ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลโฆษิต อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ข้อมูลทั่วไป
สถานที่ท่องเที่ยว
โครงการหลวง/โครงการในพระราชดำริ
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
รายชื่อมัสยิด
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
อาหารและเครื่องดื่ม
กลุ่มอาชีพ / สินค้า
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

โครงการศิลปาชีพบ้านปศุสัตว์-เกษตรมูโนะ ตำบลโฆษิต
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

โครงการศิลปาชีพบ้านปศุสัตว์-เกษตรมูโนะ ตำบลโฆษิต อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
 
พระราชดำริ : สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ  
 
แนวพระราชดำริ :
            จากพระดำรัสในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ปลุกจิตสำนึก ปลุกจิตวิญญาณของทหารทุกนาย ให้ตระหนักถึงภาระหน้าที่ อันมิใช่เพียงการป้องกันประเทศชาติ ด้วยยุทโธปกรณ์ที่เข้มเข็งพร้อมข้อมูลเท่านั้น หากยังมีภารกิจที่ต้องช่วยบรรเทาทุกข์ยากให้กับอาณาประชาราษฎร์ ซึ่งเป็นพสกนิกรของพระเจ้าแผ่นดินจนสุดความสามารถ เพื่อประโยชน์อันถาวรของประเทศชาติและประชาชนสืบไป โดยใช้กำลัง ปัญญา ความรู้ ความสามารถของกำลังพล เครื่องมือ เครื่องใช้ทั้งมวลมาพัฒนาชุมชน โดย “โครงการศิลปาชีพบ้านปศุสัตว์-เกษตรมูโนะ” ได้สนองพระราชดำรัสโดยนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาปรับใช้ในการพัฒนากองทัพ และการพัฒนาในพื้นที่ที่รับผิดชอบ  
          เมื่อปี พ.ศ. 2520 กรมชลประทานได้ขุดคลองมูโนะอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ทำให้พื้นที่ฝั่งขวาของคลองมูโนะระหว่างคลองกับถนนทางหลวงสายตากใบ-สุไหงโกลก ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 7,000 ไร่ จากเดิมเป็นพรุ น้ำท่วมขังตลอดทั้งปี หลังจากที่ทำการขุดคลองแล้ว ทำให้น้ำในพรุแห้ง สามารถใช้ประโยชน์ได้
           เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2526 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริ กับ พล.ท.วันชัย จิตต์จำนงค์ แม่ทัพภาคที่ 4(เป็นยศและตำแหน่งในขณะนั้น)ที่พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ ให้จัดตั้งหมู่บ้านปศุสัตว์-เกษตรมูโนะ ขึ้นที่ หมู่ที่ 4บ้านโคกไทร ตำบลโฆษิต อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส โดยมีราษฎรจำนวน 100 ครอบครัว ในพื้นที่ประมาณ 1,500 ไร่ และจัดสรรที่ดินให้แก่สมาชิก ครอบครัวละ 3 ไร่ ที่เหลือเป็นทุ่งหญ้าสำหรับเลี้ยงสัตว์ของแต่ละครอบครัวประมาณ 10ตัว ซึ่งสมาชิกแต่ละครอบครัวมีรายได้หลักจากการเลี้ยงสัตว์ ส่วนรายได้จากการเกษตรเป็นรายได้เสริม สมาชิกของหมู่บ้านไม่มีกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของที่ดิน แต่มีสิทธิ์ทำกินในพื้นที่นี้ตลอดไป ตามกฎระเบียบของหมู่บ้านที่กำหนดไว้
 
ที่ตั้งของโครงการ : บ้านโคกไทร หมู่ที่ 4 ตำบลโฆษิต อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
 
วัตถุประสงค์โครงการ :    
           1. เพื่อจัดหาที่อยู่อาศัยและที่ทำกินให้กับราษฎรที่เดือดร้อน โดยมีอาชีพหลักในการปศุสัตว์และอาชีพเสริมในด้านการเกษตร 
           2. เพื่อให้ส่วนราชการต่างๆ ร่วมกันให้คำแนะนำ และสนับสนุนสมาชิกของโครงการฯ ในการพัฒนาพื้นที่ให้สมาชิกใช้ประโยชน์ และมีรายได้เลี้ยงครอบครัว 
            3. เพื่อเป็นตัวอย่างในการปรับปรุงพื้นที่เพื่อการเกษตรและทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ 
            4. เพื่อเป็นการปรับปรุงดินที่มีสภาพเป็นกรดให้มีคุณภาพดี โดยใช้น้ำจืดชะล้างดินเพื่อจะได้ทำการเกษตรได้ 
            5. ปรับปรุงคุณภาพน้ำในพื้นที่โครงการฯ โดยการระบายน้ำเปรี้ยวออกและนำน้ำจืดเข้าไปแทนที่ เพื่อให้สามารถเลี้ยงปลาและทำการเกษตรได้
 
หน่วยงานผู้ดำเนินงาน /หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง :  
            - กองพันพัฒนาที่ 4 จัดเจ้าหน้าที่ชุดประสานงานโครงการ 26 นาย ประกอบด้วย นายทหารสัญญาบัตร นายทหารประทวน พลทหาร
 
ลักษณะโครงการ :      
            การจัดตั้งกลุ่มอาชีพ มีดังนี้ กลุ่มเลี้ยงโค กลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ กลุ่มเลี้ยงปลา กลุ่มร้านค้าชุมชน กลุ่มผลิตปุ๋ยชีวภาพ กลุ่มทำนาข้าว ปัจจุบันมีสมาชิกในโครงการหมู่บ้านปศุสัตว์-เกษตรมูโนะ ทั้งหมด 37 ครอบครัว มีพื้นที่อยู่อาศัยทำกิน ครอบครัวละ 3 ไร่ และพื้นที่ทำกินจัดสรรเพิ่มให้สมาชิกอีก 3 ไร่ โดยมีการทำกิจกรรมทางด้านการเกษตรและปศุสัตว์หมุนเวียนกันตลอดทั้งปี รายได้เฉลี่ยประมาณ 45,000–60,000 บาท ต่อปีต่อครอบครัว
 
ผู้ได้รับประโยชน์ : ราษฎรบ้านโคกไทร หมู่ที่ 4 ตำบลโฆษิต อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
 
ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ :  
            จัดหาที่อยู่อาศัยและที่ทำกินให้กับราษฎรที่เดือดร้อน โดยมีอาชีพหลักในการปศุสัตว์และอาชีพเสริมในด้านการเกษตร ให้ส่วนราชการต่างๆ ร่วมกันให้คำแนะนำ และสนับสนุนสมาชิกของโครงการฯ ในการพัฒนาพื้นที่ให้สมาชิกใช้ประโยชน์ และมีรายได้เลี้ยงครอบครัว เป็นตัวอย่างในการปรับปรุงพื้นที่เพื่อการเกษตร และทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ เพื่อเป็นการปรับปรุงดินที่มีสภาพเป็นกรดให้มีคุณภาพดี โดยใช้น้ำจืดชะล้างดินเพื่อจะได้ทำการเกษตรได้ ปรับปรุงคุณภาพน้ำในพื้นที่โครงการฯ โดยการระบายน้ำเปรี้ยวออกและนำน้ำจืดเข้าไปแทนที่ เพื่อให้สามารถเลี้ยงปลาและทำการเกษตรได้ 
             เมื่อปี พ.ศ.2520 กรมชลประทานได้ขุดคลองมูโนะ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ทำให้พื้นที่ฝั่งขวาของคลองมูโนะระหว่างคลองกับถนนทางหลวงสายตากใบ-สุไหงโกลก ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 7,000 ไร่ จากเดิมเป็นพรุน้ำท่วมขังตลอดทั้งปี หลังจากที่ทำการขุดคลองแล้วทำให้น้ำในพรุแห้ง สามารถใช้ประโยชน์ได้ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2526 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริ กับ พล.ท.วันชัย จิตต์จำนงค์ แม่ทัพภาคที่ 4 (เป็นยศและตำแหน่งในขณะนั้น) ที่พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ ให้จัดตั้งหมู่บ้านปศุสัตว์-เกษตรมูโนะ ขึ้นที่ หมู่ที่ 4 บ้านโคกไทร ตำบลโฆษิต อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส โดยมีราษฎรจำนวน 100 ครอบครัว ในพื้นที่ประมาณ 1,500 ไร่ และจัดสรรที่ดินให้แก่สมาชิก ครอบครัวละ 3 ไร่ ที่เหลือเป็นทุ่งหญ้าสำหรับเลี้ยงสัตว์ของแต่ละครอบครัวประมาณ 10ตัว ซึ่งสมาชิกแต่ครอบครัวมีรายได้หลักจากการเลี้ยงสัตว์ ส่วนรายได้จากการเกษตรเป็นรายได้เสริม สมาชิกของหมู่บ้านไม่มีกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของที่ดิน แต่มีสิทธิ์ทำกินในพื้นที่นี้ตลอดไป ตามกฎระเบียบของหมู่บ้านที่กำหนดไว้ โดยมีพื้นที่โครงการฯ ดังนี้  
       พื้นที่ที่ 1 ที่ทำการชุดโครงการฯ, อาคารศิลปาชีพ, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก, ศาลารวมใจ
       พื้นที่ที่ 2 คอกปศุสัตว์รวม
       พื้นที่ที่ 3 ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์รวม
       พื้นที่ที่ 4 บ้านและที่ทำกินสมาชิก
       พื้นที่ที่ 5 ประปาหมู่บ้าน
       พื้นที่ที่ 6 พื้นที่ปลูกมะพร้าวน้ำหอม
       พื้นที่ที่ 7 บ่อทดลองเลี้ยงปลาสลิด
       พื้นที่ที่ 8 พื้นที่ทำนาสมาชิก
       พื้นที่ที่ 9 พื้นที่ทำกินจัดสรรเพิ่มให้กับสมาชิก
       พื้นที่ที่ 10 พื้นที่ว่างเปล่าที่จะจัดสรรให้กับสมาชิกที่จะเข้าใหม่
   
รายละเอียดโครงการ
กิจกรรมการดำเนินการ ปัจจุบันมีจำนวนสมาชิก 155 คน ประกอบด้วย
         1. กลุ่มทอผ้า มีสมาชิก 102 คน
         2. กลุ่มจักสานย่านลิเภา มีสมาชิก 8 คน
         3. กลุ่มเซรามิกส์ มีสมาชิก 3 คน(อยู่ที่ พระตำหนักทักษิณฯ)
         4. กลุ่มแกะสลักไม้ มีสมาชิก 65 คน
         5. กลุ่มปักผ้า มีสมาชิก 32 คน
   
การจัดตั้งกลุ่มอาชีพ จำนวน 6 กลุ่ม ดังนี้
         1. กลุ่มเลี้ยงโค จำนวน 26 ราย
         2. กลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ จำนวน 28 ราย
         3. กลุ่มเลี้ยงปลา จำนวน 35 ราย
         4. กลุ่มร้านค้าชุมชน จำนวน 52 ราย
         5. กลุ่มผลิตปุ๋ยชีวภาพ จำนวน 62 ราย
         6. กลุ่มทำนาข้าว จำนวน 35 ราย
         ปัจจุบันมีสมาชิกในโครงการหมู่บ้านปศุสัตว์-เกษตรมูโนะ ทั้งหมด 37 ครอบครัว มีพื้นที่อยู่อาศัยทำกิน ครอบครัวละ 3ไร่ และพื้นที่ทำกินจัดสรรเพิ่มให้สมาชิกอีก 3 ไร่ โดยมีการทำกิจกรรมทางด้านการเกษตรและปศุสัตว์หมุนเวียนกันตลอดทั้งปี รายได้เฉลี่ยประมาณ 45,000- 60,000 บาท ต่อปีต่อครอบครัว
 
ความสำเร็จของโครงการ :  
         โครงการหมู่บ้านปศุสัตว์ - เกษตรมูโนะ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส จัดขึ้นเพื่อสาธิตการจัดการดิน น้ำ ในพื้นที่พรุเพื่อการปศุสัตว์และการเกษตร โดยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยี่ยมราษฎรและทรงมีพระราชเสาวนีย์ให้มีการปรับปรุงทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ให้ขยายต่อไป เพื่อที่จะได้เพียงพอต่อการเลี้ยงสัตว์ โดยมีการจัดทำโครงการต่าง ๆ ดังนี้ คือ โครงการปรับปรุงแปลงหญ้าเดิม โครงการส่งเสริมและขยายผลการทำแปลงพืชอาหารสัตว์แบบปราณีต โครงการสนับสนุนเกษตรกรผลิตหญ้าสดและเสบียงสัตว์จำหน่าย โครงการสาธิตการจัดการและให้อาหารโคขุน โดยใช้วัตถุดิบที่มีในท้องถิ่น ดำเนินการที่หมู่บ้านปศุสัตว์ - เกษตรมูโนะ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส 
         1. สามารถนำใช้ประโยชน์พื้นที่ดินเปรี้ยว พัฒนาปรับปรุงแปลงหญ้าเลี้ยงสัตว์
         2. เกษตรกรสามารถผลิตหญ้าสดหรือหญ้าหมัก จำหน่ายเพื่อสร้างรายได้เสริมแก่ครอบครัว
         3. เกษตรกรมีการพัฒนาอาชีพสามารถสร้างรายได้เสริมแก่ครอบครัว
         4. เกษตรกรสามารถลดต้นทุนในการผลิตและเพิ่มกำไรจากการขุนโคได้มากขึ้น
    
ผลสำเร็จการดำเนินงาน: 
             กิจกรรมที่ 1 บำรุงรักษาแปลงหญ้าเดิมของโครงการ พื้นที่ 200 ไร่ แบ่งเป็นแปลงสำหรับตัดให้สัตว์และผลิตเสบียงสัตว์ 50 ไร่ มีเกษตรกรเข้าใช้ประโยชน์จากแปลงหญ้า 30 ราย ปริมาณหญ้าสดที่ใช้ 148,000 กิโลกรัม จัดทำเสบียงสัตว์ 4,500 กิโลกรัม และแปลงสำหรับปล่อยสัตว์เข้าแทะเล็ม 150 ไร่ มีจำนวนสัตว์เข้าแทะเล็ม 200 ตัว 
            กิจกรรมที่ 2 จัดทำแปลงพืชอาหารสัตว์สวนครัว ให้เกษตรกรที่เป็นสมาชิกของโครงการ 56 ราย พื้นที่ 37 ไร่ และเกษตรกรหมู่บ้านใกล้เคียง 6 ราย พื้นที่ 5 ไร่ 
           กิจกรรมที่ 3 สนับสนุนเกษตรกรผลิตหญ้าสดและเสบียงสัตว์จำหน่าย 10 ราย ผลิตหญ้าสดได้ 1,500 กิโลกรัม มีรายได้จากการจำหน่าย 1,500 บาท 
           กิจกรรมที่ 4 สาธิตการจัดการและการให้อาหารโคขุนโดยใช้วัตถุดิบที่มีในท้องถิ่น ในเกษตรกร 5 ราย มีรายได้จากการจำหน่ายโคขุน 72,000 บาท 
           กิจกรรมที่ 5 สาธิตการใช้ประโยชน์แปลงหญ้าซิกแนลเลื้อยเลี้ยงแพะเนื้อ พื้นที่ 3 ไร่ แพะเนื้อ 30 ตัว  
ที่มาของข้อมูล :         
         - สารสนเทศโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เทิดพระเกียรติ 84 พรรษา
         - กองพันพัฒนาที่ 4


-----------------
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก http://www.anniversary.queen80th.com/index.php?option=com_content&view=article&id=150:2012-11-29-07-47-46&catid=59:2012-12-04-12-37-46&Itemid=161

 

 

แผนที่ : 
 

 

 

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com