ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลตันหยงลุโละ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ข้อมูลทั่วไป
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทธรรมชาติ
ประเภทประวัติศาสตร์ และศาสนา
ประเภทศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี
การท่องเที่ยวโดยชุมชน
การท่องเที่ยวเชิงเกษตร
เส้นทางท่องเที่ยวโดยทัวร์อื่นๆ
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
รายชื่อมัสยิด
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
อาหารและเครื่องดื่ม
ศิลปะหัตถกรรม
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

บ่อจีน (กรือเซะ)
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

บ่อจีน หรือบ่อน้ำของชาวจีน ตั้งอยู่บริเวณที่เคยเป็นหมู่บ้านชาวจีนในอดีต ปัจจุบันอยู่ในหมู่ที่ 1 ตำบลตันหยงลุโละ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี เมื่อชาวจีนแยกย้ายออกไปจึงยังคงเหลือเฉพาะบ่อน้ำ ซึ่งเป็นของชุมชน ชาวบ้านเรียกบ่อดังกล่าวว่า บ่อจีน และเรียกหมู่บ้านดังกล่าวว่า กัมปงจินอ หรือหมู่บ้านชาวจีน ชาวจีนกับชาวตันหยงลุโละ มีความสัมพันะ์มายาวนานกว่า 400 ปี ชาวตันหยงลุโละหลายครัวเรือนในปัจจุบันมีบรรพบุรรุษเป็นชาวจีน โดยชาวจีนส่วนหนึ่งได้แต่งงานกับชาวพื้นเมือง บางคนเข้ารับอิสลาม ขณะที่บางคนก็ยังคงยึดถือวิถีชีวิตแบบเดิมตามประเพณีจีน และยังคงอยู่อาศัยในชุมชนชาวจีนสืบต่อมาจนถึงประมาณ 100 ปีที่แล้ว ครอบครัวชาวจีนส่วนใหญ่ได้โยกย้ายไปประ กอบอาชีพและตั้งถิ่นฐานในที่อื่นๆ เช่น ในตัวเมืองปัตตานี ยะลา นราธิวาส และจังหวัดอื่นๆ คงเหลือเพียงชื่อหมู่บ้านและบ่อน้ำชาวจีนที่ยังปรากฎมาถึงทุกวันนี้


ชาวจีนเดินทางมาพำนักอาศัยแถบปัตตานีมาเป็นเวลานานหลายศตวรรษ ตั้งแต่ดินแดนแถบนี้ยังเป็นอาณา จักรลังกาสุกะ ดังที่ปรากฎในบันทึกของจีนหลายฉบับ เช่น เอกสาร Hsu-Seng Chuan ซึ่งรวบ รวมเรื่องราวในสมัยพุทธศตวรรษที่ 12 ระบุว่า ชาวจีนเดินทางมายังลังกาสุกะเพื่อศึกษาพุทธศาสนาก่อนที่ จะเดินทางไปยังอินเดีย ขณะที่บางส่วนเดินทางมาค้าขาย และพำนักอาศัยอย่างถาวรในเมืองต่างๆ แถบนี้ หลักฐานที่กล่าวถึงชาวจีนที่ตันหยงลุโละ ปรากฎในบันทึกของเฟอร์เนา เมนเดส ปินโต (Fernao Mendes Pinto) พ่อค้าชาวโปรตุเกสที่เข้ามาค้าขายในเมืองปัตตานีเมื่อ พ.ศ. 2081 ระบุว่า "ในขณะที่เดินทางมาถึงปัตตานี ได้พบชาวโปรตุเกส ประมาณ 300 คน อาศัยอยู่ในเมืองนี้ นอกจากนั้นยังมีชาวตะวันออก อันได้แก่ ชาวสยาม ชาวจีน และชาวญี่ปุ่น" ในหนังสือ The Kingdom of Patani เขียนโดย Wayne Bougas (1994) ได้อ้างถึงบันทึกของพ่อค้าชาวดัตซ์ที่เข้ามาค้าขายที่เมืองปัตตานี ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 22 ระบุว่า เมืองปัตตานีมีพลเมืองเป็นชาวจีนอาศัยอยู่ถึง 1 ใน 3 โดยก่อนหน้านั้น ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 19 พ่อค้าชาวจีนแถบเมืองฟูเกี้ยน เดินทางมาค้าขายทางเรือที่ปัตตานีกันมาก ชาวจีนในเมืองปัตตานี นอกจากเป็นพ่อค้าแล้วยังทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ของเมืองปัตตานี บางคนทำงานที่ท่าเรือ บางคนเป็นช่างไม้ ช่างศิลป์ ช่างทำอิฐ ช่างเครื่องปั้นดินเผา ฯลฯ ชาวจีนคณะใหญ่อีกกลุ่มหนึ่งที่เดินทางมาในเวลาดังกล่าว ได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นบรรพบุรุษของชาวตันหยงลุโละเชื้อสายจีนในปัจจุบัน คือ ลิ้มโต๊ะเคี่ยมหรือหลินเต้าเฉียน (Lin-Tao-Chien) และคณะชาวจีนที่เดินทางมาในรัชสมัยพระเจ้าซื่อจงฮ่องเต้ แห่งราชวงศ์เหม็งของจีน มาตั้งรกรากที่เมืองปัตตานี ราวปี พ.ศ. 2119 เอกสารบางฉบับระบุว่า จนถึงปี พ.ศ. 2121 มีลูกเรือติดตาม ลิ้มโต๊ะเคี่ยมมาอยู่ในเมืองปัตตานีถึง 2,000 คน ปัจจุบันแม้ว่าจะไม่มีชุมชนชาวจีนเหลืออยู่เลยในตำบลตันหยงลุโละ แต่หลักฐานที่เหลืออยู่คือ บ่อจีน และความภาคภูมิใจของชาวตันหยงลุโละส่วนหนึ่งที่มีบรรพบุรุษเป็นชาวจีนยังคงสืบทอดต่อเนื่อง มาถึงทุกวันนนี้

 

 

ข้อมูลการติดต่อ :

    -----------------------------------------------------
    ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือ มัสยิดกรือเซะ ในประวัติศาสตร์นครปตานี
    ศาสตราจารย์ ดร.ครองชัย หัตถา มหาวิทยาลัยสงขลานคริทร์

 

 

เดินทางอย่างไร :

 


 

 

 

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com