ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลละหาร อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส
ข้อมูลทั่วไป
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทประวัติศาสตร์ และศาสนา
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
รายชื่อมัสยิด
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
ศิลปะหัตถกรรม
ธุรกิจขนาดกลาง/ ขนาดย่อม
กลุ่มอาชีพ / สินค้า
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นขุนละหาร
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

พิพิธภัณฑ์ขุนละหาร เปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 15 กรกฏาคม 2555 เป็นของเอกชนในพื้นที่ของผู้ใหญ่บ้านเอง ตั้งอยู่ที่ บ้านเลขที่ 60/4 หมู่ 7 ตำบลละหาร อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส
 
ในวันเปิดงานมีนักการเมืองชื่อดังในพื้นที่อย่าง นายมูฮัมหมัดนอร์ มะทา พร้อม พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอบต.) ร่วมเปิดพิธีด้วย
 
เหตุที่เพิ่งมาเปิดตัวในสองปีให้หลัง ผู้ใหญ่มิงอธิบายให้ฟังว่า “สองปีที่ได้ก่อตั้งมา รู้สึกว่าชาวบ้านมีความสนใจมากขึ้น วันนี้เราเองก็พร้อมแล้วที่จะประกาศให้คนรู้จักพิพิธภัณฑ์แห่งนี้มากขึ้น”
 
ของโบราณที่เก็บสะสมในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ เป็นของบิดาผู้ใหญ่มิง ที่สะสมมาตั้งแต่ช่วงบรรพบุรุษส่วนหนึ่งและเป็นของชาวบ้านที่เอามาบริจาคด้วยส่วนหนึ่ง  ในการรวบรวมจนกระทั่งสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ เป็นไปด้วยแรงกายแรงใจของตนเกือบทั้งหมดในช่วงแรก 
 
ผู้ใหญ่มิง อธิบายส่วนต่างๆของพิพิธภัณฑ์ทั้งหมดมี 6 ห้อง คือ ห้องภูมิหลัง ที่จัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องปั้นดินเผาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์สมัยลังกาสุกะ ห้องที่สองคือห้องเครื่องใช้ไม้สอย ที่มีใช้ในหมู่คนมลายูในชายแดนใต้ เช่น เครื่องทองเหลือง เป็นต้น ห้องที่สาม คือ ห้องพิธีกรรม สะสมประเภทอุปกรณ์ในการแห่นก มะโย่ง และแม่พิมพ์ขนม เป็นต้น ห้องที่สี่ คือห้องสายน้ำ จัดแสดงวัสดุอุปกรณ์การประกอบอาชีพประมงมั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม ในสมัยก่อน
 
ห้องที่ห้าคือห้องศาสตรวุธ คือ มีศาสตราวุธชาวมลายูในอดีต เช่น กรีซและดาบ เป็นต้น ห้องสุดท้ายคือ ห้องนันทนาการ คือจัดแสดงวัสดุ อุปกรณ์สำหรับการนันทนาการของชาวมลายูในอดีต เช่น ที่ดักนกคุ่ม กรงตั๊กแตนประชันเสียง ซึ่งทั้งหมดหาดูไม่ได้ง่ายๆในปัจจุบัน
 
สำหรับสถานการณ์การอนุรักษ์ของโบราณในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้วันนี้เริ่มส่อปัญหาเพิ่มขึ้น นอกจากศิลปะ วัฒนธรรมในท้องถิ่นเริ่มหายไปแล้วบางส่วน บางส่วนที่ยังหลงเหลืออยู่ยังมีปลอมแปลงลวดลายอย่างไม่ได้ตั้งใจ

 
ผู้ใหญ่บ้านมิงบอกว่า ลวดลายเรือกอและในปัจจุบันไม่ใช่ของดั้งเดิม และลายแกะสลักบนไม้ที่ช่างปัจจุบันได้ต่อยอดอย่างไม่เข้าใจ ส่วนหนึ่งเป็นลายที่เพี้ยนจากของเดิมอยู่มาก น่าเป็นห่วงว่า ถ้าไม่มีใคร มาศึกษาหรือส่งเสริมให้องค์ความรู้เหล่านี้ มีชีวิตต่อไป รุ่นลูกหลานอาจจะไม่มีให้เห็นอีก 
 
“ลายเรือกอและที่นี้เพี้ยนไปเยอะ ถ้าไม่มีใครมาศึกษาการแกะลาย ก็คงหายไปหมด”
 
 
การเปิดพิพิธภัณฑ์ขุนละหาร จึงไม่เป็นเพียงสถานที่ที่ไว้เสพโบราณวัตถุที่หายากยิ่งแล้วในปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังถูกออกแบบเพื่อการสานต่อองค์ความรู้ สู่เยาวชนในหมู่บ้านที่ยังมีความสนใจในศิลปะวัฒนธรรมของท้อถิ่นอันเป็นศิลปะหลายแขนง เช่น การแกะสลักลวดลายบนด้ามกรีซและลายเรือกอและ ศิลปะการต่อสู้ อย่าง ซีละ การรำที่หาดูได้ยากในปัจจุบันอย่าง “ตารีอีนา” 
 
ผู้ใหญ่บ้านมิง เล็งเห็นความสำคัญในการสานต่อวัฒนธรรมเหล่านี้ ให้เป็นหน้าที่ของเยาวชน จึงดึงกลุ่มเด้กมาศึกษา เรียนรู้ ศิลปะเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง โดยเปิดสอนเรียนศิลปะการป้องกันตัว อย่าง ซีละ มีเยาวชนที่เข้ามาเรียนศิลปะแขนงต่างๆจากครูในพิพิธภัณฑ์ขุนละหาร ประมาณ 15 คน
 
โดยมีครูผู้ชำนาญในศาสตร์ต่างๆมาสอนโดยตรง เช่น นายตีพะลี อะตะบู ประธานกลุ่มเยาวชนทำกริชบ้านตะโละหะลอ อ.รามัน จ.ยะลา หรือที่ได้ฉายานามว่า ราชันแห่งกรีซ มาสอนเด็กด้วยตัวเอง ทุกอาทิตย์ เยาวชน จะเป็นไม้พลัดต่อไปของศิลปะทุกแขนง
 
มีตัวอย่างเยาวชนขุนละหารที่น่าภูมิใจ อย่างสองพี่น้องแห่งบ้านขุนละหาร ที่มาร่ำเรียนศิลปะการต่อสู้จนชำนาญท่ารำที่ครูมาสอนในหลักสูตร 15 วัน ทั้งสองได้เล่าให้ถึงวันที่มาฝึกซ้อมการเรียนศิลปะป้องกันตัวที่ถูกล่าวถึงมากที่สุดอย่าง “ซีละ”
 
เด็กหนุ่มสองคนที่พูดถึงคือ เด็กชายซุบฮี และนายอิบรอเฮม แวหะมะ ทั้งสองคนเรียนในสถาบันการศึกษานอกโรงเรียน ที่ตั้งในหมู่บ้านละหาร ยามว่างก็จะเข้าร่วมกิจกรรมของพิพิธภัณฑ์ ที่เปิดสอนทั้งแกะสลักลวดลายบนด้ามกรีซ และล่าสุดกำลังเรียนการร่ายรำตามทำนองของศิลปะการต่อสู้ท้องถิ่นที่เรียกว่า ซีละ ทั้งสองใช้เวลากับครูเจ๊ะโซ๊ะ สะแต เป็นเวลา 15 วัน จนสามารถรำได้สวยงามและออกแสดงตามงานต่างๆมาแล้วหลายครั้ง 
 
นายซุปฮี แวหะมะ คนน้อง เล่าประสบการณ์แปลกขณะแสดงให้ฟังว่า ก่อนแสดงจะมีการรำไหว้ครูก่อน ช่วงที่ไหว้ครูบางทีก็รู้สึกมองไม่เห็นคนดู รู้สึกเหมือนรำอยู่คนเดียว ตอนแสดงเลยไม่รู้สึกตื่นเต้น
 
นายอิบรอเฮม คนพี่ เล่าวว่า จากที่ได้สะสมประสบการณ์การเรียนศิลปะการต่อสู้ประเภทซีละ มานานตั้งแต่เด็ก ทำให้พอมีความรู้บ้าง ครูที่โรงเรียนเก่าก็เรียกไปสอนรุ่นน้องที่โรงเรียน เป็นโอกาสที่ดีที่ตนและน้องชายได้ช่วยสืบสานศิลปะแขนงนี้ให้คงอยู่ต่อไป
 
“ผมภูมิใจมากนะครับ ที่สามารถเป็นส่วนหนึ่งในการสืบสานศิลปะที่กำลังจะสูญหาย ขอบคุณผู้ใหญ่มิงที่อบรมพวกเรามาตลอดและจัดกิจกรรมให้พวกเราได้เข้ามาเรียนรู้อย่างนี้ ได้เรียนกับวิทยากรเก่งๆหลายท่าน” สองพี่น้องกล่าวตรงกันและยังฝากถึงหน่วยงานของรัฐที่จะสามารถช่วยให้ศิลปะเหล่านี้เข้าไปอยู่ในโรงเรียน ซึ่งเป็นข้อคิดทีน่าสนใจ
 
“ผมคิดว่า น่าจัดเป็นหลักสูตรให้เด็กสามจังหวัดได้เรียนศิลปะแขนงนี้ตั้งแต่เด็ก นอกจากจะเป็นการออกกำลังกายแล้ว ยังสามารถสืบสานวัฒนธรรมของพื้นที่ได้ด้วย ฝึกตั้งแต่เด็กจะทำให้น้องมีพื้นฐาน และอาจจะติดทีมชาติได้ในอนาคตครับ” นายอิบรอเฮม กล่าวปิดท้ายการสนทนา
 
กลับมาที่ผู้ใหญ่มิงที่มีความมุ่งหวังชัดเจน เรื่องพิพิธภัณฑ์ขุนละหารที่เขาสร้าง ให้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตของชุมชนอีกครั้ง หลังจากเงียบหายไปนาน โดยผู้ใหญ่มิงบอกว่า ผู้มาเยือนจะได้สัมผัสกับของสะสมโบราณของเขา ที่เป็นตัวแทนยุคสมัยต่างๆมากมาย

“ผมอยากเปิดพื้นที่ที่นี้ให้คนได้เข้ามาทำกิจกรรม ให้เกิดการศึกษางานและภูมิปัญหาของวัฒนธรรมเก่าๆให้มีชีวิตอีกครั้งหนึ่ง ฟังแรงบรรดาลใจครั้งแรกของการเก็บสะสมของโบราณเหล่านี้ เนื่องจากได้มีโอกาสไปชมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นของมาเลเซีย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นของที่มาบ้านเรา เมื่อกลับมาจึงคิดจะรวบรวม ถ้าเราไม่เริ่มทำวันนี้ เมื่อเราสำนึกถึงมันในภายหลัง เราอาจจะต้องเดินทางไปดูในต่างประเทศ แต่ที่ขุนละหารคนรุ่นหลังที่อาจจะสำนึกในภายหลังจะนึกถึงที่นี้ อย่างน้อยมีที่ๆให้พวกเขาได้มาดูว่า พวกเขามีภูมิหลังอย่างไร” ผู้ใหญ่มิง กล่าวปิดท้ายไว้อย่างน่าสนใจ

พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นขุนละหาร จัดเก็บรวบรวมศิลปะวัตถุหลากหลายประเภท ทั้งเครื่องมือเครื่องใช้ท้องถิ่นและของชนชั้นปกครอง ได้แก่

1.    เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ถ้วยชาม ภาชนะ เครื่องครัว เครื่องจักสาน
2.    เครื่องมือประกอบอาชีพ เช่น เครื่องมือจับสัตว์น้ำ
3.    ศาสตราวุธเช่น กริช
4.    อุปกรณ์เกี่ยวกับการแสดงนาฏศิลป์ เช่น ชุดการแสดงมะโย่ง เครื่องดนตรี
    
                                                                                                                              
อารีด้า  สาเม่าะ                                                            
ชมรมกลุ่มภาคีสถาปัตย์ ปาตานี


 

 

วันเปิดทำการ :  เปิดทำการทุกวัน 
 

 

เวลาเปิดทำการ :  ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น.
 

 

ข้อมูลการติดต่อ :

    60/4 หมู่7 ต.ละหาร อ.ยี่งอ จ.นราธิวาส 96180
    โทร. 0-7359-1222 และ 08-9656-9957

    -----------------
    ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก www.matichon.co.th , http://www.sac.or.th/databases/museumdatabase/review_inside_image.php?id=1462

 

 

แผนที่ : 
 

 

 

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com