ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลควนโส อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา
ข้อมูลทั่วไป
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทประวัติศาสตร์ และศาสนา
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
อาหารและเครื่องดื่ม
ศิลปะหัตถกรรม
กลุ่มอาชีพ / สินค้า
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

วัดควนโส
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

วัดควนโส 
ขึ้นเป็นวัดนับตั่งแต่วันที่6 มีนาคม 2210 สมัยพระนารายณ์ แห่งกรุงศรีอยุธยา เป็นวัดที่สองของอำเภอรัตภูมิในสมัยนั้น วัดควนโสได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาประมาณ พศ.2315


รายละเอียดประวัติความเป็นมาตำบลควนโส
ชื่อควนโส เดิมชื่อว่า “ควนสูง” ซึ่งเป็นชื่อที่ผู้พบเห็นใช้เรียกกันต่อมาตั้งสูงเด่นอยู่ทางทิศตะวันตกของทะเลสาบสงขลาสามารถมองเห็นได้ชัดขณะเดินทางผ่านด้วยทางเรือ 
สภาพควนสูงแห่งนี้เป็นป่าดึกดำบรรพที่มีพันธุ์ไม้ตะเคียนขึ้นอยู่หนาแน่นเป็นที่อยู่อาศัยของกระจง ฯลฯ มีที่ราบทางทิศเหนือที่อุดมสมบูรณ์ และมีลำคลองขนาดใหญ่ไหลออกสู่ทะเลสาบสงขลาเหมาะเป็นอย่างยิ่งในการใช้เป็นเส้นทางคมนาคม ทำการเกษตรและตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนแต่เดิมตลาดนัดหน้าวัดควนโส เป็นตลาดที่มีชื่อเสียงมากในสมัยนั้น พอ ๆ กับตลาดนัดกรอบของตำบลรัตภูมิ(บ้านควนเนียง)


มีเรื่องว่า เดิมบริเวณรอบควนสูงแห่งนี้ ไม่ค่อยมีผู้คนอาศัยอยู่ มีพระภิกษุรูปหนึ่งเดินทางมาจากบ้านจะนะเพื่อหาสถานที่สงบเงียบบำเพ็ญเพียรภาวนา และได้พำนักอยู่ในควนสูงนี้เป็นเวลานานหลายปี หลังเสร็จบำเพ็ญเพียรภาวนา ก็เดินทางกลับบ้านที่จะนะ พร้อมกับนำเรื่องความอุดมสมบูรณ์ของควนสูงและที่ราบทางด้านทิศเหนือไปเล่าให้ชาวบ้านจะนะฟังทำให้ชาวบ้านที่สนใจบ้างส่วนพร้อมที่จะย้ายถิ่นฐานมาอาศัยอยู่ในที่ราบดังกล่าว จึงได้นิมนต์พระภิกษุรูปดังกล่าวให้นำพวกตนเดินทางจากจะนะโดยใช้ช้างเป็นพาหนะมาตั้งถิ่นฐาน ณ บริเวณพื้นราบด้านทิศเหนือของควนสูงพร้อมกันนั้นได้นิมนต์พระธุดงค์ให้จำพรรษา ณ สำนักสงฆ์ที่สร้างขึ้น (ในปัจจุบันคือวัดควนโส) นับได้ว่าชุมชนแรกที่มาตั้งถิ่นฐานอยู่ คือพวกที่มาจากบ้านจะนะ เรียกว่าบ้านควนสูง ในระยะต่อมาถูกเรียกเพี้ยนเป็นบ้านควนโส จนติดปากมาจนถึงวันนี้ จากความอุดมสมบูรณ์ของบริเวณรอบ ๆ ควนสูงนี้ ทำให้ผู้คนจากชุมชนใกล้ ๆ อพยพมาตั้งถิ่นฐานใกล้เคียงชุมชนบ้านควนโสมากขึ้น เช่น บ้านเกาขาม บ้านผลุ้ง บ้านนาลิง บ้านโคกทราย บ้านบ่อหว้า บ้านปากจ่า บ้านท่าม่วง และมีการติดต่อระหว่างชุมชนมากขึ้น แต่ละชุมชนเริ่มมีประชากรมากขึ้น ทางราชการจึงแต่งตั้งผู้ปกครองชุมชนมีหน้าที่ดูแลทุกข์สุขของประชาชน จัดเก็บภาษี และเกณฑ์คนในชุมชนทำนาเพื่อเก็บผลผลิตส่งให้ทางราชการเพื่อเป็นเสบียงต่อไป แต่ละชุมชนมีการปกครองตนเองไม่ขึ้นต่อกันก่อน พ.ศ. 2435 ทางราชการได้จัดระเบียบการบริหารใหม่ เพื่อให้สะดวกในการปกครองการจัดเก็บภาษี โดยมีการรวบรวมชุมชนต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงกันขึ้นเป็นหน่วยการปกครองระดับตำบล ชุมชนเล็ก ๆ เหล่านี้ที่ตั้งบริเวณรอบ ๆ ควนสูง ได้ถูกรวบรวมเข้าเป็นตำบลเดียวกัน เรียกว่า ตำบลควนโส ทางราชการจึงแต่งตั้งข้าราชการจากจังหวัดมาปกครองดูแลตำบล กำหนดให้ตำบลควนโสขึ้นตรงกับการปกครองของอำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง


หลวงกัลยา กับยาศิริ (ต้นตระกูลกัลยาศิริ) เป็นข้าราชการคนแรกที่ได้รับการแต่งตั้งให้มาปกครองดูแลตำบลควนโส โดยได้รับค่าตอบแทนเป็นเบี้ยหวัด และมีศักดินาเป็นที่นามากมาย เพื่อความสะดวกในการเกณฑ์คนไปทำนา หลวงกัลยา จึงได้สร้างที่พักของตนเอง และคนงานบนที่ดอนริมคลองควนโสหลายหลังชาวบ้านเรียกที่พักเหล่านี้ว่า ทำเนียบ (ปัจจุบันที่สร้างทำเนียบ คือ หมู่บ้านทำเนียบ ตั้งอยู่ หมู่ที่ 3)


หลวงกัลยา ต้องย้ายครอบครัวมาตั้งเป็นหลักแหล่งอยู่ที่บ้านหลา (ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ต.ควนโส) มีบรรดาบริวารหลายคนหลวงกัลยา นอกจากทำหน้าที่ดูแลทุกข์สุขของประชาชนในตำบลควนโสแล้ว ยังทำหน้าที่เก็บรวบรวมภาษีและเกณฑ์คนไปทำนาหลวง (ปัจจุบันนาหลวง เป็นที่นาที่เป็นกรรมสิทธิ์ของชาวบ้านหมู่ที่ 3 ต.ควนโส) เพื่อนำผลผลิตข้าวที่ได้จาการทำนาหลวงเป็นราชการ ในหน้าน้ำหลากโดยทางเรือแจวขนาดใหญ่ผ่านคลองควนโส ออกสู่ทะเลสาบสงขลาที่บ้านปากจ่าไปยังอำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง เมื่อ พ.ศ. 2435 ตำลบควนโสได้เปลี่ยนมาขึ้นกับการปกครองของอำเภอรัฐภูมี จังหวัดพัทลุง ซึ่งที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่ที่บ้านปากบางภูมี พ.ศ. 2566 ได้ย้ายอำเภอ จากบ้านปากบางภูมี ไปตั้งที่บ้านกำแพงเพชร และได้เปลี่ยนชื่อจาก อำเภอรัฐภูมี เป็นอำเภอรัตภูมิ ขึ้นกับจังหวัดพัทลุง พ.ศ. 2509 อำเภอรัตภูมิได้ขึ้นอยู่กับการปกครองของจังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2528 กระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศยกฐานะ ตำบลรัตภูมิ ตำบลบางเหรียง ตำบลควนโส ตำบลห้วยลึก เดิมขึ้นอยู่กับการปกครองของอำเภอรัตภูมิ เป็นกิ่งอำเภอควนเนียง และเปลี่ยนเป็นอำเภอควนเนียงจนทุกวันนี้

 

 

วันเปิดทำการ :  ทุกวัน
 

 

ข้อมูลการติดต่อ :


 

 

เดินทางอย่างไร :

 

(ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ จาก https://sites.google.com/site/kasempamanee146/wan-thi-michux-seiyng)

 

 

แผนที่ : 

ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น
 

 

 

 

เส้นทางการเดินทางท่องเที่ยว / สถานที่ท่องเที่ยวที่อยู่ใกล้เคียง :

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com