ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลตันหยงลุโละ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ข้อมูลทั่วไป
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทธรรมชาติ
ประเภทประวัติศาสตร์ และศาสนา
ประเภทศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี
การท่องเที่ยวโดยชุมชน
การท่องเที่ยวเชิงเกษตร
เส้นทางท่องเที่ยวโดยทัวร์อื่นๆ
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
รายชื่อมัสยิด
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
อาหารและเครื่องดื่ม
ศิลปะหัตถกรรม
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

สุสานโต๊ะรายาฟาเกะห์
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

สุสานโต๊ะรายาฟาเกะห์ หรือสุสานโต๊ะปาเกะห์ ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 3 บ้านกรือเซะ ตำบลตันหยงลุโละ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี โต๊ะรายาฟาเกะห์ ชื่อเดิมคือ ชัยคฺ ซอฟียุดดิน อัล-อับบาซ นักการศาสนาอิสลามชาวอาหรับ ซึ่งมีถิ่นพำนักที่เมืองปาไซ เกาะสุมาตรา ก่อนเดินทางมาตั้งบ้านเรือนเป็นการถาวรที่เมืองปัตตานี 


ในสมัยสุลต่านอิสมาอีล ชาห์ ชัยคฺ ซอฟียุดดิน มีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่ศาสนาให้แก่ชาวเมืองปัตตานีและเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการให้คำแนะนำการก่อสร้างมิสยิดกรือเซะ จนกระทั่งแล้วเสร็จสมบูรณ์ในสมัยสุลต่าน มูซัฟฟาร์ ชาห์ เจ้าเมืองปัตตานีคนที่ 2 โอรสของสุลต่าน อิสมาอีล ชาห์ โดยในสมัยนี้เองได้สร้างมัสยิดขึ้นอีกหลังหนึ่งที่ท่าเรือ 

หลังจากการก่อสร้างมัสยิดกรือเซะแล้วเสร็จ ชัยคฺ ซอฟียุดดิน ได้รับพระราชทานนามจากสุลต่านมูซัฟฟาร์ ชาห์ ว่า "ดาโต๊ะ ซะรี รายา ฟาเกะห์" (Datuk Sri Raja Fakih) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "โต๊ะรายาฟาเกะห์" ชาวปัตตานีเรียกชื่อท่านสั้นๆ ว่า โต๊ะปาเกะห์ เมื่อท่านเสียชีวิตลงร่างกายของท่านถูกฝังไว้ที่สุส่านแห่งหนึ่งเมืองปัตตานี ใกล้ๆ กับที่พำนักของท่าน ชาวปัตตานีในปัจจุบัน เรียกสุสานดังกล่าวว่า "สุสานโต๊ะปาเกะห์" 

ชัยคฺ ซอฟียุดดิน เป็นผู่เคร่งครัดในอิสลาม เขามีเพื่อนร่วมงานอีกสองท่าน คือ ชัยคฺ ซาอิด บัรซีซา (Syeikn Said Basisa) และ ชัยคฺ ฆ็อมเบาะก์ อับดุล มูบิน (Syeikh Gombak Abdul Mubin) สำหรับ ชัยคฺ ซอฟียุดดินนั้นมีฐานะเป็นหลานของอับบาซ บิน อับดุล มูฏอลิบ (Abbas bin Abdul Muthalib) ในระยะนั้นกรุงบัฆคาด (Baghdad) เป็นศุนย์กลางของการศึกษาศาสนาอิสลาม และมีอุลามะอฺ ซูฟี จำนวนมาก ออกเผยแพร่ศาสานาอิสามลามในเอเซียใต้ เอเซียตะวันออกเฉียงใต้และเอเซียตะวันออก รวมทั้ง ชัยคฺ ซอฟียุดดิน ได้เข้ามายังดินแดนสุมาตราและคาบสมุทรมลายู โดยมีถิ่นพำนักครั้งสุดท้ายที่ปัตตานี เมื่อท่านเสียชีวิตร่างกายของท่านถูกฝังไว้ร่วมกับเพื่อนร่วมงานของท่านที่สุสานกลางทุ่งนาหน้าเมืองปัตตานีใกล้ๆ กับหมู่บ้านที่เคยเป็นถิ่นพำนัก สุสานในปัจจุบันแม้ว่าจะอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม เนื่องจากยังไม่เคยมีการฟื้นฟูบูรณะมาก่อน แต่คุณูปการของท่านที่มีต่อเมืองปัตตานี ทำให้ชื่อเสียงและคุณความดีของท่านยังคงได้รับการกล่าวถึง และมีผู้มาเยี่ยมเยือนสุสานของท่านอย่างสม่ำเสมอ

 

 

ข้อมูลการติดต่อ :

    -----------------------------------------------------
    ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือ มัสยิดกรือเซะ ในประวัติศาสตร์นครปตานี
    ศาสตราจารย์ ดร.ครองชัย หัตถา มหาวิทยาลัยสงขลานคริทร์

 

 

แผนที่ : 
 

 

 

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com