ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลตันหยงลุโละ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ข้อมูลทั่วไป
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทธรรมชาติ
ประเภทประวัติศาสตร์ และศาสนา
ประเภทศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี
การท่องเที่ยวโดยชุมชน
การท่องเที่ยวเชิงเกษตร
เส้นทางท่องเที่ยวโดยทัวร์อื่นๆ
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
รายชื่อมัสยิด
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
อาหารและเครื่องดื่ม
ศิลปะหัตถกรรม
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

กาแลเบอลันดาและที่ตั้งคลังสินค้า
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

พื้นที่ใกล้ชายทะเลทางทิศเหนือของตำบลตันหยงลุโละต่อกับตำบลบานา ปัจจุบันเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำกว้างขวางกว่าบริเวณอื่นๆ สามารถใช้ทำนาข้าวได้ในฤดูฝน ผู้สูงอายุเรียกบริเวณดังกล่าวว่า "กาแลเบอลันดา" หรือท่าเรือฮอลันดา บางคนเรียกว่า "คลองดัตซ์" ทางทิศใต้ของคลองดังกล่าวสามารถเชื่อมต่อไปยังที่ตั้งคลังสินค้าของชาวต่างประเทศในตัวเมือง ซึ่งอยู่นอกพระราชวัง ตรงข้ามกับประตูวังด้านตะวันตก คอลงดัตซ์กลับคลังสินค้าสามารถเชื่อมต่อด้วยคลองเล็กๆ ซึ่งขุดขึ้นเพื่อนการขนส่งทางน้ำ ปัจจุบันยังมีร่องรอยคลองดังกล่าวอยู่ ชาวบ้านเรียกว่า "อาอีร์ลีเละฮ์" ส่วนด้านเหนือของคลองดัตซ์ มีคลองเชื่อมต่อไปถึงทะเลและไปถึงบริเวณที่เรือใหญ่จอดทอดสมออยู่ คือบริเวณที่ชาวบ้าน เรียกว่า "ปาแจกาปาล" ได้โดยสะดวก เหตุที่เรียกว่า คลองดัตซ์ เนื่องจาก ใกล้ๆคลองดังกล่าว เป็นที่ตั้งบ้านเรือนของชาวฮอลันดาในเมืองปัตตานี ในคลองดัตซ์ก็มีเรือชาติต่างๆ เข้ามาจอดแวะพัก หรือส่งสินค้าได้ทั้งชาวโปรตุเกส อังกฤษ ญี่ปุ่น จีน ชวา ฯลฯ


เรื่องราวเกี่ยวกับคลังสินค้าในเมืองปัตตานีปรากฎในบันทึกของชาวต่างประเทศเป็นจำนวนมาก เช่น จากข้อเขียน ของ W.Blankwaardt เรื่อง Notes upon the Relations between Holland and Siam ตีพิมพ์ใน The Journal of the siam Society. ปี 1972 Vol.xx part 3.pp 241 - 258 ระบุว่า เรือ 6 ลำ ของบริษัท Compagnie van Verre แห่งฮอลันดาที่ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ.1594 ใช้เวลา 10 เดือน จึงถึง Bantam เรือ 2 ลำ คือ Amsterdam และ Gouda นำโดยกัปตัน Jacob van Neck ได้รับคำสั่งให้เดินทางมาปัตตานี แต่การเดินทางผิดพลาดทำให้ไปถึงมาเก๊า เมื่อเดินทางกลับก็ถูกขัดขวางจากชาวโปรตุเกส ชาวญี่ปุ่น และชาวจีนโพ้นทะเลที่เข้าทำการค้าขายอยู่ก่อนแล้ว ทำให้การค้ากับปัตตานีช้า กล่าวคือ ถึงปัตตานี ในปี ค.ศ. 1600 วันที่ 7 พฤศจิกายน (พ.ศ.2143) หลังจากพักที่ปัตตานี 3 วัน ก็ได้รับอนุญาตจากกษัตริย์หญิง (ราชินีฮีเยา) ให้ทำการค้าขายได้โดยเซ้นสัญญาที่มีข้อตกลงกันทั้งสองฝ่าย จากนั้นจึงสร้างโกดังสินค้า (Factorij) และสามารถเปิดทำการในปี ค.ศ. 1602 โดย Danial van der Leck ได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้าสถานีการค้าเป็นคนแรก ในปี ค.ศ.1603 (พ.ศ.2146) มีชาวฮาลันดาอาศัยอยู่ที่ปัตตานี 26 คน โดยส่วนหนึ่งเป็นพนักงานของบริษัท Vereenigde Oost Indische Compagnie (VOC) ซึ่งเข้ามาดำเนินการอยู่ในขณะนั้น
ต่อมาชาวอังกฤษได้เข้ามาทำการค้า โดยบริษัท Brtish East India Company ดังที่ปรากฎในบันทึกของ Peter Williamson Floris ว่า เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1612 (พ.ศ.2155) เรือ The Globe ได้เดินทางมาถึงท่าเรือปัตตานี (Road of Patane) ถือเป็นการเริ่มต้นการค้าระหว่างปัตตานีกับอังกฤษ หลังจากมอบจดหมายให้กษัตริย์ก็ได้รับอนุญาตให้ตั้งคลังสินค้าได้ สถานที่ก่อสร้างคลังสินค้าของอังกฤษ ตั้งอยู่ใกล้ที่พักของชาวฮอลันดา อาคารมีขนาดความยาว 240 ฟุต กว้าง 160 ฟุต ขนาดห้องกว้าง 32 ฟุต ยาว 64 ฟุต ความสูงของหลังคา 64 ฟุต ข้างบนมุงกระเบื้องดินเผา วันที่ 31 ธันวาคม ปีเดียวกัน Peter Williamson Floris ได้เฝ้ารับเสด็จราชินีฮีเยา ที่เสด็จออกมาล่าสัตว์ใกล้กับคลังสินค้าของชาวฮอลันดา กล่าวกันว่า นับเป็นครั้งแรกในรอบ 7 ปี ที่ราชินีไม่ได้เสด็จออกนอกพระราชวัง

นอกจากชาวโปรตุเกส ฮอลันดา และอังกฤษแล้ว ยังมีชาวสเปนและชาวเอเชียอีกหลายชาติมาค้าขายที่ปัตตานี ล่วงมาถึงพุทธศตวรรษที่ 23 กิจการค้าขายก็ซบเซาไป เนื่องจากมีเมืองท่าอื่นๆ เจริญขึ้นมาแทนที่ นอกจากนั้นเหตุการณ์ความไม่สงบภายในเมืองปัตตานีเอง และระหว่างเมืองปัตตานีกับสยาม และเมืองใกล้เคียงซึ่งเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ทำให้ชาวต่างประเทศอพยพไปจากเมืองปัตตานี เหลือเพียงร่องรอยความเจริญและสถานที่สำคัญต่างๆ ตกทอดมาถึงทุกวันนี้

 

 

ข้อมูลการติดต่อ :

    -----------------------------------------------------
    ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือ มัสยิดกรือเซะ ในประวัติศาสตร์นครปตานี
    ศาสตราจารย์ ดร.ครองชัย หัตถา มหาวิทยาลัยสงขลานคริทร์

 

 

 

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com