ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลเกาะยอ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ข้อมูลทั่วไป
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทธรรมชาติ
ประเภทประวัติศาสตร์ และศาสนา
ประเภทศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี
สันทนาการและการบันเทิง
เส้นทางท่องเที่ยวโดยทัวร์อื่นๆ
โรงแรม / ที่พัก
โรงแรม รีสอร์ท และสปา
ร้านอาหาร
ร้านอาหาร
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
อาหารและเครื่องดื่ม
ศิลปะหัตถกรรม
ธุรกิจขนาดกลาง/ ขนาดย่อม
กลุ่มอาชีพ / สินค้า
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

เกาะยอ
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

เกาะยอเป็นเกาะที่ตั้งอยู่กลางทะเลสาบสงขลาตอนล่าง มีฐานะเป็นตำบลหนึ่งในอำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ระยะห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองสงขลาไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้โดยทางบกประมาณ 20 กิโลเมตร และโดยทางน้ำหรือทางทะเลประมาณ 6 กิโลเมตร ที่ตั้งตามพิกัดภูมิศาสตร์ เกาะยอตั้งอยู่บริเวณเส้นรุ้งที่ 6 องศา 17 ลิปดา ถึง 7 องศา 56 ลิปดาเหนือ และเส้นแวงที่ 100 องศา 1 ลิปดา ถึงเส้นแวงที่ 101 องศา 6 ลิปดา ตะวันออก

เกาะยอ เป็นเกาะเพียงเกาะเดียวในทะเลสาบสงขลาตอนล่าง อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอเมืองสงขลา มีฐานะเป็นตำบลหนึ่งในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา มีพื้นที่ 15 ตารางกิโลเมตร มีประชา กรประมาณ 4,000 คน แบ่งเป็น 9 หมู่บ้าน มีองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยอ เป็นหน่วยงานบริหารราชการส่วนท้องถิ่น มีหน้าที่ในการพัฒนาตำบลในด้านต่าง ๆ การเดินทางมายังเกาะยอมีสะพานติณสูลานนท์ 2 ช่วง เชื่อมเกาะยอกับฝั่ง อ. เมืองสงขลา และ อ.สิงหนครภายในเกาะยอมีถนนราดยางรอบเกาะยอ พื้นที่ส่วนใหญ่ในเกาะยอเป็นภูเขาไม่สูงนัก มีที่ราบเชิงเขาติดทะเล และมีที่ราบกว้างทางตอนใต้ของเกาะยอ

เกาะยอมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 9,275 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นไหล่เขาและที่ราบตามเชิงเขา เหมาะแก่การเกษตรกรรม บนเกาะยอ มีการทำสวนผลไม้แบบสุมรุม หมายถึงผลไม้จะผลัดกันให้ผลผลิตตลอดปี เช่น ส้มโอ มะพร้าว ขนุน ผลไม้ที่มีชื่อของเกาะยอคือ จำปาดะ ลักษณะคล้ายขนุนแต่ลูกเล็กกว่า สามารถนำไปทอดเหมือนกล้วยแขก หรือจะกินสดก็ได้ และผ้าทอเกาะยอ เป็นผ้าพื้นเมืองที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยมจากผู้นิยมสวมใส่ผ้าไทย มีลายที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น ลายราชวัตถ์ ดอกพิกุล ดอกพะยอม เนื้อผ้าดูแลรักษาง่าย นอกจากนั้นเกาะยอยังเป็นแหล่งเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชังในทะเลสาบสงขลาอีกด้วย

ชาวเกาะยอส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ทำสวนผลไม้ อาชีพประมงและอาชีพทอผ้าพื้นเมือง

เกาะยอมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ อีกทั้งชุมชนเกาะยอยังมีประเพณีวัฒนธรรมเก่าแก่สืบทอดกันมานาน เช่น ประเพณีแห่หมรับเรือนสิบและประเพณีขึ้นเขากุฏซึ่งถือเป็นทุนทางสังที่ทำให้ชุมชนเกาะยอเป็นชุมชนที่เข้มแข็งน่าอยู่

แนวทางในการพัฒนาตำบลของชาวเกาะยอดำเนินไปตามวิสัยทัศน์ในการพัฒนาตำบลที่ชาวเกาะยอช่วยกันกำหนดในปี 1540 ซึ่งคลี่คลายกลายเป็นกิจกรรมการดำเนินการพัฒนาตำบลในรูปแบบต่าง ๆ เช่นการฟื้นฟูประเพณีวัฒนธรรมเก่าแก่ เช่น ประเพณีลอยแพโดยสภาพวัฒนธรรมตำบลเกาะยอ การสืบสารหัตถกรรมผ้าทอเกาะยอ โดยกลุ่มราชวัตถ์ฯ การสร้างสวนสมุนไพรและการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นโดยวัดท้ายยอ และที่สำคัญคือการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เพื่อชุมชนเกาะยอได้ทดลองในเส้นทางสายวัฒนธรรม และพัฒนาเป็นการท่องเที่ยวเกษตรเกาะยอในปัจจุบัน ซึ่งการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ถือเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาตำบลให้น่าอยู่อย่างยั่งยืนตลอด

 

 

แผนที่ : 
 

 

 

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com