ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ข้อมูลทั่วไป
เส้นทางท่องเที่ยวโดยนักวิจัย
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทประวัติศาสตร์ และศาสนา
ประเภทศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี
การท่องเที่ยวโดยชุมชน
สันทนาการและการบันเทิง
สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ
การท่องเที่ยวกลางคืน
การท่องเที่ยวเชิงเกษตร
เส้นทางท่องเที่ยวโดยทัวร์อื่นๆ
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
รายชื่อมัสยิด
โรงแรม / ที่พัก
โรงแรม รีสอร์ท และสปา
คอนโด อพาร์ทเม้นต์ และแมนชั่น
ร้านอาหาร
ร้านอาหาร
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
อาหารและเครื่องดื่ม
สิ่งอำนวยความสะดวก
สถานีตำรวจ
โรงพยาบาล
บริษัททัวร์
สายการบิน
ททท.สำนักงานจังหวัด
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

มูลนิธิท่งเซียเซี่ยงตึ้ง
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

ประวัติของมูลนิธิท่งเซียเซี่ยงตึ้ง หาดใหญ่

พ่อท่านคล้ายได้เข้าพิธีพุทธาภิเษกเหรียญพิมพ์หลังหนังสือจีน ที่มูลนิธิท่งเซียงตึ๊ง หาดใหญ่ จ.สงขลา มีคณาจารย์ร่วมอธิษฐานจิตคือ พ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน, หลวงพ่อปลอด วัดหัวป่า, หลวงปู่สงค์ วัดปากบางและหลวงพ่อร่วง ศาลาโพธิ์ พร้อมคณาจารย์ มหานิกาย รวม ๑๙ รูป, คณาจารย์จีนนิกายมหายานจากวัดฉื่อฉางและวัดเล่งเน่ยยี่ ๑๙ รูป

เมื่อปีพ.ศ.๒๔๙๔-๒๔๙๕ เมืองหาดใหญ่เป็นเมืองที่เจริญทางการค้าและเศรษฐกิจ ในสมัยนั้นบริเวณมูลนิธิยังคงเป็นสวนยาง สวนผักและป่า และได้มีการรวมตัวกันของชาวจีนแต้จิ๋วกลุ่มหนึ่งตั้งชมรมดนตรีจีนขึ้นมาชื่อว่า “เตี่ยเซียอิมเหง่าเสีย” นำโดยนายบุญฮ่วน แซ่โซว(ยงเกียรติไพบูลย์) อยู่มาวันหนึ่งเพื่อนของนายบุญฮ่วน ได้ชักชวนกันไปกราบหลวงพ่อยอด วัดอ่าวบัว ที่ อ.ระโนด จ.สงขลา ระหว่างการเดินทาง(ในสมัยนั้นต้องนั่งเรื่อจากสงขลาเป็นเวลา ๑ คืน)ได้มีชาวบ้านมารอรับนายบุญฮ่วนและเพื่อนถึงกลางน้ำ ชาวบ้านได้บอกว่าหลวงพ่อยอดให้มารับ พอนายบุญฮ่วนและเพื่อนได้พบและกราบหลวงพ่อยอดแล้ว หลวงพ่อท่านได้พูดขึ้นว่า “ฉันคอยเธอมาตั้งนานแล้ว” และได้พูดต่อไปว่า “เมื่อชาติที่แล้วเราเป็นพี่น้องกัน เคยสร้างกุศลร่วมกัน ถึงช้าไปก็ยังดี มีธุระจะฝากให้ทำต่อในวันหลัง” ต่อจากนั้นก็ได้ฟังโอวาทจากหลวงพ่อหลายอย่าง

หลังจากนั้นนายบุญฮ่วนและเพื่อนได้ชักชวนเพื่อนๆคนอื่นๆในชมรมไปกราบหลวงพ่อยอด และก็ได้ประสบพบเจอกับความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อยอดหลายประการ จนกระทั่งถึงปีพ.ศ.๒๔๙๗ หลวงพ่อเกิดอาพาธ ท่านได้แนะนำแกมขอร้องให้นายบุญฮ่วนและเพื่อนๆสร้างมูลนิธิขึ้น เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยต่างๆ ต่อมาวันที่ ๕ เมษายน ๒๔๙๗ หลวงพ่อยอดก็มรณภาพลง ต่อมานายบุญฮ่วนและเพื่อนๆจึงเริ่มหาเงินจากการรับจ้างเล่นดนตรีเพื่อเป็นทุนก่อสร้างและซื้อที่ดิน ประจวบกับในช่วงเวลานั้นนายไคเกีย แซ่เอี้ยว(เอี้ยงวงษ์เจริญ) ได้บริจาคที่ดินให้ ๑ ไร่ ๓ งาน ๖๕ ตารางวา ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการก่อตั้งมูลนิธิท่งเซียเซี่ยงตึ้ง ถึงปีพ.ศ.๒๔๙๙ เดือนมิถุนายน ชมรมเตี่ยเซียอิมเหง่าเสีย ได้เปลี่ยนชื่อเป็นคณะผู้ก่อตั้งมูลนิธิท่งเซียเซี่ยงตึ้ง ก่อนหน้านี้ได้มีการอัญเชิญหลวงปู่ไต้ฮงโจวซือ, เจ้าแม่ลิ้มโกวเนี้ย, เจ้าพ่อฮกเต็กแป๊ะกง มาประทับสถิตย์ ณ ที่ทำการก่อสร้างชั่วคราว ต่อมาปีพ.ศ.๒๕๐๑ มูลนิธิท่งเซียเซี่ยงตึ้ง หาดใหญ่ได้จดทะเบียนเป็นมูลนิธิอย่างเป็นทางการโดยชื่อจดทะเบียนว่า “มูลนิธิมิตรภาพสามัคคี หาดใหญ่” และในวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๑ ตรงกับวันขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๑ ของจีนได้เปิดป้ายมูลนิธิอย่างเป็นทางการโดยนายฉุย อนุสรณ์ราชกิจ นายอำเภอหาดใหญ่ในสมัยนั้น ทางมุลนิธิจึงถือเอาวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ เป็นวันครบรอบปี

มูลนิธิท่งเซียเซี่ยงตึ๊ง ถือเป็นอีกสถานที่สำคัญอีกที่หนึ่งของเมืองหาดใหญ่ก็ว่าได้ จะมีทั้งคนหาดใหญ่และนักท่องเที่ยวมาไหว้พระขอพรจากสิ่งศักสิทธิ์กันเป็นประจำ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียผมเห็นเป็นประจำ และสถานที่แห่งนี้ยังเป็นสถานที่จัดงานเวลามีงานเทศการต่างๆ เช่น ตรุษจีน เทศกาลถือศีลกินเจ เป็นต้น ครับ และยังได้ประกอบพิธีลุยไฟ เข้าทรง แห่พระ ต่างๆอีกด้วย ถือว่าเป็นอีกหนึ่งสถานที่ศักสิทธิ์ของชาวหาดใหญ่ และยังมีสำนักงานที่รับเรื่องภายในสำหรับบริจาคค่าอาหารและยา และบริจาคโรงศพด้วย โดยส่วนใหญ่จะมีนักท่องเที่ยวมาบริจาคกันมากมาย



 

 

เวลาเปิดทำการ :  ทุกวัน
 

 

ข้อมูลการติดต่อ :

    ที่อยู่: 4, ถนนศุภสารรังสรรค์, ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110
    โทรศัพท์:074 350 955
    ----------------------
    ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจากเว็บไซต์ http://www.bloggang.com , http://www.พ่อท่านคล้าย.com และ https://www.kinaddhatyai.com

 

 

แผนที่ : 
 

 

 

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com