ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ข้อมูลทั่วไป
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทธรรมชาติ
ประเภทประวัติศาสตร์ และศาสนา
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
รายชื่อมัสยิด
โรงแรม / ที่พัก
โรงแรม รีสอร์ท และสปา
ร้านอาหาร
ร้านอาหาร
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
อาหารและเครื่องดื่ม
ศิลปะหัตถกรรม
กลุ่มอาชีพ / สินค้า
สิ่งอำนวยความสะดวก
สถานีตำรวจ
โรงพยาบาล
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

พระสามองค์
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

พระพุทธรูปสามองค์ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนมาตั้งแต่โบราณกาล  ประดิษฐานอยู่ ณ วัดเทพาไพโรจน์ ม.4 ต.เทพา  อ.เทพา  จ.สงขลา    สร้างด้วยศิลาทรายแดง  นั่งเรียงกันในศาลา ฝาผนังกั้นทึบทั้งสี่ด้าน  ทางเข้าออกเป็นประตูไม้  ชาวบ้านเรียกว่า พระสามองค์


เล่ากันว่าเมื่อครั้งข้าหลวงนายอ่อน ปกครองอำเภอเทพานั้น  ได้สร้างศาลาเป็นที่พักอยู่หน้าเมืองเพื่อไว้เป็นที่พักก่อนเข้าเมือง  และที่ศาลานี้มีพระรูปหนึ่งชื่อ พระนวล”  ซึ่งเป็นพระธุดงค์  ท่านได้นำอาหารซึ่งชาวบ้านนำมาถวายที่เหลือจากฉันมาปั้นพระพุทธรูปแล้วห่อด้วยดินเหนียวเป็นพระพุทธรูป(พระจังหัน) นำเกสรดอกไม้ที่ใช้บูชาพระที่แห้งเหี่ยวมาปั้นเป็นพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่ง(พระเกสร)  และนำเศษขี้เถ้าไม้แก่นจันทร์ ซึ่งเป็นไม้หอมปั้นเป็นพระพุทธอีกองค์หนึ่ง (พระแก่นจันทร์)  ด้วยความตั้งใจของพระนวลนั้นเข้าใจว่าพระสามองค์นี้คงจะแทนพระรัตนตรัย  โดยให้ประดิษฐานอยู่บนศาลา และได้กระทำพิธีปลุกเสกเป็นที่สักการะของชาวเมืองเทพา  ซึ่งได้พร้อมใจกันสร้างโครงโบกปูนทับไว้อีกครั้งหนึ่ง  ซึ่งพระสามองค์ได้แสดงอภินิหารต่างๆ ชาวบ้านที่บนบานศาลกล่าวก็ได้สมปรารถนา  จึงเป็นที่เคารพสักการะเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองเป็นต้นมา


        ต่อมาเกิดน้ำท่วมใหญ่  ท่วมสูงถึง 15 เมตร  จมหมดทั้งเมืองเทพา  และน้ำไหลเชี่ยวมาก ทำให้เมืองเทพาพังทลาย  ชาวเมืองเทพาล้มตายเป็นจำนวนมาก   ข้าหลวงอ่อนก็เสียชีวิตในครั้งนี้ด้วย   ศาลาหน้าเมืองก็ถูกทำลายเช่นกัน  แต่ก็เป็นที่น่าอัศจรรย์ที่พระทั้งสามองค์มิได้รับความเสียหายแต่ประการใด   ยังคงอยู่ที่ซากศาลานั้นเหมือนเดิม  จากอุทกภัยในครั้งนั้นชาวเมืองเทพาที่รอดชีวิตต่างอพยพกันไปตั้งรกรากที่อื่น   จนเมืองเทพากลายเป็นเมืองร้าง  พระพุทธรูปทั้งสามองค์นั้น  นาน ๆ เข้าก็ถูกปกคลุมด้วยต้นไม้จนมองไม่เห็นองค์พระ


        ต่อมาราว พ.ศ.2474  ชาวไทยมุสลิมซึ่งมีอาชีพทำประมงได้มาตั้งบ้านสร้างเรือนที่บริเวณใกล้ ๆ กับพระสามองค์  แต่ก็ต้องย้ายออกไปอย่างไม่มีสาเหตุ  หลังจากนั้นชาวไทยพุทธซึ่งเห็นพุทธอภินิหารก็พากันสักการะ  และช่วยกันสร้างศาลาขึ้นมาใหม่ ด้วยไม้หลังคามุงจาก และมีพระมาจำพรรษาเช่นเดิม  ต่อมาพระเหล่านั้นไม่สามารถจำพรรษาอยู่ได้โดยไม่ทราบสาเหตุ  จึงต้องกลายเป็นวัดร้างอีกครั้งหนึ่ง  ศาลาที่สร้างก็ผุพังลงไปตามกาลเวลาเหลือไว้แต่พระทั้งสามองค์


        ปี พ.ศ.2495 มีคนจีนได้มาบนบานให้ลูกชายที่หายไปได้กลับคืนมา จะสร้างศาลาหลังใหม่ให้และเมื่อได้สมปรารถนาแล้ว ชาวจีนนั้นก็สร้างศาลาหลังใหม่ด้วยไม้หลุมพอ หลังคาสังกะสี


        ปี พ.ศ.2504 เกิดพายุใหญ่พัดศาลานั้นพังลงมา  โดยปลายเสาทั้ง 4 ต้น  ล้มลงมาทุบองค์พระทั้งสามจนแตกละเอียด  โดยก่อนเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว  ชาวบ้านได้ฝันว่าพระท่านจะไม่อยู่แล้ว เพราะชาวบ้านไม่เอาใจใส่


        ต่อมา พ.ศ.2505  นายลอย  เทพไชย  ศึกษาธิการอำเภอเทพา ได้ชักชวนชาวบ้านบริจาคเงินทอง เพื่อบูรณะพระทั้งสามองค์ใหม่  โดยนำเศษผงองค์พระเดิมที่แตกละเอียดมาบรรจุลงในพระที่สร้างขึ้นใหม่  ซึ่งมีโครงสร้างเป็นเหล็ก และทำขึ้นด้วยคอนกรีต   โดยการปั้นของนายอุดม มัชฌิมาภิโร  และทาด้วยสีโมเสด  มองดูเหมือนพระเนื้อสามกษัตริย์  พร้อมทั้งสร้างศาลาเป็นที่ประดิษฐานขึ้นอีกครั้ง


        ด้วยความศักดิ์สิทธิ์ของพระสามองค์นั้นมีมาก  โดยเฉพาะชาวจีนมีความเชื่อถือมาก  โดยได้มีการบวงสรวงสักการะเป็นประจำทุกปี ต่อมานายบังยัง   แซ่แต้  ได้บริจาคเงินบูรณะตกแต่งใหม่อีกครั้ง  และในสมัยนายจบ  พลฤทธิ์  เป็นศึกษาธิการอำเภอเทพา  ท่านได้สร้าง พระจีนพระสำนักวัดสังกะจายอีกรูปหนึ่ง  ประดิษฐานในวิหารเดียวกัน


        พระสามองค์จึงเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของเทพามาจวบถึงทุกวันนี้ ในเดือนเมษายนของทุกปี ประชาชนชาวอำเภอเทพา และอำเภอใกล้เคียงจะร่วมกันสรงน้ำ และเปลี่ยนผ้าให้พระสามองค์เป็นประจำ จนกลายเป็นประเพณี ซึ่งเรียกว่า ประเพณีเปลี่ยนผ้าพระสามองค์ ”  ซึ่งจะจัดขึ้นใน  วันที่ 9 เมษายน ของทุกปี

 

 

 

สิ่งอำนวยความสะดวก :


 

 

วันเปิดทำการ :  ทุกวัน
 

 

ข้อมูลการติดต่อ :

    ม.ต.เทพา  อ.เทพา  จ.สงขลา  

 

 

 

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com