ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลอาเนาะรู อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ข้อมูลทั่วไป
เส้นทางท่องเที่ยวโดยนักวิจัย
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทประวัติศาสตร์ และศาสนา
ประเภทศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี
สันทนาการและการบันเทิง
เส้นทางท่องเที่ยวโดยทัวร์อื่นๆ
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
รายชื่อมัสยิด
โรงแรม / ที่พัก
โรงแรม รีสอร์ท และสปา
ร้านอาหาร
ร้านอาหาร
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
ศิลปะหัตถกรรม
ธุรกิจขนาดกลาง/ ขนาดย่อม
สิ่งอำนวยความสะดวก
สถานีตำรวจ
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี ตั้งอยู่ถนนยะรัง ตำบลอาเนาะรู อำเภอเมืองปัตตานี เลขทะเบียนที่ 249 มีประวัติและความเป็นมาดังนี้ ในปีพุทธศักราช 2497 รัฐบาลได้ตระหนักถึงความสำคัญของศาสนาอิสลามว่าเป็นศาสนาที่ประชาชนชาวปัตตานีส่วนใหญ่นับถืออย่างเคร่งครัดอันจะนำมาซึ่งสันติสุข ประกอบกับในพื้นที่สี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีประชากรนับถือศาสนาอิสลาม (มุสลิม) เป็นจำนวนมาก สมควรสร้างมัสยิดกลางที่มีขนาดใหญ่ และสวยงามขึ้นเพื่อเป็นศรีสง่าแก่ชาวไทยผู้นับถือศาสนาอิสลามทั่วประเทศตลอดจนเป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจ ของชาวไทยมุสลิม จึงได้พิจารณาพื้นที่บริเวณริมถนนหลวงสายปัตตานี-ยะลา ตำบลอาเนาะรู อำเภอเมืองปัตตานี เนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ 55 ตารางวา คณะรัฐมนตรีจึงได้อนุมัติงบประมาณสำหรับการก่อสร้างมัสยิดกลางปัตตานีขึ้น โดย ฯพณฯ พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในสมัยนั้นได้เดินทางมาวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ.2500 เวลา 10.00 น. 

มัสยิดกลางแห่งนี้ใช้เวลาในการก่อสร้างและตกแต่งอย่างวิจิตรพิสดารเป็นเวลา 9 ปีกว่าจะแล้วเสร็จ ต่อมาเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2506 ฯพณฯ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้นได้เดินทางมาประกอบพิธีเปิดอย่างเป็นทางการและมอบมัสยิดแห่งนี้ให้แก่ชาวไทยมุสลิมจังหวัดปัตตานี โดยให้ตั้งชื่อว่า “มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี” มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานีสร้างเป็นตึกคอนกรีตเสริมเหล็กสองชั้น รูปทรงคล้ายกับ “ทัชมาฮาล” ประเทศอินเดีย ตรงกลางเป็นอาคารมียอดโดมขนาดใหญ่และมีโดมบริวาร 4 ทิศ มีหอคอยอยู่สองข้างสูงเด่นเป็นสง่า บริเวณด้านหน้ามัสยิดมีสระน้ำสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ ภายในมัสยิดมีลักษณะเป็นห้องโถง มีระเบียงสองข้าง ภายในห้องโถงมีบัลลังก์ทรงสูงและแคบเป็นที่สำหรับ “คอฏีบ” ยืนอ่านคุฏบะฮ์ในการละหมาดวันศุกร์ หอคอยสองข้างนี้เดิมใช้เป็นหอกลางสำหรับตีกลอง เป็นสัญญาณเรียกให้มุสลิมมาร่วมปฏิบัติศาสนกิจ ต่อมาใช้เป็นที่ติดตั้งลำโพง เครื่องขยายเสียงแทนเสียงกลอง 

ปัจจุบันขยายด้านข้างออกไปทั้ง 2 ข้าง และสร้างหอบัง (อะซาน) พร้อมขยายสระน้ำและที่อาบน้ำละหมาดให้ดูสง่างามยิ่งขึ้น ภายในมัสยิดประดับด้วยหินอ่อนอย่างสวยงาม - เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2536 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เพื่อพบปะเยี่ยมเยียนผู้นำศาสนาอิสลามและประชาชน ณ มัสยิดกลางปัตตานี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งกับ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายสัมพันธ์ ทองสมัคร) ให้ดำเนินการบูรณะปรับปรุงอาคารมัสยิดกลางปัตตานี กระทรวงศึกษาธิการจึงได้กำหนดให้เป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองศิริราชสมบัติเป็นปีที่ 50 ใน พ.ศ.2539 

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2536 ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี (นายพลากร สุวรรณรัฐ) ได้ลงนามคำสั่งจังหวัดปัตตานี ที่ 1627/2536 แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อประสานและติดตามงานต่อเติมอาคารมัสยิดกลางปัตตานี จำนวน 12 คน - วันที่ 17 ธันวาคม 2536 เจ้าหน้าที่กรมศิลปากร ประกอบด้วย สถาปนิก และนายช่างโยธา ได้มาสำรวจอาคารมัสยิดกลางเพื่อออกแบบปรับปรุงต่อเติม 

วันที่ 22 ธันวาคม 2536 ฯพณฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายปราโมทย์ สุขุม ได้เชิญ นายอุดมศักดิ์ อัศวรางกูร รองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี นายสวัสดิ์ แก้วสมบูรณ์ ผู้ช่วยศึกษาธิการจังหวัดปัตตานี นายนิเดร์ วาบา ดาโต๊ะยุติธรรมประจำจังหวัดปัตตานี นายอับดุลวาฮับ อับดุลวาฮับ ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี นายนิเล็ก สุไลมาน เทศมนตรีเมืองปัตตานี เพื่อร่วมประชุมวางแผนการบูรณะขยายอาคารมัสยิดกลางปัตตานี ซึ่งที่ประชุมได้มติ ดังนี้ 
      1. บูรณะและขยายอาคารให้ยึดรูปแบบเดิม 
      2. ขยายและต่อเติมอาคารออกทั้ง 2 ข้าง 
      3. เพิ่มหออะซาน 2 หอ 4. ใช้วัสดุที่ได้มาตรฐานผลิตในประเทศไทย

วันที่ 19 เมษายน 2537 กระทรวงศึกษาธิการได้มอบหมายให้กรมการศาสนา เป็นผู้ออกแบบและกำหนดงบประมาณ ในการบูรณะต่อเติมเป็นเงิน 35,212,000 บาท (สามสิบห้าล้านสองแสนหนึ่งหมื่นสองพันบาทถ้วน) คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติตามหนังสือที่ สร 0202/10614 ลงวันที่ 18 มีนาคม 2537 ให้กระทรวงศึกษาธิการเสนอแปรญัตติ เพื่อของบประมาณรายจ่ายประจำปี 2538 จำนวน 12 ล้านบาท และส่วนที่เหลือให้เป็นงบประมาณผูกพันในปี 2539 และปี 2540 แต่ปรากฏว่าในปีงบประมาณ 2538 ไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณแต่อย่างใด จากการติดตามการจัดตั้งงบประมาณกระทรวงศึกษาธิการ ได้ตั้งงบประมาณในปี 2539 เป็นเงิน 30 ล้านบาท ปีงบประมาณ 2540 เป็นเงิน 5.212 ล้านบาท และจากการประสานงานทราบว่า สำนักงบประมาณได้ตั้งงบประมาณปรับปรุงสิ่งก่อสร้างเพียง 4,601,100 บาทเท่านั้น จังหวัดได้มีหนังสือถึง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี (นายบรรหาร ศิลปอาชา) ผู้นำฝ่ายค้าน (นายชวน หลีกภัย) ผู้แทนราษฎรจังหวัดปัตตานี (นายมุข สุไลมาน) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา) และอธิบดีกรมการศาสนา เพื่อให้การสนับสนุนในการขอแปรญัตติงบประมาณให้ได้ 30 ล้านบาทในปี 2539 เพื่อจะได้บูรณะต่อเติมมัสยิดกลางให้แล้วเสร็จสมบูรณ์

วันที่ 14 กันยายน 2546 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ เสด็จพระราชดำเนินพระราช ทานรางวัลให้แก่ผู้ชนะเลิศการประกวดการอัญเชิญพระมหาคัมภีร์อัลกรุอ่านแห่งประเทศไทย ณ มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี ผู้ชนะเลิศฝ่ายชาย คือ นายสุกรี บันบา ผู้แทนจากจังหวัดนครนายก รองชนะเลิศอันดับ 1 นายอาหามะ กาแว ผู้แทนจากจังหวัดกระบี่ รองชนะเลิศอันดับ 2 นายอุสมาน โต๊ะอาลี ผู้แทนจากจังหวัดยะลาและผู้ชนะเลิศฝ่ายหญิง คือ นางสาวฮาวา หมัดหมุด ผู้แทนจากจังหวัดเพชรบุรี รองชนะเลิศอันดับ 1 นางซามีฮะ ตะโล๊ะดิง ผู้แทนจากจังหวัดปัตตานี รองชนะเลิศอันดับ 2 นางมัยดีนา สว่างลิขิต ผู้แทนจากจังหวัดยะลา มัสยิดกลางปัตตานีส่วนใหญ่จะใช้เป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจ (ละหมาด) วันละ 5 เวลา เป็นกิจวัตรประจำวัน ใช้ในการละหมาดวันศุกร์ และการละหมาดในวันตรุษต่าง ๆ โดยมีชาวไทยมุสลิมในพื้นที่ปัตตานี และพื้นที่อื่นทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะในวันศุกร์และวันเสาร์ จะมีการบรรยายธรรมะมีผู้เข้าฟังการบรรยาย ประมาณครั้งละ 3,000 คน เพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจในหลักการของศาสนา และเพื่อความถูกต้องในการบำเพ็ญศาสนกิจ

 

 

วันเปิดทำการ :  ทุกวัน
 

 

เดินทางอย่างไร :

 

การเดินทาง ริมถนนสายปัตตานี-ยะลา (ทางหลวง หมายเลข 410) หรือจากถนนพิพิธแล้วเลี้ยวขวา ไปตามถนนไปจังหวัดยะลา ระยะทางประมาณ 500 เมตร จะเห็นมัสยิด



--------------------
ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจากเว็บไซต์ http://www.klongdigital.com/webboard3/37073.html

 

 

แผนที่ : 
 

 

 

 

เส้นทางการเดินทางท่องเที่ยว / สถานที่ท่องเที่ยวที่อยู่ใกล้เคียง :

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com