ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลตันหยงลุโละ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ข้อมูลทั่วไป
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทธรรมชาติ
ประเภทประวัติศาสตร์ และศาสนา
ประเภทศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี
การท่องเที่ยวโดยชุมชน
การท่องเที่ยวเชิงเกษตร
เส้นทางท่องเที่ยวโดยทัวร์อื่นๆ
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
รายชื่อมัสยิด
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
อาหารและเครื่องดื่ม
ศิลปะหัตถกรรม
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

ปาแจกาปาล
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

ปาแจกาปาล คือ บริเวณที่เคยพบสมอเรือที่จมอยู่ใต้น้ำ เนื่องจากมีเรือจมอยู่ใต้พื้นทะเลอ่าวปัตตานี ห่างจากชายฝั่งบ้านตันหยงลุโละ ประมาณ 1 กิโลเมตร บริเวณดังกล่าวเดิมเคยเป็นร่องน้ำลึกที่เรือขนาดใหญ่สามารถนำมาจอดทอดสมอใกล้ชายฝั่ง ก่อนที่จะขนถ่ายสินค้าลงเรือเล็กมายังท่าเรือของเมืองปัตตานีตามจุดต่างๆ ต่อไป ชาวตันหยงลุโละทราบข้อมูลเรื่องจุดเรือจมมาเป็นเวลานานแล้ว โดยบอกเล่าถ่ายทอดกันต่อๆ มาหลายชั่วอายุคน อ่าวปัตตานีเกี่ยวข้องกับการค้าขายทางทะเลมาเป็นเวลายาวนาน บางช่วงเวลามีเรือสำเภานับร้อยๆ ลำในอ่าวปัตตานี กลางคืนสว่างไสวไปด้วยแสงไฟ ดังที่ปรากำในบันทึกของชาวต่างประเทศบริเวณที่เป็ยจุดเรือจมนี้ เคยมีเรือมาจอดทอดสมออยู่เป็นจำนวนมาก ในอดีตบริเวณนี้เคยเป็นสมร ภูมิสงครามยุทธนาวีระหว่างอังกฤษกับฮอลันดา เมื่อพ.ศ. 2162 ทำให้มีเรือสินค้าจมลงในอ่าว ไม่สมารถกู้ได้และจมอยู่ใต้ชั้นโคลนที่ทับถมหนาขึ้นเรื่อยๆ ในหนังสือ Sejarah Kerajaan Melayu Pattani เขียนโดย Ibrahim Syuki (1985) อธิบายว่า เหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างฮอลันดากับอังกฤษแถบเอเชียอาคเนย์ปะทุรุนแรงขึ้น เนื่องจากผลประโชยน์ทางการค้า ทั้งสองฝ่ายจึงติดอาวุธบนเรือ เพื่อคุ้มกันความปลอดภัย เหตุการณ์ที่อ่าวปัตตานีอันเป็นที่มาของชื่อ ปาแจกาปาล เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2162 เรือสินค้าของอังกฤษ 2 ลำ คือ เรือ Hound และเรือ Simpson บรรทุกสินค้ามายังอ่าวปัตตานี ถูกเรือขนาดใหญ่ 3 ลำ ของฮอลันดาพร้อมกำลัง 800 คน บุกเข้าจู่โจมทำร้ายอย่างฉับพลัน การสู้รบเกิดขึ้นนานกว่า 5 ชั่วโมง กัปตัน John Jourdin ประจำเรือ Hound ของอังกฤษถูกฆ่าตาย กัปตัน Boulten ประจำเรือ Simpson และลูกเรืออีก 16 คน เสียชีวิตระหว่างการสู้รบ ที่เหลืออีกกว่า 30 ชีวิต ได้รับบาดเจ็บ ฝ่ายฮอลันดาเข้ารื้อค้นสินค้า แล้วเผาเรือพร้อมยกกำลังขึ้นฝั่งหมายจะทำร้ายชาวอังกฤษที่อาศัยอยู่ในเมืองปัตตานี แต่เจ้าเมืองปัตตานีขณะนั้น คือ ราชินีบีรูทรงห้ามปรามและควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ แต่กระนั้นลูกเรือชาวอังกฤษก็ถูกฮอลันดาควบคุมตัวนานถึง 8 เดือน ส่วนกลาสีเรือบางคนที่รอดชีวิต ก็ถูกฮอลันดานำตัวไปยังญี่ปุ่น ขณะที่เรือ Hound และเรือ Simpson ที่ถูกเผาก็จมลงพื้นทะเลบริเวณดังกล่าว ชาวบ้านจึงเรียกว่า ปาแจกาปาล หรือจุดเรือจม ซึ่งได้กลายเป็นที่นัดหมายของชาวเรือเมื่ออกสู่ท้องทะเล เนื่องจากบริเวณดังกล่าวเป็นร่องน้ำลึกกว่าบริเวณอื่นๆ การเดินเรือออกนอกอ่าวปัตตานีจากจุดนี้จึงสะดวกกว่าบริเวณอื่นๆ

 

 

ข้อมูลการติดต่อ :

    -----------------------------------------------------
    ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือ มัสยิดกรือเซะ ในประวัติศาสตร์นครปตานี
    ศาสตราจารย์ ดร.ครองชัย หัตถา มหาวิทยาลัยสงขลานคริทร์

 

 

 

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com