ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลตันหยงลุโละ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ข้อมูลทั่วไป
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทธรรมชาติ
ประเภทประวัติศาสตร์ และศาสนา
ประเภทศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี
การท่องเที่ยวโดยชุมชน
การท่องเที่ยวเชิงเกษตร
เส้นทางท่องเที่ยวโดยทัวร์อื่นๆ
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
รายชื่อมัสยิด
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
อาหารและเครื่องดื่ม
ศิลปะหัตถกรรม
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

คูเมืองโบราณ
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

นครปตานีที่กรือเซะและบริเวณใกล้เคียง เป็นเมืองโบราณร่วมสมัยกับอยุธยา สร้างขึ้นบริเวณชายทะเลริมอ่าวปัตตานี เป็นการสืบต่อเมืองโกตามหลิฆัย เมืองโบราณสมัยลังกาสุกะที่กำลังเสื่อมโทรมลงไป รายาศรีวังสา กษัตริย์องค์สุดท้ายของโกตามหลิชัย เห็นว่าการเดินทางไม่สะดวกโดยเฉพาะการขนส่งทางเรือเพราะแม่น้ำที่เคยใช้เป็นเส้นทางการขนส่งกลับตื้นเขิน พระองค์จึงตัดสินใจสร้างเมืองใหม่ขึ้นที่ชายทะเลดังกล่าว โดยเกณฑ์ผู้คนจากเมืองโกตามหลิฆัยและเมืองใกล้เคียงเข้ามาช่วยกันสร้างพระราชวังและขุดเมือง ใช้เวลา 2 เดือน ต่อมาได้สร้างป้อมปราการและกำแพงพระราชวังด้านในของคูเมือง เพื่อใช้ป้องกันข้าศึกศัตรู

คูเมืองโบราณปัตตานีด้านตะวันตก เป็นคูเมืองที่ขุดขึ้นเพื่อเชื่อมต่อคลองปาปิรีทางทิศเหนือและคลอง กรือเซะทางทิศใต้เข้าด้วยกัน ปัจจุบันยังมีร่องรอยปรากฏอยู่ชัดเจน คูเมืองด้านตะวันตกนี้อยู่หน้ากำแพงเมืองและประตูวัง ติดกับบริเวณหน้าพระลานด้านนอกพระราชวัง ส่วนคลองปาปิรีเดิมเป็นคลองธรรมชาติ ต่อมาได้มีการขุดแต่งเพื่อให้เป็นคูเมืองสามารถออกสู่ทะเลได้โดยคลองสายนี้ คลองกรือเซะด้านทิศใต้ของพระราชวังเป็นคลองธรรมชาติเช่นกัน โดยไหลผ่านพระราชวังไปรวมกับคลองปาเระ ออกสู่อ่าวปัตตานีและทะเลอ่าวไทย ต้นน้ำของคลองกรือเซะในอดีต เคยเชื่อมต่อกับแม่น้ำปัตตานี แต่ต่อมาได้ตื้นเขินไป คงเหลือเพียงลำคลองบางส่วนจากบ้านตะเนาะบาตูลงมาเท่านั้นที่ยังมีสภาพเป็นทางน้ำในปัจจุบัน ส่วนด้านตะวันออกของพระราชวังไม่มีร่องรอยคูเมือง แต่มีคลองปาเระไหบผ่านใกล้พระราชวังตรงประตูด้านทิศตะวันตกที่เรียกว่า ปินตูฆาเยาะห์ หรือประตูช้าง จึงเข้าใจว่าคลองปาเระทำหน้าที่เป็นคูเมืองไปด้วยขณะเดียวกันก็เป็นเส้นทางขนส่งสินค้า และจุดขนถ่ายสินค้าหลายบริเวณตามแนวคลองดังกล่าว

คูเมืองโบราณปัตตานียังไม่เคยมีการขุดแต่งบูรณะ บางส่วนราษฎรสร้างบ้านเรือนโดยถมที่ทับแนวคู เมือง ดังกล่าว ทั้งนี้เนื่องจากทางราชการได้สร้างทางหลวงแผ่นดินสายปัตตานี - นราธิวาส ตัดผ่านคูเมือง และผ่านกลางพื้นที่เขตพระราชวัง จึงมีการก่อสร้างบ้านเรือนเพิ่มขึ้นมาเป็นลำดับ คลองปาปิรีและคูเมืองด้านตะวันตกมีความสำคัญ เนื่องจากมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นบริเวณนี้หลายกรณี โดยเฉพาะการสู้รบกับกองทัพสยาม เมื่อ พ.ศ. 2329 กองทัพสยามได้นำปืนใหญ่พญาตานีที่ประจำอยู่ตรงประตูวัง ผ่านคูเมืองและคลองปาปิรีออกสู่ทะเลอ่าวปัตตานี นอกจากนี้โดยรอบคูมเทองพระราชวัง มีประชาชนอาศัยอยู่หนาแน่น คูเมืองจึงเป็นประโยชน์สนการเกษจรกรรม รวมทั้งการขนส่งทางเรือ มีร่องรอบหลักฐานการขนถ่ายสินค้ารอบๆบริเวณคูเมือง โดยพบเศษเครื่องถ่วยชามและเงินเหรียญตกหล่นอยู่ในหลายบริเวณ ดังนั้น จึงควรมีการบูรณะขุดแต่งคูเมืองเพื่อการศึกษาและการอนุรักษ์ไว้ให้เป็นมรดกที่สำคัญของเมืองปัตตานีก่อนที่จะตื้นเขินหรือถูกทำลายเพื่อใช้ประโยชน์อย่างอื่น ซึ่งจะทำให้สูญสิ้นคุณค่าทางประวัติศาสตร์และอารยธรรมไปอย่างถาวร

 

 

วันเปิดทำการ :  เปิดให้บริการทุกวัน
 

 

ข้อมูลการติดต่อ :

    -----------------------------------------------------

    ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือ มัสยิดกรือเซะ ในประวัติศาสตร์นครปตานี
    ศาสตราจารย์ ดร.ครองชัย หัตถา มหาวิทยาลัยสงขลานคริทร์

 

 

 

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com