ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลกะมิยอ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ข้อมูลทั่วไป
สถานที่ท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวโดยชุมชน
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
รายชื่อมัสยิด
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
ศิลปะหัตถกรรม
กลุ่มอาชีพ / สินค้า
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

หมู่บ้านชาวจีนที่กาแลบือซาร์
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

หมู่บ้านชาวจีน ตั้งอยู่ใกล้กับกาแลบือซาร์ ตำบลกะมิยอ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ในปัจจุบัน ห่างจากมัสยิดกรีเซะไปทางตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 2.5 กิโลเมตร ที่ตั้งของหมู่บ้านชาวจีนดั้งเดิมมีขนาดใหญ่ชื่อว่า "กาแลจินอ" ซึ่งหมายถึงท่าเรือของชาวจีน หรือบ้านท่าจีนนั่นเอง หมู่บ้านชาวจีนที่นี่มีอายุเก่าแก่กว่าที่กรีเซะ บริเวณหมู่บ้านชาวจีนแห่งนี้เคยเป็นท่าเรือของลังกาสุกะมาก่อน ร่องรอยหลักฐานที่เหลืออยู่ ได้แก่ บ่อน้ำของชาวจีน ฐานเสาศาลที่พัก เนินดินที่เคยเป็นโรงเผาอิฐขนาดใหญ่หลายโรง รวมทั้งชื่อหมู่บ้าน "กาแลบือซาร์" ซึ่งหมายถึงท่าเรือใหญ่ เมื่อไม่นานมานี้ยังพบเสากระโดงเรือขนาดใหญ่เหลืออยู่บรเวณแนวทางน้ำเก่าของคลองปาเระ ซึ่งเชื่อมต่อไปถึงเมืองโกตามหลิฆัยของลังกาสุกะ สำหรับบริเวณเนินดินที่เคยเป็นโรงเผาอิฐนั้นยังมีบางส่วนฝังดินอยู่ บางส่วนกระจายอยู่บริเวณผิวดิน เมื่อได้นำตัวอย่างอิฐไปตรวจสอบเบื้องต้น เปรียบเทียบกับอิฐส่วนฐานของมัสยิดกรือเซะ พบว่ามีขนาดเนื้ออิฐใกล้เคียงกันมาก จึงเป็นไปได้ว่าเป็นอิฐที่ใช้สร้างมัสยิดกรือเซะในยุคแรก โดยเฉพาะส่วนฐานที่ยังคงสภาพเดิมอยู่จนถึงทุกวันนี้นั้นเป็นอิฐที่ผลิตจากโรงเผาอิฐจากหมู่บ้านกาแลจินอแห่งนี้

เรื่องราวเกี่ยวกับชาวจีนร่วมสมัยกับชุมชนแห่งนี้ปรากฏในเอกสารจีนมากมาย ในสมัยต้นราชวงศ์หมิงของจีน ค.ศ.1405-1433 (พ.ศ.1948-1976) ก่อนการสร้างเมืองปัตตานีที่กรือเซะ บันทึกของเจิ้งเหอในหนังสือ "แผนที่เดินเรือ" หรือ "หังไห่ถู" กล่าวถึงการเดินเรือผ่านบริเวณนี้ไปยังยุโรปกว่า 7 ครั้ง และได้กล่าวถึงประเทศทางตะวันออกประเทศหนึ่ง ได้แก่ "หลางหยาซิว" ในช่วงกลางและปลายสมัยราชวงศ์หมิง ได้ปรากฏชื่อ ต้าหนี ป๋อหนี และ ฝอหนี แทนหลางหยาซิว ขณะที่ชาวจีนโพ้นทะเลเรียกว่า ต้าเหนียน หรือ เป่ยต้าเหนียน ซึ่งก็คือเมืองปัตตานี นั่นเอง ป๋อหนีเริ่มติดต่อเป็นทางการกับจีนในสมัยราชวงศ์ไท่จง ในบันทึกตงซีหยางเข่า ค.ศ.1617 (พ.ศ.2160)  เขียนว่า ป้อหนี แต่เดินคือประเทศในอาณัติของชวา(หมายถึง มัชปาหิตในสมัยนั้น) ต่อมาจึงเป็นประเทศอยู่ในอาณัติของสยาม

แม้ว่าจะไม่สามารถระบุได้ชัดว่าชาวจีนกลุ่มใดบ้างได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณบ้านกสแลบือซาร์แห่งนี้ และบริเวณบ่อจีนก็เป็นหมู่บ้านร้าง ไม่มีบ้านเรือนมากว่า 100 ปีแล้ว ศาลาที่พักสร้างขึ้นด้วยไม้ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา สิ่งที่เหลืออยู่คืออิฐและปูนบางส่วน รวมทั้งชื่อบ่อจีนและหมู่บ้านชาวจีนโบราณแห่งนี้ จึงยังคงมีความหมายต่อการสืบค้นหาความจริงอันรุ่งเรืองในอดีตของเมืองปัตตานี 

 

 

แผนที่ : 
 

 

 

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com