ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลตันหยงลุโละ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ข้อมูลทั่วไป
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทธรรมชาติ
ประเภทประวัติศาสตร์ และศาสนา
ประเภทศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี
การท่องเที่ยวโดยชุมชน
การท่องเที่ยวเชิงเกษตร
เส้นทางท่องเที่ยวโดยทัวร์อื่นๆ
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
รายชื่อมัสยิด
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
อาหารและเครื่องดื่ม
ศิลปะหัตถกรรม
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

สุสานลิ้มโต๊ะเคี่ยม
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

สุสานโต๊ะเคี่ยม ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลตันหยงลุโละ อำเภอเมิองปัตตานี ชาวตันหยงลุโละ เรียก ลิ้มโต๊ะเคี่ยมว่า โต๊ะอาโก๊ะ หรือโต๊ะเคียน สุสานดังกล่าวอยู่ในชุมชนร่วมกันสุสานของมุสลิมคนอื่นๆ เป็นเวลายาว นานกว่า 400 ปี สถานที่ฝังศพลิ้มโต๊ะเคี่ยม อยู่ริมอ่าวปัตตานีใกล้กับสุสานชาวจีนในทะเล ชื่ออ่าวปัตตานี บริเววณดังกล่าวปรากฎในจดหมายเหตุราช วงศ์เหม็ง เรียกว่า "อ่าวต้าวเฉียน" ตามชื่อของเต้าเฉียน หรือหลินต้าวเฉียน (ลิ้มโต๊ะเคี่ยม) วีรบุรุษชาวจีนจากเมืองเฉวียนโจว มณฑลฮกเกี้ยนที่มาพำนักอาศัยในเมืองปัตตานี และได้รับตำแหน่ง "ไห่เฉิง" ทำหน้าที่อยู่ที่ท่าเรือของเมืองปัตตานี ท่าเรือดังกล่าวเรียกกันต่อมาว่า "ท่าเรือเต้าเคียน" คุณูปการของลิ้มโต๊ะเคี่ยมต่อเมืองปัตตานีนั้นมีมากมาย นับตั้งแต่เดินทางมาถึงเมืองปัตตานี ในราวปี พ.ศ. 2119 ในรัฐสมัยสุลต่าน บาฮาดูร์ ชาห์ นอกจากได้เป็นนายด่านที่ท่าเรือ ทำหน้าที่เก็บภาษีแล้ว ในสมัยราชินีฮีเยา ยังได้รับมอบหมายให้เป็นสถาปนิกควบคุมการก่อสร้างและบูรณะมัสยิดกรือเซะ จนกระ ทั่งแล้วเสร็จสมบูรณ์ใหญ่โต สวยงาม ดังที่ปรากฎในเอกสารของชาวตะวันตก ต่อมาในสมัยราชินีบีรู บิ้มโต๊ะเคี่ยมได้ทำหน้าที่หบ่อปืนใหญ่ 3 กระบอก คือ พญาตานี ศรีนครา และมหาลากอ จนกระทั่งได้เสียชีวิตลงหลังจากการหล่อปืนใหญ่   3 กระบอกดังกล่าวแล้วเสร็จ


ระหว่างที่พำนักในเมืองปัตตานี ลิ้มโต๊ะเคี่ยมได้เข้ารีตนับถือศาสนาอิสลาม และมีภรรยาซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์ของเจ้าเมืองปัตตานี แม้ว่าข้อมูลเอกสารบางกระแส ระบุว่าลิ้มโต๊ะเคี่ยมเป็นโจรสลัด ทำมาหากินด้วยการปล้นฆ่ามาแล้วมากมายในแถบทะเลจีนใต้ แต่เมื่อเขามีถินพำนักในเมืองปัตตานี เขาได้ทำประโยชน์มาก มายให้แก่เมืองปัตตานี ลิ้มโต๊ะเคี่ยม เมื่อเดินทางมาถึงปัตตานี มีผู้ติดตามมาอยู่ด้วยนับพันคนในเวลาต่อมา จึงเป็นกำลังสำคัญของเมืองปัตตานีไปด้วย และได้บุตรหลานสืบต่อมาเป็นชาวปัตตานีมากมาย ผู้สูงอายุบางรายในตำบลตันหยงลุโละกล่าวด้วยความภูมิใจว่า พวกเขาเป็นลูกหลานของลิ้มโต๊ะเคี่ยม ในหมู่บ้านแถบนั้นมีชาวมุสลิมเชื้อสายจีนมากมาย สุสานลิ้มโต๊ะเคี่ยม และสุสานลิ้มกอเหนี่ยวจึงดำรงอยู่ในชุมชนตันหยงลุโละมายาวนาน พร้อมกับคุณความดีของบุคคลทั้งสองยังเล่าขานกันต่อมาถึงปัจจุบัน

 

 

ข้อมูลการติดต่อ :

    -----------------------------------------------------
    ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือ มัสยิดกรือเซะ ในประวัติศาสตร์นครปตานี
    ศาสตราจารย์ ดร.ครองชัย หัตถา มหาวิทยาลัยสงขลานคริทร์

 

 

 

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com