ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลสะเตง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ข้อมูลทั่วไป
เส้นทางท่องเที่ยวโดยนักวิจัย
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทธรรมชาติ
ประเภทประวัติศาสตร์ และศาสนา
สันทนาการและการบันเทิง
เส้นทางท่องเที่ยวโดยทัวร์อื่นๆ
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
รายชื่อมัสยิด
โรงแรม / ที่พัก
โรงแรม รีสอร์ท และสปา
ร้านอาหาร
ร้านอาหาร
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
อาหารและเครื่องดื่ม
ศิลปะหัตถกรรม
เครื่องนุ่งห่ม
ธุรกิจขนาดกลาง/ ขนาดย่อม
กลุ่มอาชีพ / สินค้า
สิ่งอำนวยความสะดวก
สถานีตำรวจ
โรงพยาบาล
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

มัสยิดเราฎอตุลยันนะห์
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

ประวัติมัสยิด            
ประวัติมัสยิดกลางประจำจังหวัดยะลา(มัสยิดเราฎอตุลยันนะห์)มัสยิดกลางประจำจังหวัดยะลา(มัสยิดเราฎอตุลยันนะห์) ตั้งอยู่เลขที่ ๘๓๕ ถนนสิโรรส ตำบลสะเตง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา ได้มีการบันทึกไว้ว่า เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๘ นายอุสมาน ดอเฮะ ได้ซื้อที่ดินแปลงหนึ่งในเขตตำบลสะเตง อำเภอเมืองยะลา เนื้อที่ประมาณ ๒๕๐ ตารางวา เมื่อซื้อที่ดินแล้วก็ได้ลั่นวาจาว่า หากใครจะสร้างมัสยิดข้าพเจ้าจะยกที่ดินแปลงนี้ให้ในปี พ.ศ. ๒๔๗๐ นายอุสมาน ดอเฮะ ได้ถึงแก่กรรม และในปีเดียวกันโต๊ะครูหะยีอาแว หะยีตันตู ซึ่งมีปอเนาะอยู่ตรงข้ามกับที่ดินของนายอุสมาน ดอเฮะ กำลังจัดหาที่ดินเพื่อที่จะสร้างมัสยิดและได้เชิญนายแวยูโซะ โต๊ะแปเราะ มาปรึกษาและให้ช่วยหาที่ดินเพื่อที่จะสร้างมัสยิด นายแวยูโซะ จึงแจ้งให้โต๊ะครูทราบว่ามีที่ดินแปลงหนึ่งตรงข้ามกับปอเนาะของโต๊ะครูซึ่งเป็นที่ดินของนายอุสมาน ดอเฮะ แต่เขาได้ถึงแก่กรรมไปแล้ว นายแวยูโซะ อาสาจะไปปรึกษากับทายาทของนายอุสมาน ดอเฮะ หลังจากนั้นนายแวยูโซะ ได้มาแจ้งกับนางแมะซงบุตรนายอุสมาน ภรรยาของนายแวยูโซะ นางแมะซงแจ้งว่า จะต้องไปปรึกษากับนายมะแซ ดอเฮะ พี่ชายก่อนเมื่อนายมะแซ ดอเฮะ ทราบเรื่อง จึงแจ้งแก่นายแวยูโซะว่า ที่ดินแปลงนั้นนายอุสมาน ดอเฮะ บิดา ได้ลั่นวาจาว่าถ้าใครต้องการที่ดินเพื่อจะสร้างมัสยิดเขาจะยกที่ดินให้โดยที่ดินมีเนื้อที่ประมาณ ๒๕๐ ตารางวา จริง แต่หลังจากบิดาได้เสียชีวิตไป ได้จัดการแบ่งมรดกไปแล้ว ที่ดินแปลงดังกล่าวได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของนางแมะเยาะ น้องสาวคนสุดท้องนายมะแซ แจ้งแก่นายแวยูโซะ ว่าจะเชิญมารดาและพี่น้องมาปรึกษากันก่อน เพื่อเสนอว่าจะซื้อที่ดินแปลงอื่นมาทดแทนให้กับนางแมะเยาะ โดยมารดาจะเป็นผู้รับภาระจัดซื้อให้ หลังจากตกลงกันได้แล้ว นายมะแซและนายแวยูโซะมาแจ้งให้โต๊ะครูทราบ โต๊ะครูจึงบอกให้นายมะแซและนายแวยูโซะ จัดหาที่ดินแปลงอื่นมาแลกเปลี่ยนให้แก่นางแมะเยาะปี พ.ศ. ๒๔๗๑ หลังจากได้ซื้อที่ดินมาแลกเปลี่ยนกับนางแมะเยาะ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว นายมะแซและนายแวยูโซะ จึงไปแจ้งให้โต๊ะครูทราบ ในปีต่อมาโต๊ะครูได้ให้ลูกศิษย์ทำการถางป่าและปรับพื้นที่ พื่อจะทำการก่อสร้างมัสยิดและให้ลูกศิษย์ไปบอกแก่ญาติพี่น้องให้ทราบด้วยปี พ.ศ. ๒๔๗๕ เริ่มดำเนินการก่อสร้าง เป็นอาคารชั้นเดียว เสาไม้ หลังคามุงกระเบื้องปี พ.ศ. ๒๔๗๘ เจ้าเมืองยะหริ่ง(อับดุลกอเดร์) ทราบข่าวการก่อสร้างมัสยิดจากนายหะยีหะมะ และนายหะยีอิสมาแอ เบ็ญฮาวัน จึงบอกแก่บุคคลทั้งสองว่า จะเป็นผู้ออกค่ากระเบื้องมุงหลังคาให้ปี พ.ศ. ๒๔๘๐ เจ้าเมืองยะหริ่งได้ส่งกระเบื้องมาเพื่อทำการมุงหลังคามัสยิดเป็นที่เรียบร้อยปี พ.ศ. ๒๔๘๒ นายหะยียูโซะ หะยีอาซา ได้มอบที่ดินข้างเคียงด้านทิศใต้ของมัสยิด กว้าง ๑ วา ยาวตลอดถึงด้านหลังมัสยิด ขณะเดียวกันนายหะยีอูเซ็ง ก็ได้มอบที่ดินข้างเคียงด้านทิศเหนือ กว้าง ๕ เมตร ยาว ๑๐ เมตร ให้ทำเป็นที่อาบน้ำละหมาดปี พ.ศ. ๒๔๘๗ นายหะยีหะมะ บือแน(หะยีหะมะ ปูยุด) เสนอต่อโต๊ะครูว่า ให้ติดต่อนายมะแซ ดอเฮะ เพื่อขอซื้อที่ดินด้านหลังที่เหลือจากบริจาคให้มัสยิดเพื่อทำเป็นกุโบร์(สุสาน) โดยจะเชิญชวนขอรับบริจาคเงินจากประชาชนทั่วไป เมื่อนายมะแซ ทราบ ก็ตอบว่ายินดีขายให้ โดยขอร่วมบริจาคคิดค่าที่ดินเพียงครึ่งราคาปี พ.ศ. ๒๔๙๐ นายหะยีหะมะ บือแน ได้นำเงินที่ได้รับบริจาคจากชาวบ้านมามอบให้โครู และโต๊ะครูได้เรียกนายมะแซ และนายแวยูโซะมารับค่าที่ดิน ที่ดินแปลงนั้นก็ได้ทำเป็นกุโบร์สาธารณะตั้งแต่นั้นมาปี พ.ศ. ๒๔๙๕ โต๊ะครูหะยีอาแวและครอบครัวเดินทางไปมักกะห์ ได้มอบหมายให้โต๊ะครูหะยีอับดุลฮามิ อับดุลซอมะ ทำหน้าที่อิหม่ามแทนปี พ.ศ. ๒๔๙๖ โต๊ะครูหะยีอับดุลฮามิ ลาออกจากอิหม่ามและได้เรียกนายมะ โต๊ะแปเราะ ในฐานะผู้ใหญ่บ้าน กับนายมะแซ ดอเฮะ มาปรึกษาหาอิหม่ามแทนโดยหาจากวงศ์ญาติ นายมะ โต๊ะแปเราะ เสนอชื่อนายหะยีฮามะ กูแวะ ดังนั้นโต๊ะครูหะยีอับดุลฮามิ จึงเรืยกนายหะยีฮามะ มาสอบถามแต่นายหะยีฮามะปฏิเสธเนื่องจากต้องการจะย้ายไปอยู่ที่อื่น นายมะ จึงเสนอชื่อนายหะยีฮาซัน บูระดาเลง ผู้เป็นน้องเขย โต๊ะครูไม่ขัดข้องจึงรับนายหะยีฮาซัน เป็นอีหม่าม และได้ประชุมสัปบุรุษแจ้งให้ทราบ โดยขอร้องให้นายมะ โตีะแปเราะเป็นกรรมการและเลขานุการต่อมามีประชาชนมาละหมาดวันศุกร์เป็นจำนวนมาก ทำให้สถานที่ละหมาดคับแคบจึงได้ประชุมคณะกรรมการฯ นายมะ โต๊ะแปเราะเสนอว่าทำการต่อเติมอาคารมัสยิดด้านหน้าในที่ประชุมกรรมการฯมีมติตกลงให้ทำการต่อเติมได้ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ ทางรัฐบาลให้มัสยิดต่างๆ ไปจดทะเบียน นายมะ โต๊ะแปเราะได้รับมอบอำนาจจากนายมะแซ ดอเฮะ ให้ไปจดทะเบียนและโอนที่ดินให้มัสยิด ณ ที่ว่าการอำเภอเมืองยะลาเพื่อให้เป็นของมัสยิดต่อไปทางรัฐบาลได้ให้เงินสนับสนุนจำนวน ๑๘,๐๐๐.- บาท(หนึ่งหมื่นแปดพันบาทถ้วน) เป็นค่าปรับปรุงและขยายมัสยิด จึงเชิญสัปบุรุษและผู้มีเกียรติประกอบด้วยนายหะยีฮามะ แว ดะโต๊ะยุติธรรม นายหะยีสะมะแอ เบ็ญฮาวัน ดะโต๊ะยุติธรรม นายหะยีเฮง ตอฮา และนายบำเพ็ญ ภูมิประเสริฐ บรรดาสัปบุรุษและผู้มีเกียรติทั้งหลายก็สนับสนุน จึงดำเนินการจนแล้วเสร็จในปลายปี พ.ศ. ๒๔๙๙ปี พ.ศ. ๒๔๙๙ นายหะยีดือเระ หะสาเมาะ ได้บริจาคที่ดินบริเวณหน้ามัสยิด กว้าง ๕ เมตร ยาว ๑๓ เมตร ให้แก่มัสยิด ปีเดียวกันนี้นายมะ โต๊ะแปเราะได้ขอลาออกจากกรรมการและเลขานุการมัสยิดเพื่อไปบำเพ็ญฮัจญ์ ณ นครมักกะห์ ประเทศซาอุดีอารเบียปี พ.ศ. ๒๕๐๗ โดยการนำของนายหะยีอับดุลลาเต๊ะ สาและ(จ้าของร้าน อ.มุสลิม) ร่วมกับนายอาลี สุหลง ได้ดำเนินการขยายอาคารมัสยิดทางด้านหน้าออกไปอีกปี พ.ศ. ๒๕๑๑ รัฐบาลจะสร้างมัสยิดกลางจังหวัดยะลา ทางคณะกรรมการฯมัสยิดจึงเสนอรื้อมัสยิดหลังเก่าออกแล้วให้สร้างมัสยิดหลังใหม่ขึ้นโดยเลื่อนอาคารออกไปข้างหน้าแต่ไม่เป็นที่ตกลงเพราะมีประชาชนคัดค้านกันมากปี พ.ศ. ๒๕๒๕ รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณก่อสร้างอาคารมัสยิด เฉพาะตัวอาคาร ตามนโยบายความมั่นคงของจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ตามแปลนที่จัดออกแบบตามยุคสมัยแบบผสมผสาน เชิงตึกประกอบด้วยโดม โดยใช้งบประมาณแผนดินจำนวน ๒๘,๒๐๐,๐๐๐.- บาท(ยี่สิบแปดล้านสองแสนบาทถ้วน) สามารถรองรับผู้ประกอบศาสนกิจประมาณ ๒,๕๐๐ คน มีผู้ประกอบศาสนกิจประจำวัน(ละหมาดฟัรฎู) แต่ละเวลา(วักตู) ประมาณ ๕๐๐ คน ส่วนวันศุกร์และวันสำคัญทางศาสนา เช่น วันอีดหรือฮารีรายอทั้งสอง มีประมาณ ๒,๕๐๐ คนทางมัสยิดได้ทำการปรับปรุงอาคาร และอาคารประกอบอยู่เสมอ เช่น งานลงพื้นหินอ่อนทั้งสามชั้นใช้งบประมาณบริจาคประมาณ ๘๐๐,๐๐๐.- บาท(แปดแสนบาทถ้วน) งานก่อสร้างอาคารประกอบและห้องรับรอง อาคารห้องน้ำชาย โดยใช้พื้นที่ชั้นสองเป็นห้องส่งสถานีวิทยุชุมชนประจำมัสยิด ออกอากาศบริการชุมชน และกิจกรรมศาสนาทุกวันปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ได้ก่อสร้างอาคารประกอบและห้องรับรอง มีห้องพักค้างคืนสำหรับสตรี พร้อมห้องน้ำำหญิง ที่สะดวกสบายมากขึ้นปี พ.ศ. ๒๕๕๖ ปรับปรุงอาคารอาบน้ำมัยยิต(อาบน้ำศพ) เพื่อให้ทำพร้อมกันได้หลายราย ปรับปรุงห้องน้ำรวม ก่อสร้างที่อาบน้ำละหมาดเพิ่มเติม ก่อสร้างป้ายชื่อมัสยิดพร้อมไฟส่องป้าย ปรับพื้นโดยรอบเพื่อรองรับผู้มาฟังบรรยายธรรมประจำสัปดาห์วันอาทิตย์ ซึ่งมีจำนวนมากจนล้นออกมานอกอาคาร ปรับปรุงปูกระเบื้องลานบันไดชั้นสอง

คณะกรรมการมัสยิด
อิหม่าม นายนายหะยีนิมิง นิมูดอ
คอเต็บ นายนายมูหะมะซากี อับดุลรอเซะ
บิหลั่น นายนายซาการียา มอลอ

 

 

วันเปิดทำการ :  ทุกวัน
 

 

ข้อมูลการติดต่อ :

    บ้านเลขที่ 835  หมู่ที่ -   หมู่บ้านตลาดเก่า   ถนนสิโรรส   ตำบล/แขวงสะเตง   อำเภอ/เขตยะลา   จังหวัดยะลา   95000


    ---------------------------------------------------
    ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก http://www.masjidmap.com/

 

 

แผนที่ : 
 

 

 

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com