ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลตันหยงลุโละ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ข้อมูลทั่วไป
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทธรรมชาติ
ประเภทประวัติศาสตร์ และศาสนา
ประเภทศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี
การท่องเที่ยวโดยชุมชน
การท่องเที่ยวเชิงเกษตร
เส้นทางท่องเที่ยวโดยทัวร์อื่นๆ
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
รายชื่อมัสยิด
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
อาหารและเครื่องดื่ม
ศิลปะหัตถกรรม
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

สุสานพระยายะหริ่ง
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

สุสานพระยายะหริ่ง ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 บ้านกรือเซะ ตำบลตันหยงลุโละ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ห่างจากมัสยิดกรือเซะไปทางทิศใต้ประมาณ 200 เมตร สุสานพระยายะหริ่ง เป็นที่ฝังศพของเจ้าเมืองยะหริ่ง คือ นิยูโซฟ หรือ โตะกียูโซฟ และเจ้าเมืองยะหริ่งอีก 2 ท่าน คือ นิเมาะ (บุตรของนิยูโซฟ) หรือพระยาพิบูลเสนานุกิจพิชิตเชษฐภักดี และนิโวะ (บุตรของนิเมาะ) หรือ พระยาพิพิธเสนามาตยาธิบดีศรีสุรสงคราม พระยายะหริ่งคนแรก คือ นิยูโซฟ เป็นชาวกรือเซะโดยกำเนิด และเป็นเชื้อสายของพระยาเมืองปัตตานี มีประวัติเล่าต่อกันมาว่า เมื่อกองทัพไทยลงมาปราบปรามเมืองปัตตานี นิยูโซฟมีอายุเพียง 6 ขวบ ได้เข้าไปวิ่งเล่นในค่ายทหารของไทยเป็นประจำตามประสาเด็ก จนเกิดความคุ้นเคยกับทหารไทยเป็นอย่างดี เมื่อการปราบปราม เสร็จสิ้น กองทัพไทยเดินทางกลับกรุงเทพฯ นิยูโซฟได้ติดตามไปด้วยจนถึงกรุงเทพฯ นิยูโซฟได้อาศัยกับทหารคนหนึ่ง ซึ่งพาไปเลี้ยงดู จนได้บวชเป็นสามเณรและเป็นพระภิกษุอยู่หลายพรรษา พระนิยูโซฟสอบนักธรรมได้เป็นพระใบฎีกา เมื่อสึกจากพระ จึงได้เข้ารับราชการในกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในรัชสมัยสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาเมื่อหัวเมืองปักษ์ใต้เกิดความวุ่นวาย ทางราชการทราบว่านิยูโซฟมีเชื้อสายพระยาเมืองปัตตานี จึงได้รับแต่งตั้งให้รับสัญญาบัตรเป็น "พระยายะหริ่ง" ปกครองเมืองยะหริ่ง ในปี พ.ศ. 2388 และเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามเช่นเดิม นิยูโซฟได้จัดระเบียบการปกครองเมืองปัตตานีให้เป็นแบบไทย โดยให้สอดคล้องและไม่ขัดกับหลักปฏิบัติในศาสนาอิสลาม ตัวอย่างเช่น คดีความที่ต้องตัดสินหรือปรับสินไหมให้ใช้ตามพระราชกำหนดกฎหมายไทย เป็นแบบอย่างให้เมืองอื่นๆ เช่น รามันห์และปัตตานี ถือปฏิบัติเช่นเดียวกับเมืองยะหริ่งในเวลาต่อมา


นิยูโวฟถึงแก่อสัญญกรรมในปี พ.ศ. 2396 ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นพระยายะหริ่งคนต่อมา คือ นิเมาะ บุตรคนที่สองของนิยูโซฟ ได้รับพระราชทินนามเป็น "พระยาพิบูลเสนานุกิจพิซิตเชษฐภักดี" ต้นตระกูล "อับดุลบุตร" เมื่อพระยาพิบูลเสนานุกิจฯ ถึงแก่อสัญกรรม บุตรคนที่ 2 คือ นิโวะ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระยายะหริ่งคนต่อมา และได้รับพระราชทินนามเป็น "พระยาพิพิธเสนามาตยาธิบดีศรีสุรสงคราม" ซึ่งได้สร้างวังหลังใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2438 และยังปรากฎมาจนถึงทุกวันนี้ โดยรู้จักกันในชื่อ "วังยะหริ่ง" ล่วงมาถึงสมัยการปฏิรูปการปกครองเป็นมณฑลเทศาภิบาล เมื่อปี พ.ศ. 2499 เมืองยะหริ่งถูกยุบรวมเข้าอยู่กับเมืองปัตตานี โดยเหลือเมืองในการปกครองของมณฑลปัตตานีเพียง 4 เมือง คือ เมืองปัตตานี (รวมเมืองหนองจิก ยะหริ่ง และปัตตา นี) เมืองยะลา (รวมเมืองรามันห์และยะลา) เมืองสายบุรี และเมืองระแงะ ตำแหน่งพระยาเมืองต่างๆ ที่ต้องสิ้นสุดลง โดยทางราชการส่วนกลางได้ส่งสมุหเทศาภิบาลมณฑล มาบริหารราชการแทนพระยาเมือง แต่สำหรับวงศ์ตระกูลพระยายะหริ่งยังคงมีบทบาททางการเมืองสืบต่อมาอีกหลายคน สุสานของพระยายะหริ่งทั้ง 3ท่าน และวงศ์ตระกูลตั้งอยู่ที่บ้านกรือเซะ ประดับประดาด้วยหินแกรนิตสลักลวดลายสวยงาม แต่เนื่อง จากสภาพของสุสานถูกทิ้งร้างมานาน หลังคาคลุมสุสานผุพังไปตามกาลเวลา คงเหลือแต่เสาหินแกรนิตตั้งโดดเด่นอยู่ จำนวน 9 ต้น จึงควรมีการบูรณะพัฒนา รวมทั้งปรับปรุงภูมิทัศน์และทางเข้าชมสุสาน เพื่อให้เป็นแหล่งโบราณสถานที่เกี่ยวกับบุคคลสำคัญของเมืองปัตตานีและเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสาตร์ของเมืองปัตตานีต่อไป

 

 

ข้อมูลการติดต่อ :

    -----------------------------------------------------
    ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือ มัสยิดกรือเซะ ในประวัติศาสตร์นครปตานี
    ศาสตราจารย์ ดร.ครองชัย หัตถา มหาวิทยาลัยสงขลานคริทร์

 

 

 

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com