ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลแม่หวาด อำเภอธารโต จังหวัดยะลา
ข้อมูลทั่วไป
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทธรรมชาติ
โครงการหลวง/โครงการในพระราชดำริ
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
รายชื่อมัสยิด
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
อาหารและเครื่องดื่ม
ศิลปะหัตถกรรม
ธุรกิจขนาดกลาง/ ขนาดย่อม
กลุ่มอาชีพ / สินค้า
สิ่งอำนวยความสะดวก
สถานีตำรวจ
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

ทะเลสาบ-ป่าฮาลา บาลา
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

ประวัติความเป็นมา
เป็นพื้นที่อนุรักษ์แห่งใหม่ของประเทศไทย ได้รับการประกาศจัดตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2539 อันเป็นแนวชายแดนไทย-มาเลเซีย มีพื้นที่ประมาณ 270,725 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ทิวเขาสันกาลาคีรี ป่าฮาลาและป่าบาลาเป็นผืนป่าดงดิบที่ไม่ต่อเนื่องกัน แต่ได้รับการประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเดียวกัน คือ ป่าฮาลา ในเขตอำเภอเบตง จังหวัดยะลา และ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส แต่ส่วนที่เปิดให้ประชาชนเข้าไปศึกษาธรรมชาติได้ จะเป็นป่าบาลาเท่านั้น ป่าบาลามีพื้นที่ครอบคลุม อำเภอแว้ง และอำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส มีการตัดถนนสายความมั่นคง (ทางหลวงหมายเลข 4062) ไปตามเทือกเขาสันกาลาคีรี ทำให้การเข้าถึงพื้นที่ป่าง่ายขึ้น เริ่มจากบ้านบูเก๊ะตา อำเภอแว้ง ตัดผ่านป่าบาลาและไปสิ้นสุดที่ บ้านภูเขาทองในอำเภอสุคิริน รวมระยะทาง 18 กิโลเมตร สองข้างทางมีสภาพเป็นป่าดงดิบที่สมบูรณ์ที่สุดในประเทศไทย สำหรับการศึกษาธรรมชาติที่นี่เพียงขับรถไปตามถนนสายความมั่นคงก็จะได้ชมสิ่งพิเศษมากมาย เริ่มจากที่ทำการเขตฯ เป็นต้นไป ห่างจากสำนักงานมาประมาณ 5 กิโลเมตร จะมีจุดชมสัตว์ บริเวณนี้จะมีต้นไทรขึ้นอยู่มาก และสัตว์มักจะมาหากินลูกไทรเป็นอาหาร ตรงเข้ามาอีกประมาณ 10 กิโลเมตร จะพบที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์ภูเขาทองซึ่งเป็นหน่วยย่อยของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนสายดังกล่าว จะเป็นทำเลที่สามารถเห็นทะเลหมอกอีกจุดหนึ่ง จากจุดนี้เดินเข้าไปประมาณ 100 เมตร จะพบ ต้นสมพง(กระพง)ยักษ์ ขนาดเส้นรอบวง 25 เมตร ความสูงของพูพอน(ส่วนที่อยู่โคนต้นไม้เป็นปีกแผ่ออกไปรอบๆ ส่วนใหญ่มักจะเป็นไม้ใหญ่ที่อยู่ริมน้ำ เพราะจะช่วยในการพยุงลำต้น) สูงประมาณ 4 เมตร ต้นสมพงเป็นไม้ที่ชอบขึ้นตามริมน้ำ เป็นไม้เนื้ออ่อนใช้ทำไม้จิ้มฟัน หรือไม้ขีด สองข้างทางจะได้เห็นพันธุ์ไม้ต่าง ๆ ที่ไม่อาจหาชมได้ง่าย ๆ จากที่อื่นในเมืองไทย เช่น ต้นยวน ไม้ยืนต้นในวงศ์ถั่วที่สวยเด่นสะดุดตา เห็นได้แต่ไกลจากถนน ด้วยผิวเปลือกที่ขาวนวล และรูปร่างที่สูงชะลูด สามารถสูงได้ถึง 65-70 เมตร ถือว่ามีความสูงเป็นอันดับสามของโลก รองจากต้นเรดวูด และยูคาลิบตัส มักถูกตัดไปทำเฟอร์นิเจอร์ ต้นสยา ไม้ในวงศ์ยางซึ่งเป็นไม้เด่นของป่าฮาลา-บาลา จากจุดชมวิวจะเห็นเรือนยอดของต้นสยาขึ้นเบียดเสียดกัน ถ้าซุ่มสังเกตดี ๆ อาจจะได้พบนกเงือก เพราะต้นสยานี้เองที่เป็นแหล่งทำรังสำคัญของนกเงือกรวมทั้ง ต้นหัวร้อยรูหนาม เป็นหนึ่งในบรรดาพืชที่พบ ยังมีสัตว์ป่าที่ทำให้ป่าแห่งนี้มีความสมดุลทางระบบนิเวศน์ได้ สัตว์ที่อาศัยอยู่ที่นี่หลายชนิดเป็นสัตว์ที่หายากในไทย เช่น ชะนีดำใหญ่ หรือ เซียมัง มีสีดำตลอดตัว และมีขนาดใหญ่กว่าชะนีธรรมดาเกือบเท่าตัว ชะนีมือดำ ซึ่งปกติจะพบเฉพาะในป่าบนเกาะสุมาตรา บอร์เนียว และป่าบริเวณทางเหนือของมาเลเซียถึงทางใต้ของไทยเท่านั้น บางครั้งอาจจะโชคดีได้พบเจ้าสองตัวนี้เกาะอยู่บนยอดกิ่งไม้ นอกจากนั้นยังมี กบทูด ซึ่งเป็นกบขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ความยาวจากปลายปากถึงก้น ประมาณ 1 ฟุต น้ำหนักกว่า 5 กิโลกรัม มีถิ่นอาศัยอยู่บริเวณป่าต้นน้ำบนภูเขาสูง และจากการสำรวจพบสัตว์ป่าสงวน 4 ชนิด คือ เลียงผา สมเสร็จ แมวลายหินอ่อน และ กระซู่ นกเงือกซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดความสมบูรณ์ของป่า และเป็นนกหายากชนิดหนึ่ง แต่ในป่านี้พบถึง 9 ใน 12 ชนิดของนกเงือกที่พบในไทย ได้แก่ นกเงือกปากย่น นกเงือกชนหิน (เป็นนกเงือกชนิดเดียวที่มีโหนกแข็งทึบ ชาวบ้านในอินโดนีเซียจึงล่านกชนหินเพื่อเอาโหนกไปแกะสลักอย่างงาช้าง) นกแก๊ก นกกก นกเงือกหัวหงอก นกเงือกปากดำ นกเงือกหัวแรด นกเงือกดำ นกเงือกกรามช้าง ฤดูกาลที่เหมาะแก่การไปศึกษาธรรมชาติที่นี่คือตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์จนถึงเดือนกันยายน ซึ่งจะมีฝนตกลงมาไม่มากเกินไปนัก

 

 

สิ่งอำนวยความสะดวก :
สิ่งอำนวยความสะดวก
  -ถังขยะ  
  -ป้ายบอกทาง
  -ป้ายสื่อความหมาย  
  -ร้านอาหาร
  -ห้องน้ำ

 

 

ข้อมูลการติดต่อ :

    ที่อยู่: ต.แม่หวาด อ.ธารโต จ.ยะลา ตำบล/แขวงแม่หวาด อำเภอ/เขตธารโต
    จังหวัด: ยะลา
    รหัสไปรษณีย์: 95170
    หน่วยงานรับผิดชอบ: Long beach Resort

    .........................................

    ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก http://61.19.236.136:8090/dotr/touristlist.php?provinceid=47&provlat=6.686431&provlong=101.282043

 

 

แผนที่ : 
 

 

 

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com