             4. พ่อท่านแดง

             5. พระอุปัชฌาย์เสน  จนฺทสฺสโร

             6. พระครูธรรมศาสน์โสภณ(พุ่ม   สุวณฺโณ)

             7. หลวงพ่อจันทร์  คุณสมฺปนฺโน  เป็นเจ้าอาวาส ปีใดไม่ปรากฏแน่ชัด

             8. พระครูธรรมศาสน์โสภณ (พุ่ม  สุวณฺโณ) เป็นเจ้าอาวาสปีใดไม่ปรากฏแน่ชัด

             9. หลวงพ่อหริบ  พฺรหมวารี  เป็นเจ้าอาวาสปีใดไม่ปรากฏแน่ชัด

           10. พระคิ่ม  คนฺถิโก  เป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493  ถึง พ.ศ. 2494

           11. พระชุม  มนฺชุวณฺโณ  เป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ปี พ.ศ. 2494  ถึง พ.ศ. 2499

           12. พ่อท่านอ่อน  ตปสีโล  เป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ปี พ.ศ. 2499  ถึงปีใดไม่ปรากฏแน่ชัด

           13. พ่อท่านหนูแก้ว  ธมฺมปาโล   เป็นเจ้าอาวาสปี พ.ศ. ใด ไม่ปรากฏแน่ชัด

           14. พระเห้ง  สิลธโร  เป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 ถึง พ.ศ. 2520

           15. พระแปลก  ถิรธมฺโม  เป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 ถึง ปี พ.ศ.ใดไม่ปรากฏแน่ชัด

           16. พระทรงชัย  อธิปญฺโญ  เป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 ถึง พ.ศ. 2536

           17. พระแสวง  คเวสโก  เป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ปี พ.ศ.2536 ถึง พ.ศ. 2539

           18. พระมหาปลื้ม  โชติวํโส (ปธ.3) เป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 ถึง พ.ศ. 2543

           19. พระพรประสิทธิ์  ฐานวโร  เป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ปี พ.ศ.2543 ถึง พ.ศ. 2547

           20. พระสิทธิ์   เตชปญฺโญ  เป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ ปี พ.ศ.2549 ถึง ปัจจุบัน

 

 

ข้อมูลการติดต่อ :

    หมู่ที่  6  บ้านเกษมรัตน์  ตำบลสะพานไม้แก่น  อำเภอจะนะ  จังหวัดสงขลา 

 

 

เดินทางอย่างไร :

 

ห่างจากที่ว่าการอำเภอจะนะ  ตามถนนสายจะนะสะพานไม้แก่น ประมาณ 10 กิโลเมตร

 

 

แผนที่ : 

ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น
 

 

 

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com