ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลปาล์มพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล
ข้อมูลทั่วไป
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทธรรมชาติ
การท่องเที่ยวโดยชุมชน
สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ
เส้นทางท่องเที่ยวโดยทัวร์อื่นๆ
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
รายชื่อมัสยิด
โรงแรม / ที่พัก
โฮมสเตย์
โรงแรม รีสอร์ท และสปา
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
อาหารและเครื่องดื่ม
ศิลปะหัตถกรรม
กลุ่มอาชีพ / สินค้า
สิ่งอำนวยความสะดวก
สถานีตำรวจ
บริษัททัวร์
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

ถ้ำเจ็ดคต
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

ถ้ำเจ็ดคต  เป็นที่เที่ยวที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ตำบลปาล์มพัฒนา กิ่งอ.มะนัง ห่างจากหน่วยพิทักษ์ป่าวังสายทอง 3 กม. ลักษณะถ้ำคดเคี้ยวและทะลุผ่านภูเขา มีลำธารไหลผ่านภายในถ้ำ สามารถล่องเรือภายในถ้ำได้ตลอดระยะทางเพื่อชมธรรมชาติและหินย้อย


ถ้ำเจ็ดคต หรือ “ถ้ำสัตคูหา” ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ตำบลปาล์มพัฒนา กิ่งอ.มะนัง ห่างจากหน่วยพิทักษ์ป่าวังสายทอง 3 กม. ลักษณะถ้ำคดเคี้ยวและทะลุผ่านภูเขา มีลำธารไหลผ่านภายในถ้ำ สามารถล่องเรือภายในถ้ำได้ตลอดระยะทางเพื่อชมธรรมชาติและหินย้อย มีหาดทรายขาวระยิบระยับภายในถ้ำบริเวณมุมที่คดเคี้ยว คล้ายกับเพชรที่โปรยไว้ที่หาดทราย บริเวณหาดทรายสามารถกางเต็นท์ได้ มีลมพัดเบาๆ และอากาศเย็นสบาย ไม่อับชื้น

ถ้ำเจ็ดคตมีความกว้าง 70-80 เมตร ยาวประมาณ 600 เมตร แบ่งออกเป็น 7 ช่วงหรือคูหา บางช่วงมีความสูงของเพดานถ้ำ 100-200 เมตร มีลำคลองไหลผ่านในถ้ำ คือ คลองมะนัง ต้นน้ำเกิดจากถ้ำโตน อยู่ทางเหนือของถ้ำป่าพน อำเภอมะนัง คลองมะนังไหลออกปากถ้ำไปบรรจบกับคลองละงู ซึ่งมีต้นน้ำเกิดจากภูเขาในจังหวัดตรัง

ภายในถ้ำซึ่งแบ่งเป็น 7 ช่วง มีบรรยากาศแตกต่างกัน ลำคลองไหลไปตามความคดเคี้ยวของตัวถ้ำ สายน้ำจึงมีความตื้นลึกไม่เท่ากัน ในช่วงหน้าแล้ง น้ำลึกแค่ท่วมข้อเท้า เดินลุยไปได้อย่างสบาย บางตอนอาจลึกเกิน 5 เมตร ช่วงหน้าฝน น้ำหลาก จะเดินทางเข้าไปได้ค่อนข้างยาก นักท่องเที่ยวต้องเดินลัดเลาะไปตามริมผนังถ้ำ เดินลุยน้ำ บางตอนเป็นหาดทรายผสมกรวดบ้าง บางคูหามีพื้นที่เป็นโคลนเลน ต้องระมัดระวังในการเดินเป็นพิเศษควรมีไฟฉายติดตัวไปด้วย

บรรยากาศในถ้ำเงียบสงัด แทรกด้วยเสียงน้ำไหลสลับกับเสียงลุยน้ำและเสียงสนทนาจากผู้มาเยือนเป็นระยะ ๆ สิ่งที่เรียกเสียงอุทานด้วยความพึงพอใจจากนักท่องเที่ยวทั่วหน้าก็คือ ดวงตาวาววับล้อแสงไฟที่ส่องไปกระทบของกลุ่มค้างคาวที่เกาะตัวอยู่บนเพดาน ถ้ำ ดูราวกับกลุ่มดาวเคราะห์บนฟากฟ้าอันไกลโพ้น มีหินงอกหินย้อยอยู่ทั่วไป ก่อเกิดจินตนาการที่กว้างไกลแก่ผู้พบเห็น เมื่อเดินทางถึงคดสุดท้ายหรือคดที่เจ็ดมีลำแสงส่องจากปากถ้ำ เหมือนแสงแห่งชัยชนะมอบให้นักท่องเที่ยวที่เดินทางถึงคูหาสุดท้ายใช้เวลาใน การลัดเลาะไปตามผนังถ้ำลุยน้ำ ชมธรรมชาติประมาณ 30 นาที

ถ้ำเจ็ดคตมีลักษณะพิเศษ แตกต่างจากถ้ำอื่น ๆ มีลำคลองลอดถ้ำ คดเคี้ยวไปตามลักษณะธรรมชาติของตัวถ้ำมีถึง 7 คูหา เป็นที่มาของชื่อถ้ำแห่งนี้ มีผู้ตั้งชื่อใหม่ว่า “ถ้ำสัตคูหา” พร้อมตั้งชื่อของแต่ละคูหา ดังนี้

  • คูหาที่ 1 เรียกว่า “สาวยิ้ม” ผนังถ้ำมีสีเขียวมรกตมีหินงอกหินย้อยอยู่หน้าถ้ำ
  • คูหาที่ 2 เรียกว่า “นางคอย” มีหินงอก หินย้อย สวยงาม และฝูงค้างคาวจำนวนมาก
  • คูหาที่ 3 เรียกว่า “เพชรร่วง” ส่วนบนของผนังถ้ำมีช่อง ให้แสงอาทิตย์ส่องลอดลงมาได้ เมื่อแสงอาทิตย์กระทบกับผนังถ้ำจึงเกิดประกายแวววาวเหมือนเพชร
  • คูหาที่ 4 เรียกว่า “เจดีย์สามยอด” พื้นทางเดินเป็นหิน ลักษณะคล้ายดอกกุหลาบ
  • คูหาที่ 5 เรียกว่า “ น้ำทิพย์” ตามผนังถ้ำเป็นหินย้อยสีขาว และน้ำตาล เป็นหลืบซ้อนกันมองดูคล้ายผ้าม่าน
  • คูหาที่ 6 เรียกว่า “ ฉัตรทอง” มีหินงอก หินย้อยซ้อนเหลื่อมกันเป็นชั้นเสมือนฉัตร
  • คูหาที่ 7 เรียกว่า “ ส่องนภา” ภายในมีหินงอก หินย้อย รูปทรงคล้ายดอกบัวคว่ำ

 

 

วันเปิดทำการ :  ทุกวัน
 

 

เวลาเปิดทำการ :  08.30 - 16.30
 

 

ข้อมูลการติดต่อ :

     ถ้ำเจ็ดคต หมู่ 5 ตำบลปาล์มพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล
    Tel. +66 7521 5867, +66 7521 1058

 

 

 

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com