ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลควน อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
ข้อมูลทั่วไป
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทประวัติศาสตร์ และศาสนา
การท่องเที่ยวโดยชุมชน
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
รายชื่อมัสยิด
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
อาหารและเครื่องดื่ม
ศิลปะหัตถกรรม
เครื่องสำอาง
ธุรกิจขนาดกลาง/ ขนาดย่อม
กลุ่มอาชีพ / สินค้า
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

จิตรกรรมฝาผนัง วัดควนใน
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

จิตรกรรมฝาผนัง วัดควนใน
ประเภท จิตรกรรมฝาผนัง วัสดุที่ทำ จิตรกรรมฝาผนังที่วัดควนใน มี 2 แห่ง คือ ที่อุโบสถและที่กุฏิ
1) จิตรกรรมฝาผนังที่อุโบสถ ซึ่งอุโบสถเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน จิตรกรรมเขียนที่ฝาผนัง เสา เพดาน เขียนภาพด้วยสีฝุ่น บนผนังตึก สีที่ใช้มีลักษณะเป็นสีพื้นเมืองใช้สีสด ภาพจิตรกรรมลบเลือนเล็กน้อย พื้นที่จิตรกรรมประมาณ 180.25 ตารางเมตร เป็นฝีมือช่างพื้นเมือง
2) จิตรกรรมฝาผนังที่กุฏิ ซึ่งกุฏิเป็นอาคารแฝดเรือนไทยทรงไม้ หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผา สันนิษฐานว่าอาคารนี้สร้างในสมัยรัชกาลที่ 6 ภาพเขียนภายในน่าจะมีอายุราวนี้ จิตรกรรมเขียนที่บริเวณคอสอง เพดานและฝากั้นห้อง เป็นภาพเขียนสีฝุ่นบนไม้ สภาพค่อนข้างสมบูรณ์
ลักษณะภาพจิตรกรรมฝาผนัง
1) จิตรกรรมฝาผนังที่อุโบสถ ซึ่งอุโบสถเป็นฝีมือช่างพื้นเมือง ลำดับภาพตอนบน เป็นเรื่องพระเวสสันดร เรียงลำดับกันไปโดยรอบ ตอนระหว่างซุ้มโค้งประตูหน้าต่างเป็นเรื่องพุทธประวัติ และทศชาติชาดก โดยเรียงลำดับจากด้านหลังมาทางด้านหน้าอุโบสถ
2) จิตรกรรมฝาผนังที่กุฏิ เป็นฝีมือช่างพื้นเมือง เรื่องราวที่เขียนเป็นเรื่องขององคุลีมาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพุทธประวัติ มีการเขียนคำอธิบายประกอบ นอกจากนี้ยังมีภาพพระพุทธเจ้าปางสมาธิ ทรงเครื่องโดยปิดทองที่องค์พระและที่ฐาน ภาพพระอาทิตย์ พระจันทร์และเทพลีลา พื้นที่จิตรกรรมประมาณ 23.06 ตารางเมตร สาระ 1. จิตรกรรมฝาผนังอุโบสถ ให้สาระดังนี้ แสดงให้เห็นวิถีชีวิตดำเนินชีวิตของชาวปัตตานี สังเกตได้จากภาพชูชกตกปลาหา เลี้ยงนางอมิตา มีไซสำหรับใส่ปลาสะพายบ่า ภาพแสดงให้เห็นเครื่องสูบลมเป่า ไฟ ทั่งตัวเหล็ก การฟั่นเชือกล่ามวัวอยู่กลางทุ่ง การใช้ตีหมาตักน้ำจากบ่อกลางบ้านขึ้นมาไว้ การใช้โค 2 ตัวลากเกวียน การพกอาวุธแบบพื้นเมืองของชาวบ้าน โดยพกขวาน พร้าโอ มีดอ้ายครก ทหารเหน็บกริช สะท้อนให้เห็นความเชื่อ ในเรื่อง ต้นนารีผล รามสูรเมขลา และเรื่องไตรภูมิ ภาพ พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากดาวดึงส์ มีภาพบันไดนาก เงินและแก้วทอดขนาดลงมาสู่โลกมนุษย์ แสดงให้เห็นบรรดาทวยเทพตามคติความเชื่อ เรื่องพระพรหม พรอิศวร พระอินทร์ ที่เสด็จมาชมบุญบารมี ภาพแสดงชีวิตของคน มีทั้งสร้างกรรมดีกรรมชั่ว ให้เห็นนรกภูมิ สัตว์นรกต่างทนทุกข์ทรมาน ตามกรรมของตน 2. จิตรกรรมฝาผนังที่กุฏิ เพดานเขียนภาพพระอาทิตย์ พระจันทร์ และเทพโดยมีวงกลมล้อมรอบ ที่คอสองเขียนเรื่ององคุลีมาน เพื่อได้พบพระพุทธเจ้า จึงได้บรรพชา ต่อมาบรรลุนิพพานเป็นพระอรหันต์ จิตรกรรมที่เขียนเรื่ององคุลีมานไม่ค่อยมีใครเขียน จึงนับเป็นภาพจิตรกรรมที่มีคุณค่ามาก สภาพของเอกสารสำคัญ จิตรกรรมฝาผนังที่อุโบสถ ภาพลบเลือนเล็กน้อย จิตรกรรมที่กุฏิ สภาพยังค่อนข้างสมบูรณ์ มีสีสด ลายเส้นบางส่วนค่อนข้างงาม สถานที่เก็บรักษา อยู่ที่วัดควนใน ตำบลบ้านควน อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี

 

 

ข้อมูลการติดต่อ :

    จิตรกรรมฝาผนัง วัดควนใน
    ตำบล ควน อำเภอ ปะนาเระ จังหวัด ปัตตานี


    --------------------
    ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจากเว็บไซต์ http://m-culture.in.th

 

 

 

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com