ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลบานา อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ข้อมูลทั่วไป
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
รายชื่อมัสยิด
โรงแรม / ที่พัก
โรงแรม รีสอร์ท และสปา
ร้านอาหาร
ร้านอาหาร
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
อาหารและเครื่องดื่ม
ศิลปะหัตถกรรม
ธุรกิจขนาดกลาง/ ขนาดย่อม
กลุ่มอาชีพ / สินค้า
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

บ่อน้ำและหินโบราณบ้านบานา
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

บ่อน้ำและหินโบราณบ้านบานา ตั้งอยู่ที่บ้านบานา ตำบลบานา ห่างจากมัสยิดกรือเซะไปทางทิศตะวันตกประมาณ 102 กิโลเมตร บ่อน้ำแห่งนี้มีอายุเก่าแก่สร้างมาตั้งแต่บานาเริ่มที่เป็นที่จอดเรือของพ่อค้าต่างชาติ และเป็นแหล่งน้ำจืดสำหรับอุปโภคบริโภค และใช้มาจนถึงสมัยที่โรงเรียนปอเนาะเป็นที่นิยมแพร่หลายในระยะนั้น เมืองต่างๆแถบนี้ เช่น ตรังกานู กลันตัน ฯลฯ ส่งบุตรหลานมาเรียน บ่อน้ำแห่งนี้ได้ใช้เป็นที่อาบน้ำของนักเรียน จนไม่นานมานี้ได้เลิกใช้ไป เนื่องจากชุมชนขยายตัวมากขึ้น ส่วนใหญ่จึงมีบ่อน้ำของตนเอง รวมทั้งสถานที่สาธารณะ เช่น มัสยิดและโรงเรียน ก็มีแหล่งน้ำใช้จากบาดาล และบ่อที่ขุดขึ้นเอง ทำให้บ่อน้ำแห่งนี้ถูกทิ้งร้างมาจนถึงทุกวันนี้


สำหรับหินโบราณที่บ้านบานานั้น สร้างขึ้นจากหินแกรนิต มีประวัติความเป็นมาเป็น 2 กระแส ผู้อาวุโสในหมู่บ้าน เล่าว่าหินโบราณนี้นำมาจากตรังกานู เมื่อประมาณ 80 กว่าปีที่แล้ว โดยนำลงเรือมาที่บ้านบานา เรือดังกล่าวบรรทุกเกลือมาจากปัตตานีไปขายที่ตรังกานู เมื่อนำเกลือขึ้นจากเรือแล้ว ขากลับจึงได้นำหินนี้ถ่วงเรือมาจนถึงปัตตานี ในระยะแรกๆชาวบ้านได้ใช้หินนี้เป็นที่วางซักเสื้อผ้า ต่อมาจึงได้นำมาวางที่มัสยิด เพื่อใช้เป็นที่ชำระล้างทำความสะอาดเท้า ก่อนขึ้นไปบนมัสยิดเพื่อทำพิธีทางศาสนา ด้วยรูปลักาณ์ที่เป็นเสมือนรางรับน้ำและมีร่องระบายน้ำทิ้ง ทำให้ใช้ประโนยชน์เป็นที่ล้างเท้าได้ดี ขณะที่อีกกระแสหนึ่งระบุว่าหินโบราณชิ้นนี้ คือ ที่วางศวลึงค์ ตามความเชื่อของชาวฮินดู บางส่วนนับถือศาสนาพุทธ ในชุมชนบานาเองก็มีผู้คนหลายเชื้อชาติศาสนา ประชาชนเมื่อเข้ารับอิสลามในระยะแรกๆ ก็ยังมีพิธีกรรมเก่าๆหลงเหลืออยู่ แม้แต่กบัตริย์ที่เข้ารับอิสลามเป็นพระองค์แรกก็เพียงประกาศว่า จะไม่เสวยเนื้อสุกร และทรงเลิกนับถือบูชาเทพเจ้า เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ สุสานของพระองค์ถูกประดับด้วยหินเสามี่สักลวดลายที่มีความหมาย ของความตาย และการเกิดใหม่ตามความเชื่อของชาวฮินดู-พุทธ ขณะที่อิสลามที่แท้จริงนัันจะไใ่เน้นการสร้างสัญลักษณ์ใดๆ ขึ้นมา

เรื่องราวเกี่ยวกับความเป็นฮินดูในปัตตานีระยะแรกๆนั้น ปรากฏในงานเขียนของนักเดินเรือชาวฮอลันดา ความตอนหนึ่งระบุว่า ในปี ค.ศ.1602 (พ.ศ.2145) เมื่อชาวฮอลันดาได้เริ่มเข้ามาอยู่ที่เมืองปัตตานี ได้พบเห็นศาลหลายแห่งมีรูปปั้นขนาดใหญ่รูปครึ่งคนครึ่งม้า ทาด้วยสีทอง มือข้างหนึ่งห้อยลง อีกข้างหนึ่งชูสูงขึ้น ทั้งสองข้างต่างมีมังกรสีทองข้างละตัว ทางด้านซ้ายและขวาของมังกร มีหินที่สลักเป็นรูปหญิงนางหนึ่งคนยกมือขึ้นฟ้า ภายในศาลแห่งที่สองก็คล้ายๆกัน ที่ต่างกันก็มีเพียงทาสีทองครึ่งหนึ่ง ทาสีแดงครึ่งหนึ่ง แห่งที่สามก็เหมือนกันอีก เพียงแค่มีด้ายสีทองประดับไว้ที่รูปปั้น หลังรูปปั้นมีรูปปั้นขนาดเล็กลงมาอีกตัวหนึ่งเป็นรูปคน บนหน้าผากมีเขาสองข้าง พวกนักบวชนับถือว่าเป็นเทพเจ้าช้างนั่นเอง สภาพที่มีการอธิบายเช่นนี้คล้ายกับอารยธรรมฮินดู ที่เกาะชวาในสมัยนั้นบางท่านจึงเชื่อว่าที่บานาหรือบันดาร์ ซึ่งเป็นท่าเรือของปัตตานี ในอดีตนั้นมีชุมชนฮินดู-พราหมณ์ อยู่หลายแห่ง ฐานศิวลึงค์ หรือหินโบราณที่พบอาจเป็นส่วนหนึ่งของสัญลักษณ์ดังกล่าว ร่องรอยหลักฐานอื่นๆ เช่น ปูนปั้นขนาดใหญ่แตกหักกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป แต่เดิมอาจเป็นเทวรูปขนาดใหญ่ที่ล้มพังลงในเวลาต่อมา แม้ว่าหลักฐานเหล่านี้ยังไม่ได้มีการพิสูจน์ที่แน่ชัด แต่ก็เป็นวัตถุพยานที่ยืนยันได้ว่า บานาและกรือเซะในอดีตนั้นเป็นถิ่นที่อยู่ของผู้คนหลายเชื้อชาติหลายวัฒธรรม ควรที่จะได้รับความสนใจศึกษาค้นคว้าและส่งเสริมให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับภูมิภาคต่อไป

 

 

 

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com