ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ข้อมูลทั่วไป
เส้นทางท่องเที่ยวโดยนักวิจัย
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทธรรมชาติ
ประเภทประวัติศาสตร์ และศาสนา
ประเภทศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี
การท่องเที่ยวโดยชุมชน
สันทนาการและการบันเทิง
เส้นทางท่องเที่ยวโดยทัวร์อื่นๆ
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
รายชื่อมัสยิด
โรงแรม / ที่พัก
โรงแรม รีสอร์ท และสปา
ร้านอาหาร
ร้านอาหาร
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
อาหารและเครื่องดื่ม
ธุรกิจขนาดกลาง/ ขนาดย่อม
กลุ่มอาชีพ / สินค้า
สิ่งอำนวยความสะดวก
สถานีตำรวจ
โรงพยาบาล
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

ศูนย์แสดงศิลปวัฒนธรรมอาเซียน เทศบาลเมืองเบตง
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

ศูนย์แสดงศิลปวัฒนธรรมอาเซียน เทศบาลเมืองเบตง ได้ริเริ่มจัดตั้งขึ้น ณ อาคารที่ว่าการอำเภอเบตงหลังเก่า ซึ่งได้ก่อสร้างขึ้นในสมัยพระพิชิตบัญชา เป็นนายอำเภอยะรมในปี พ.ศ. 2473 และได้เปลี่ยนชื่อจากอำเภอยะรมเป็นอำเภอเบตงในขณะนั้น ภายหลังจากที่อำเภอเบตงได้ก่อสร้างอาคารที่ว่าการอำเภอหลังใหม่ ทำให้อาคารแห่งนี้ไม่ได้ใช้ประโยชน์ สภาพอาคารชำรุดทรุดโทรมอย่างรวดเร็ว หากแต่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นทางสถาปัตยกรรมที่สวยงาม ควรคู่แก่การอนุรักษ์ไว้เป็นสมบัติของชุมชน ในท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านอดีตนายอำเภอเบตงฯพณฯ บัญญัติ จันทน์เสนะ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และนายสมชาย เสียงหลาย รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ได้มีความปรารถนาและมุ่งหวังที่จะอนุรักษ์อาคารแห่งนี้ไว้เป็นประโยชน์ต่อชุมชนในท้องถิ่น ทางคณะผู้บริหารเทศบาล และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ได้ประสานการขอใช้อาคารแห่งนี้จนบรรลุผลสำเร็จ จึงได้จัดทำแผนงานโครงการปรับปรุงซ่อมแซมอาคารและภูมิทัศน์โดยรอบเพื่อให้สามารถใช้อาคารและพื้นที่บริเวณโดยรอบในการจัดตั้งศูนย์แสดงศิลปวัฒนธรรมอาเซียน ณ อำเภอเบตง ทั้งนี้เทศบาลเมืองเบตงได้ดำเนินงานทางวัฒนธรรมมาเป็นระยะเวลานาน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 ตามบทบาทหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมุ่งเน้นงานอนุรักษ์วัฒนธรรม ฟื้นฟู พัฒนา ถ่ายทอด และส่งเสริมกิจกรรมทางวัฒนธรรม ตลอดจนงานแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกันในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดตั้งแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ในเขตเทศบาล เพื่อจัดแสดงองค์ความรู้ต่าง ๆ ในรูปแบบการจัดแสดงศิลปวัตถุ โบราณวัตถุ วิถีชีวิต ภูมิปัญญาท้องถิ่น สื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทางวัฒนธรรม ข้อมูลประวัติศาสตร์ เป็นต้น ประกอบกับในปี พ.ศ. 2548 ภายหลังที่คณะสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยนานยาง รัฐปินัง ประเทศมาเลเซียได้เดินทางมาเยี่ยมชมเมืองเบตงโดยการนำของ MR.SOW MAK LEONG นายกสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยนานยาง รัฐปินัง ประเทศมาเลเซีย ต่อมา DR.LEE SUNG TING ชาวมาเลเซีย ได้มีการประสานงานกับ MR. ANG YANG BUAY นักอนุรักษ์ สะสม ชาวสิงคโปร์ ซึ่งมีความปรารถนาที่จะมอบโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุประเภทต่างๆ ให้กับเทศบาลเมืองเบตงและสภาวัฒนธรรมตำบลเบตงเป็นจำนวนมาก ซึ่งประมาณค่ามิได้ เนื่องด้วยมีความศรัทธาเลื่อมใสพระราชกรณียกิจของพระราชวงศ์ไทยคือ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ด้านศิลปวัฒนธรรม และมีความชื่นชมในแนวทางการพัฒนาเมืองเบตง โดยยึดวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมของเทศบาลเมืองเบตงมาโดยตลอด เทศบาลเมืองเบตงได้ตระหนักและให้ความสำคัญในการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมถึงการได้รับมอบสิ่งของจากประเทศเพื่อนบ้านดังกล่าว อันบ่งชี้ถึงความมีสัมพันธไมตรี ความผสมผสานกลมกลืนทางศิลปวัฒนธรรมอันดีของชุมชน ท้องถิ่น ประเทศชาติ และประเทศเพื่อนบ้านอย่างดียิ่ง จึงได้จัดตั้งศูนย์แสดงศิลปวัฒนธรรมอาเซียนขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเทิดพระเกียรติ เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ในปี พ.ศ. 2550 เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ ทางศิลปวัฒนธรรม ด้านการท่องเที่ยวของชุมชน ท้องถิ่น ประเทศชาติและเครือข่ายประเทศเพื่อนบ้าน ตลอดจนส่งเสริมการเรียนรู้วิถีชีวิต ภูมิปัญญาท้องถิ่น อันจะก่อให้เกิดความภาคภูมิใจ ความหวงแหน การอนุรักษ์และสืบทอดบนพื้นฐานของการเคารพในคุณค่าของความแตกต่างทางด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี เชื้อชาติ อันจะเป็นผลให้เกิดความมั่นคงและสันติสุขในชุมชน ท้องถิ่นและประเทศชาติ และผลจากการดำเนินงานที่ได้รับการความร่วมมือและการสนับสนุนจากทุกฝ่าย ทำให้เทศบาลมีความพร้อมในการเปิดอาคารแห่งนี้เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของอำเภอเบตง และนับเป็นความภาคภูมิใจของพี่น้องชาวอำเภอเบตงเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับเกียรติจาก ฯพณฯ อนุสรณ์ วงศ์วรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม มาเป็นประธานพิธีเปิดอาคารศูนย์แสดงศิลปวัฒนธรรมอาเซียนมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2551 เพื่อนำมาปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานของศูนย์ฯ ให้มีความสมบูรณ์ เกิดประโยชน์สูงสุดต่อพี่น้องประชาชนและท้องถิ่นสืบไป

(ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก http://www.m-culture.in.th/)

 

 

ข้อมูลการติดต่อ :

    ชื่อที่ทำงาน: สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดยะลา
    เลขที่: 37
    อำเภอ: สะเตง
    ตำบล: เมืองยะลา
    จังหวัด: ยะลา
    รหัสไปรษณีย์: 95000
    หมายเลขโทรศัพท์: 073203511,073213916
    โทรสาร: 073203511
    เว็บไซต์: ้http://province.m-culture.go.th/yala
    อีเมล์: yala@m-culture.go.th

 

 

แผนที่ : 
 

 

 

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com