ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา
ข้อมูลทั่วไป
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทธรรมชาติ
ประเภทประวัติศาสตร์ และศาสนา
โรงแรม / ที่พัก
โรงแรม รีสอร์ท และสปา
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
อาหารและเครื่องดื่ม
ธุรกิจขนาดกลาง/ ขนาดย่อม
กลุ่มอาชีพ / สินค้า
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

วัดป่ากันตะพงษ์
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

ต้นไม้นับแสนต้น บนพื้นที่ 45 ไร่ ทำให้ “วัดป่ากันตพงษ์” ดูร่มครึ้มเหมือนผืนป่าขนาดใหญ่ มากกว่าจะเป็นสถานที่ตั้งของวัด ซึ่งชาวบ้านบางเหรียงและประชาชนทั่วสารทิศหลั่งไหลเข้ามาปฏิบัติธรรม
สองฟากทางเข้าวัดแห่งนี้ มีต้นไม้สูงใหญ่เบียดล้อมเรียงรายบดบังแสงอาทิตย์ที่ส่องลงพื้นล่าง ทำให้เกิดความร่มรื่นไปตลอดทาง ภายในวัดก็เช่นกัน ต้นไม้เล็กใหญ่ปะปนอยู่เต็มพื้นที่อย่างเป็นระเบียบ มีสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นศาลา ห้องสมุด กุฏิ โรงครัว ที่พักหลังเล็กๆ แทรกตัวอยู่อย่างกลมกลืน 

พระปลัดสมศักดิ์ ตุลิตธมฺโม (ลัพกิตโร) เจ้าอาวาสวัดป่ากันตพงษ์ เล่าถึงความเป็นมาของวัดแห่งนี้ว่า ผืนป่าที่ตั้งวัด เป็นของครูยี้ กันตพงษ์ ท่านศึกษาทางพระจนได้นักธรรมเอก จึงสึกออกมาเป็นครู ท่านมาซื้อที่ดินซึ่งเป็นป่าผืนใหญ่ในหมู่ 8 บ้านเกาะใหญ่ ต.บางเหรียง อ.ควนเนียง จ.สงขลา จำนวน 50 ไร่ ในราคา 50 บาท เพื่อทำเป็นป่าช้า เพราะเห็นว่าคนแถวนี้ เวลาตายต้องนำไปเผาที่วัดซึ่งอยู่ไกลมาก เมื่อซื้อที่แล้วครูยี้ได้ชักชวนคนไกลๆ มาอยู่ด้วย โดยแบ่งที่ดินข้างๆ ให้ไปประมาณ 4-5 ไร่
แม้ครูยี้จะไม่ได้บวชเป็นพระ แต่ก็อยู่ในผ้าขาว ต่อมาครูยี้ได้ชักชวนผู้หญิงมาบวชเป็นชี ประมาณ 30-40 คน และตั้งเป็นสำนักสงฆ์ ชื่อว่า “สำนักสงฆ์นารีกันตพงษ์”เมื่อ 50 ปีที่แล้ว และด้วยความคิดที่ว่าในวันข้างหน้า หากแก่เฒ่าจะอยู่กันอย่างไร ครูยี้จึงนำเหล่าแม่ชีถางป่าเพื่อปลูกยาง และมะพร้าว ทำให้ที่ดินตรงนี้กลายเป็นสวนยาง สวนมะพร้าว ขึ้นมา
ก่อนครูยี้จะตายได้ฝากสำนักสงฆ์แห่งนี้ไว้กับเจ้าคณะตำบล วัดแสงอรุณ เจ้าคณะตำบลได้ส่งพระมาดูแล จนมีการก่อสร้างวัดขึ้น ซึ่งครูยี้ได้เขียนไว้ว่า หากใครมาดูแลพื้นที่นี้ต่อให้ตั้งเป็นวัด และมีนามสกุลของข้าพเจ้าเป็นชื่อด้วย พอตั้งเป็นวัด จึงตั้งชื่อว่า “วัดป่ากันตพงษ์”

ปี 2529 เมื่อพระปลัดสมศักดิ์ ธุดงค์มาทางภาคใต้เพื่อเยี่ยมบ้าน มาพบวัดป่ากันตพงษ์ รู้สึกสงบและร่มรื่น จึงได้มาอยู่ดูแลวัด โดยนำต้นกระถินณรงค์มาปลูก และปล่อยต้นไม้ในสวนยางให้เติบโตขึ้น ปลูกต้นตะเคียนแทนต้นมะพร้าว และต่อมาเมื่อประชาชนเกิดศรัทธา ประกอบการทางกรมประชาสัมพันธ์เขต 6 และนายปรีชา ทรัพย์โสภา ผู้อ่านข่าวชื่อดัง ได้ช่วยประชาสัมพันธ์ ทำให้มีประชาชนเดินทางมาช่วยกันปลูกต้นไม้เพิ่มมากขึ้น จนปัจจุบันวัดแห่งนี้มีต้นไม้รายรอบอยู่นับแสนต้น และในอีก 6 เดือนข้างหน้า วัดป่ากันตพงษ์จะมีโบสถ์แห่งใหม่ ซึ่งขณะนี้กำลังก่อสร้างอยู่ 

“ที่นี่เป็นสำนักวิปัสสนา ซึ่งเป็นสาขาที่ 108 ของวัดหนองป่าพงษ์ จึงเป็นวัดที่อยู่กันเงียบๆ ช่วงหลังปี 2533-2534 อาตมาได้เกิดความคิดใหม่ ให้ประชาชนเข้ามาสนใจธรรมะมากขึ้น จึงเริ่มทำการบวชเณรฤดูร้อน ปีแรก มาผู้เข้าร่วม 36 คน พอเณรสึก ก็ชักชวนพ่อแม่ของเณรให้มาปฏิบัติธรรม บุคคลเหล่านี้ได้บอกต่อๆ กันไป ทำให้ปีหลังๆ มีผู้มาบวชเณรฤดูร้อนมากขึ้น รวมทั้งมีผู้เข้าร่วมการปฏิบัติธรรมมากขึ้นเช่นกัน เพราะพ่อแม่บางคนเป็นครู เป็นข้าราชการ จึงนำนักเรียนมาเข้าค่าย ซึ่งเรามีรูปแบบในการเข้าค่าย ชื่อว่าการเข้าค่ายพุทธบุตร ปัจจุบันเป็นโครงการครอบครัวอบอุ่นโดยพระธรรม เราพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ” 

จากการที่ผู้คนหันมาสนใจธรรมะมากขึ้น ทำให้มีผู้เดินทางมาวัดป่ากันตพงษ์ทุกวัน จนไม่สามารถรองรับจำนวนผู้มีปฏิบัติธรรม และบวชเณรได้ แต่ด้วยจิตศรัทธาของชาวบ้านคล้องช้าง หมู่ 9 ต.บางเหรียงได้มอบที่ดินจำนวนหลายไร่ ซึ่งอยู่ห่างจากวัดป่ากันตพงษ์ 6 กิโลเมตร เพื่อรองรับผู้ปฏิบัติธรรม 

 

 

เดินทางอย่างไร :

 

(ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก http://www.thaisouthtoday.com/)

 

 

แผนที่ : 

ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น
 

 

 

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com