ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลตันหยงลุโละ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ข้อมูลทั่วไป
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทธรรมชาติ
ประเภทประวัติศาสตร์ และศาสนา
ประเภทศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี
การท่องเที่ยวโดยชุมชน
การท่องเที่ยวเชิงเกษตร
เส้นทางท่องเที่ยวโดยทัวร์อื่นๆ
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
รายชื่อมัสยิด
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
อาหารและเครื่องดื่ม
ศิลปะหัตถกรรม
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

บ่อน้ำฮังตูเวาะห์(แม่ทัพมะละกา)
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

ประวัติความเป็นมา
ตั้งอยู่ตำบลอตันหยงลูโล๊ะ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ที่ตั้งของบอน้ำอยู่ห่างจากมัสยิดกรือเซะไปทางตะวันนออกเฉียงใต้ เป็นระยะทางประมาณ 100 เมตร ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 42 ปัตตานี-นราธิวาส ประวัติของบ่อน้ำแห่งนี้เกี่ยวข้องกับแม่ทัพมะละกา ชื่อ ฮังตูวะฮ์ (Hang Tuah) ซึ่งเดินทางมาเยือนปัตตานีเพื่อสร้างมิตรภาพ และความสัมพันธ์ที่ดีกับปัตตานี ด้วยเหตุที่เมืองทั้งสองในเวลานั้นเป็นเมืองท่าที่มีชื่อเสียงของอาคเนย์ โดยเฉพาะปัตตานีนั้นได้รับความนิยมจากพ่อค้าต่างประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนั้นยังเป็นความประสงค์ของสุลต่านมะละกาในเวลานั้นให้มาติดตามความเคลื่อนไหวของสยาม ซึ่งกำลังมีอิทธิพลต่อหัวเมืองมลายูในระยะนั้น ขณะที่ฮังตูวะฮ์พำนักอยู่ในเมืองปัตตตานี จึงได้รับการดูแลความปลอดภัยเป็นพิเศษ แม้แต่บ่อน้ำก็ต้องขุดขึ้นเป็นการเฉพาะ เมื่อฮังตูวะฮ์เสร็จสิ้นภารกิจในเมืองปัตตานี และเดินทางกลับมะละกา บ่อน้ำดังกล่าวจึงถูกเรียกว่า "บ่อฮังตูวะฮ์" นอกจากชื่อบ่อฮังตูวะฮ์แล้วประตูใหญ่ของพระราชวังปัตตานี ซึ่งอยู่ใกล้ๆ กับบ่อฮังตูวะฮ์ก็ถูกเรียกขานว่า "ประตูชัยฮังตูวะฮ์" นับแต่นั้นมา

ความสัมพันธ์ระหว่างปัตตานีกับมะละกา ดำเนินมาด้วยดี นับตั้งแต่สุลต่าน อิสมาอีล ชาห์ หรือพญาอินทิรา ปกครองปัตตานี ตั้งแต่ พ.ศ. 2043 เป็นต้นมา แม้ว่าก่อนหน้านั้นในปี พ.ศ. 1998-2003 มะละกาส่งกงองทัพมาโจมตีเมืองโกตามหลิฆัย เป็นการโต้ตอบสยามที่เคยส่งกองทัพไปโจมตีเมืองมะละกา และหัวเมืองมลายูที่อื่นๆ เพื่อขยายอำนาจลงไปยังดินแดนแถบนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 1838 เป็นต้นมา เมืองโกตามหลิฆัยมีความสัมพันธ์ที่ดีกับสยาม ระหว่างปี พ.ศ. 1890-1893 พระฤทธิเทวาแห่งโกตามหลิฆัยได้นำชาวเมืองไปช่วยพระเจ้าอู่ทองสร้างพระนครศรีอยุธยา เมื่อกองทัพสยามเดินทางกลับพระนครไปแล้ว เมืองโกตามหลิฆัยจึงถูกเป็นเป้าโจมตีจากกองทัพมะละกา ขณะเดียวกันมะละกาก็ขยายอำนาจเข้าปกครองเมืองต่างๆ ตอนล่างของคาบสมุทรมลายู ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 21 ปัตตานีตกเป็นเมืองขึ้นของมะละกาในปี พ.ศ. 2003 เป็นต้นมา เมืองปัตตานีในขณะนั้นกำลังถูกสร้างขึ้นใหม่ที่กรือเซะ-บานา (คือบริเวณตำบลตันหยงลุโละในปัจจุบัน) แทนเมืองเดิมคือ โกตามหลิฆัย ที่ได้รับความเสียหายจากการโจมตีของมะละกา และสภาพของเมืองที่ห่างไกลจากฝั่งทะเลไม่เป็นที่นิยมของพ่อค้านักเดินเรือ จึงยากแก่การฟื้นฟู จนกระทั่งถึง พ.ศ. 2054 มะละกาตกเป็นเมืองขึ้นของโปรตุเกส ปัตตานีจึงกลับมาเป็นอิสระจากมะละกา ในสมัยพญาอินทิรา ปฐมกษัตริย์ของปัตตานี ได้สร้างความสัมพันธ   ไมตรีกับสยามและมะละกา โดยเสด็จเยือนมะละกาด้วยพระองค์เอง ซึ่งได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีจากสุลต่าน มะหะหมัด ชาห์ แห่งมะละกา (สุลต่านองค์สุดท้ายก่อนที่มะละกาตกเป็นอานานิคมของโปรตุเกส) ขณะเดียวกัน กษัตริย์มะละกาก็ได้ส่งแม่ทัพฮังตูวะฮ์ มาเยือนปัตตานีด้วยเช่นกัน ฮังตูวะฮ์ และชื่อประตูพระราชวัง "ชัยฮังตูวะฮ์" จึงเป็นอนุสรณ์สถานในการมาเยือนปัตตานีของฮังตูวะฮ์ แม่ทัพผู้ยิ่งใหญ่แห่งมะละกาในยุคนั้น ฮังตูวะฮ์เสียชีวอตที่มะละกา สุสานของท่านที่นั่นได้รับการดูแลอย่างดี และเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวในการเดินทางไปเยี่ยมชม
 

 

 

สิ่งอำนวยความสะดวก :
สิ่งอำนวยความสะดวก
  •   ถังขยะ   
  •   ป้ายบอกทาง
  •   ป้ายสื่อความหมาย   
  •   ร้านอาหาร
  •   ห้องน้ำ
 

 

ข้อมูลการติดต่อ :

    ที่อยู่: ม. 3 บ. กรือเชะ - ตำบล/แขวงตันหยงลุโละ อำเภอ/เขตเมืองปัตตานี
    จังหวัด: ปัตตานี
    รหัสไปรษณีย์: 94000
    หน่วยงานรับผิดชอบ: อบต.ตันหยงลุโละ

    ..........................................

    ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก http://61.19.236.136:8090/dotr/touristlist.php?provinceid=32&provlat=6.866667&provlong=101.250000

 

 

แผนที่ : 
 

 

 

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com