ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลท่าข้าม อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
ข้อมูลทั่วไป
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทประวัติศาสตร์ และศาสนา
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
รายชื่อมัสยิด
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
อาหารและเครื่องดื่ม
ศิลปะหัตถกรรม
กลุ่มอาชีพ / สินค้า
สิ่งอำนวยความสะดวก
โรงพยาบาล
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

วัดหงสาราม (วัดท่าข้ามหรือวัดใหม่)
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

วัดหงสาราม (วัดท่าข้ามหรือวัดใหม่)
วัดที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญประปรมาภิไธยไปประดิษฐานที่หน้าพระอุโบสถ สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุต ปัจจุบันเป็นวัดราษฎร์ ห่างจากตัวอำเภอประมาณ ๓ กิโลเมตร มีเนื้อที่ตั้งวัดทั้งหมด ๕๑ ไร่ ๔๘ ตารางวา มีธรณีสงฆ์ ๑๕ แปลง เนื้อที่ ๑๗ ไร่ ๑ งาน ๗๗ ตารางวา และห่างจากตัวจังหวัดประมาณ ๔๒ กิโลเมตร
ประวัติ วัดหงสารามสร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๒๐๐ ชาวบ้านเรียกกันว่าวัดใหม่ เพราะย้ายมาตั้งขึ้นใหม่จากวัดเดิมชื่อว่าวัดท่ากุน ใกล้อำเภอยะหริ่ง และอยู่บริเวณใกล้เคียงกับวัดทุ่งคา แต่เดิมวัดใหม่สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ต่อมาได้มีพระภิกษุสังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุตได้เข้ามาพำนักและได้เปลี่ยนสังกัดเป็นธรรมยุต จากหลักฐานที่ปรากฏชัดเจนในจารึกการสร้างกุฏิไม้ ๓ หลังของวัดใหม่ เมื่อวันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๓๒ ในสมัยพระปลัดหนูเป็นเจ้าอาวาส และเมื่อสร้างเสร็จได้จัดงานฉลองสมโภชกุฏิ ในวันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๓๗ สมัยพระปลัดสู เป็นเจ้าอาวาส ในหลักฐานการจัดการคณะสงฆ์ในปี พ.ศ. ๒๔๓๐ พระครูธรรมโมลี (กิ้มเส้ง) วัดมัชฌิมาวาส เมืองสงขลาได้มาจัดการคณะสงฆ์หัวเมืองปัตตานี ได้ตั้งพระอธิการนุ้ย วัดมะปรางทอง (วัดบ้านนอก) เป็นพระครูธรรมวิโรจน์ เจ้าคณะใหญ่เมืองยะหริ่งและเลือกพระฐานานุกรม ๕ ตำแหน่งตามอัธยาศัยของเจ้าคณะใหญ่ หลักฐานกล่าวถึงวัดใหม่ในปีนี้ว่า พระอธิการสู วัดใหม่เป็นที่พระสมุห์ของเจ้าคณะใหญ่เมืองยะหริ่ง เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๒ เมื่อพระรัตนธัชมุนี (ม่วง รตนธโช) เจ้าคณะมณฑลนครศรีธรรมราชและปัตตานีได้มาตรวจตราคณะสงฆ์และได้จำวัดที่วัดใหม่ ได้เปลี่ยนชื่อวัดใหม่ วัดท่าข้าม ตามชื่อหมู่บ้าน ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๕ พระปลัดแดง อินฺทวโส ซึ่งเป็นพระภิกษุสังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุต เข้ามาพำนักที่วัดท่าข้าม นับแต่นั้นมาวัดท่าข้ามก็สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุตและต่อมาพระปลัดแดงได้เปลี่ยนชื่อวัดเป็นวัดหงสาราม เพราะเนื้อที่วัดมีลักษณะเป็นรูปหงส์ขนาดใหญ่ และหมู่บ้านแถบนี้มีชื่อเกี่ยวข้องกับหงส์ เช่น บ้านตาหงส์ บ้านน่องหงส์ ที่สำคัญที่สุดหน้าวัดมีเสาหงส์ขนาดใหญ่ซึ่งปัจจุบันชำรุดหมดแล้ว เท่าที่ปรากฏหลักฐานวัดแถบจังหวัดชายแดนภาคใต้มีเสาหงส์เกือบทุกวัด เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๓ พระครูพุทธวีรากร (ยก พุทธวีโร) ได้เปิดสอนพระปริยัติธรรมแผนกธรรมขึ้น เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕ วัดหงสารามได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา มีเขตวิสุงคามสีมากว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร เมื่อวันที่ ๒ กันยายน พ.ศ.๒๕๒๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาทรงยกช่อฟ้าอุโบสถ เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๒๖ วัดหงสารามได้จัดผูกพันธสีมา ปัจจุบันมีหลักฐานปรากฏอยู่คือ มีการสลักรูปหงส์ไว้ตามที่ต่าง ๆ เช่น ที่เสาธง ที่ป้ายหน้าวัด ชาวบ้านเล่าว่ารูปที่สลักเหล่านี้มีอายุมากกว่า ๑๐๐ ปี ปัจจุบันยังเหลือซากอยู่ วัดหงสารามยังมีกุฏิและศาลาทรงไทยซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่มีอายุมากกว่า ๑๐๐ ปีเหลืออยู่ ที่ได้มีการบูรณะและสร้างใหม่บ้าง เช่น มีการสร้างอุโบสถใหม่ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันทรงประกอบพิธียกช่อฟ้า เมื่อวันที่ ๒ กันยายน พ.ศ.๒๕๒๐ ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระปรมาภิไธยไปประดิษฐานที่หน้าพระอุโบสถ เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๐
ลำดับเจ้าอาวาสเท่าที่มีหลักฐานปรากฏ
๑. พระปลัดหนู พ.ศ. ๒๔๓๔
๒. พระปลัดสู พ.ศ. ๒๕๓๔
๓. พระปลัดแดง อินฺทวโส พ.ศ. ๒๔๔๕–๒๔๖๘
๔. พระครูพุทธวีรากร (ยก พุทธวีโร) พ.ศ. ๒๔๖๔– ๕๑๒
๕. พระครูสุทธิกาญจโนภาส (จันทอง กาญจโน) พ.ศ. ๒๕๑๒ - ปัจจุบัน
สิ่งสำคัญภายในวัด
-(พระอุโบสถ / วิหาร / ศาลาการเปรียญ / พิพิธภัณฑ์ ฯลฯ) อุโบสถ วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๔ อำนวยการสร้างโดยพระครูสิทธิกาญจนโนภาส โครงสร้างทรงไทยแบบคอนกรีตเสริมเหล็กขนาดกวาง ๗.๕๐ เมตร ยาว ๑๗.๕๐ เมตร หลังคา ๓ ชั้น หน้าบันมีพระปรมาภิไธยย่อ ภปร. หน้าประตูอุโบสถมีรูปยักษ์ถือกระบอกเฝ้าประตู อุโบสถหลังนี้สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาทรงยกช่อฟ้าอุโบสถวัดหงสารามวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๒๐
-พระปรางค์ ไม่ปรากฏปีที่สร้างพระครูสุทธิกาญจโนภาส กล่าวว่าเป็นของโบราณอยู่คู่กับวัดตั้งแต่ยังสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นกรสร้างเพื่อบรรจุอัฐิของพระปลัดหนูหรือพระปลัดสู รูปใดรูปหนึ่งหรือทั้งสองรูป ลักษณะของพระปรางค์สร้างแบบก่ออิฐถือปูน มีการปั้นลวดลายกนกด้วยปูนประดิษฐานอยู่หลังอุโบสถ
-กุฏิไม้ทรงไทยสามหลัง สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๒ โดยพระปลัดหนู เจ้าอาวาสวัดใหม่ซึ่งมรณภาพในปี พ.ศ. ๒๔๓๔ พระปลัดสู เจ้าอาวาสรูปต่อมาได้สร้างเพิ่มเติมจนเสร็จในปี พ.ศ. ๒๔๓๗
-ศาลาสถูปบรรจุอัฐิและรูปเหมือนอดีตเจ้าอาวาส ไม่ปรากฏปีที่สร้าง แต่สร้างขึ้นในสมัยพระครูสุทธิกาญจโนภาส ภายในมีสถูปบรรจุอัฐิและรูปเหมือนพระปลัดแดง อินฺทวโส และพระครูพุทธวีรากร (ยก พุทธวีโร)
-โรงธรรมศาลา สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐ โดยพระนุ้ย นิฏโฐ, พระพรหม, พระหนู, พระกิ้ม ลักษณะเป็นศาลาพื้นทำด้วยไม้ทั้งหลัง กว้าง ๘.๕๐ เมตร ยาว ๑๓ เมตร ๗. ศาลาโรงเรียนวัด ไม่ปรากฏปีที่สร้าง เป็นศาลาไม้ยกพื้นมีบันไดสามทาง ในอดีตใช้เป็นอาคารเรียนหนังสือของเด็กในตำบลท่าข้ามอำเภอปะนาเระ ๘. ศาลาพักร้อน ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้าง แต่สันนิษฐานกันว่าอายุเกินกว่า ๑๐๐ ปี สร้างด้วยไม้ทั้งหลัง เสาทั้งสี่แกะเป็นรูปบัวตรงหัวเสา หลังคามุงด้วยกระเบื้องดิน นับได้ว่าเป็นลักษณะทางสถาปัตยกรรมสวยงามนักรูปแบบหนึ่ง วัดหงสารามมีกุฏิไม้ยกพื้นจำนวน ๘ หลัง หอฉัน ๑ หลัง เมรุ ๑ หลัง พระภิกษุจำพรรษาปี พ.ศ. ๒๕๔๑ จำนวน ๒ รูป
คำสำคัญ
วัดที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญประปรมาภิไธยไปประดิษฐานที่หน้าพระอุโบสถ

 

 

วันเปิดทำการ :  ทุกวัน
 

 

ข้อมูลการติดต่อ :

    สถานที่ตั้ง
    ชื่อวัด วัดหงสาราม (วัดท่าข้ามหรือวัดใหม่)
    เลขที่ ๒๕ หมู่ที่/หมู่บ้าน ๑
    ตำบล ท่าข้าม อำเภอ ปะนาเระ จังหวัด ปัตตานี

    รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
    สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปัตตานี
    ตำบล สะบารัง อำเภอ เมืองปัตตานี จังหวัด ปัตตานี รหัสไปรษณีย์ 94000
    โทรศัพท์ 073323195-7

    --------------------
    ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจากเว็บไซต์ http://m-culture.in.th

 

 

แผนที่ : 
 

 

 

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com