ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ข้อมูลทั่วไป
เส้นทางท่องเที่ยวโดยนักวิจัย
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทธรรมชาติ
ประเภทประวัติศาสตร์ และศาสนา
ประเภทศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี
การท่องเที่ยวโดยชุมชน
สันทนาการและการบันเทิง
สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ
การท่องเที่ยวกลางคืน
เส้นทางท่องเที่ยวโดยทัวร์อื่นๆ
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
รายชื่อมัสยิด
โรงแรม / ที่พัก
โรงแรม รีสอร์ท และสปา
คอนโด อพาร์ทเม้นต์ และแมนชั่น
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
อาหารและเครื่องดื่ม
ศิลปะหัตถกรรม
เครื่องสำอาง
ธุรกิจขนาดกลาง/ ขนาดย่อม
กลุ่มอาชีพ / สินค้า
สิ่งอำนวยความสะดวก
สถานีตำรวจ
โรงพยาบาล
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

วัดชัยมงคล ( Wat Chai Mongkol )
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

วัดชัยมงคล เป็นวัดที่เก่าแก่และสำคัญแห่งหนึ่งในจังหวัดสงขลา ตั้งอยู่ที่ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา ภายในวัดนี้ประดิษฐานองค์กระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนทั่วไปวัดชัยมงคล จะสร้างขึ้นเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด ตามคำบอกเล่าของคนรุ่นก่อน ๆ และคุณคณิศรแสงรัตน์ (อดีตพระครูประภัสสรวินัยกิจ อดีตเจ้าอาวาสวัดชัยมงคล) ได้ความว่าวัดนี้พระอาจารย์ชัย พระภิกษุชาว กลันตันเป็นผู้สร้างขึ้นเมื่อราวปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประมาณปี พ.ศ. 2394 โดยคุณคณิศร แสงรัตน์ เล่าว่าเมื่อปี พ.ศ. 2494 สมัยที่ท่านยังเป็นเจ้าอาวาสวัดนี้อยู่ได้เดินทางไปจังหวัดนราธิวาส เผอิญได้พบกับพระครูพินิจสมณการ อดีตเจ้าคณะจังหวัดนราธิวาส ซึ่งขณะนั้นพระครูพินิจสมณการมีอายุได้ 83 ปีแล้ว ได้สนทนากันถึงประวัติวัดชัยมงคล พระครูพินิจสมณการบอกว่าท่านทราบประวัตินี้ดีพอสมควร เพราะเมื่อครั้งที่ท่านยังเป็นเด็กอายุได้ 13 ปี ได้ถวายตัวเป็นศิษย์ศึกษาอักขระสมัยอยู่กับอาจารย์ชัยในปีที่อาจารย์ชัยกลับจากสงขลาไปอยู่กลันตัน พระครูพินิจสมณการเล่าถึงประวัติของวัดชัยมงคลว่า วัดนี้สร้างขึ้นมาพร้อมกับวัดเพชรมงคล (ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของวัดชัยมงคล ไม่ไกลจากวัดชัยมงคลมากนัก อยู่ในเขตตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา เช่นเดียวกัน) โดยพระอาจารย์ชัยเป็นผู้สร้างวัดชัยมงคล และพระอาจารย์เพชรเป็นผู้สร้างวัดเพชรมงคล พระภิกษุทั้ง 2 รูปนี้ เป็นเพื่อนสนิทกัน และเป็นชาวกลันตันด้วยกัน (สมัยกลันตันยังเป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรไทย)

ในเอกสารประวัติวัดชัยมงคล ซึ่งเป็นเอกสารพิมพ์ดีดสำเนา ได้กล่าวถึงประวัติการสร้างพระเจดีย์หรือพระบรมธาตุวัดชัยมงคล ซึ่งบอกไว้ว่าอ้างมาจาก “หนังสือประวัติพระบรมธาตุ” แต่งโดยคุณหมออิ่ม ศิษย์ของอาจารย์นะ ติสสโร โดยกล่าวว่า อาจารย์นะ ติสสโร มีความศรัทธาอย่างแรงกล้า ที่จะได้พระบรมสารีริกธาตุมาไว้เป็นที่สักการบูชาของชาวเมืองสงขลา จึงได้เดินทางไปถึงประเทศลังกา เพื่อแสวงหาพระบรมสารีริกธาตุ ได้โดยสารเรือกลไฟไปเป็นเวลา 15 วัน 15 คืน จึงถึงประเทศลังกา ท่านได้ไปพักอาศัยอยู่กับสมเด็จพระสังฆราชวัดถูปารามตลอดเวลา 3 เดือน ที่อยู่ที่ประเทศลังกา ได้ถือโอกาสไปนมัสการปูชนียสถานทั่วประเทศ และท่านได้ทราบจากสมเด็จพระสังฆราชวัดถูปารามว่า ที่บ้านเศรษฐีมีจิตศรัทธาท่านหนึ่งมีพระธาตุอยู่หลายผอบ หากอาจารย์นะไปแจ้งความประสงค์ต่อเศรษฐีผู้นั้นเขาคงให้ เพราะนอกจากเศรษฐีผู้มีจิตศรัทธาในพุทธศาสนาแล้วยังรู้จักและมีความนิยมนับถือท่านอาจารย์นะอยู่แล้วด้วย อาจารย์นะทราบข่าวก็ดีใจรีบไปหาเศรษฐีผู้นั้น แจ้งความประสงค์ให้ทราบว่าการมาประเทศลังกาครั้งนี้ นอกจากมานมัสการปูชนียสถานแล้ว ยังมีความประสงค์ที่สำคัญมาก คือเพื่อต้องการแสวงหาพระบรมสารีริกธาตุไปประดิษฐานไว้เป็นที่สักการบูชาของพุทธศาสนิกชนที่เมืองไทย

ท่านเศรษฐีได้ฟังดังนั้น ก็บอกว่าพระธาตุของตนมีอยู่ 4 ผอบ คือ พระบรมสารีริกธาตุ 1 ผอบ พระธาตุพระโคคลาน 1 ผอบ พระธาตุพระสารีบุตร 1 ผอบ และพระธาตุพระอานนท์ 1 ผอบ จะถวายอาจารย์นะไปสัก 1 ผอบ แต่ให้อาจารย์นะ ได้ตั้งจิตอธิษฐานถึงบารมีพระพุทธองค์ และในที่สุดก็จับได้ผอบพระบรมสารีริกธาตุสมความปรารถนา ฝ่ายท่านเศรษฐีเมื่อเห็นว่าท่านอาจารย์นะ จับถูกผอบพระบรมสารีริกธาตุ เกิดความเสียดายจนน้ำตาร่วงพรูออกมาอย่างไม่รู้ตัว เนื่องจากเป็นมรดกประจำสกุลตกทอดมาหลายชั่วอายุคน ประกอบกับท่านเศรษฐีมีความเคารพหนักแน่น ต่อพระบรมสารีริกธาตุมาก ย่อมมีความอาลัยเสียดายเป็นธรรมดา เมื่ออาจารย์นะเห็นว่าท่านเศรษฐีร้องไห้จึงบอกว่า เมื่อโยมยังมีความอาลัยอยู่อาตมาก็จะไม่ขอเอาไปขอคืนกลับให้ตามเดิม ท่านเศรษฐีจึงพูดว่าขอพระคุณเจ้าจงอัญเชิญไปเมืองไทยเถอะ พระบรมสารีริกธาตุปรารถนาจะเสด็จไปกับท่านแล้ว พร้อมกับสั่งว่า เมื่อท่านกลับไปถึงเมืองไทยแล้ว ขอให้สร้างพรสถูปเจดีย์เป็นแบบถูปารามสำหรับบรรจุ เพราะพระบรมธาตุนี้ได้มากจากพระเจดีย์ถูปารามเมื่อครั้งทำการปฏิสังขรณ์ใหม่ พร้อมกับมอบภาพพระเจดีย์ถูปารามให้มาด้วย และสั่งว่าให้สร้างพระพุทธไสยาสน์ไว้ทางทิศตะวันตกของพระเจดีย์ด้วย เมื่อท่านอาจารย์นะได้พระบรมสารีริกธาตุสมควรตั้งใจแล้ว ได้กราบลาสมเด็จพระสังฆราชและลาท่านเศรษฐีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุพร้อมด้วยต้นโพธิ์ทอง 3 ต้น เดินทางกลับประเทศไทย โดยท่านเศรษฐีฝากให้โดยสารมากับเรือสินค้าของชาวฝรั่งเศสเรือมาแวะขนถ่ายสินค้าที่เมืองท่าสิงคโปร์เป็นเวลาหลายวัน พอดีอาจารย์นะได้พบกับพ่อค้าคนจีนซึ่งไปติดต่อซื้อสินค้าจากเรือ ที่ท่านโดยสารมา สอบถามได้ความว่าชื่อ เส้ง เป็นจีนฮกเกี้ยน อยู่ที่อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช อาจารย์นะจึงได้ขอโดยสารเรือมาขึ้นที่เมืองสงขลา ถึงเมืองสงขลาเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2439 และขึ้นจากเรือถึงวัดชัยมงคล เมื่อตอนบ่ายวันเดียวกัน ประชาชนชาวเมืองสงขลาเมื่อทราบข่าวการกลับมาของอาจารย์นะ พร้อมกับนำพระบรมสารีริกธาตุมาด้วย ต่างก็พากันหลั่งไหลเข้าสู่วัดชัยมงคลอย่างล้นหลาม เพื่อบูชานมัสการพระบรมสารีริกธาตุ และได้มีการจัดงามสมโภชขึ้นเป็นเวลา 7 วัน เสร็จงานสมโภชแล้ว อาจารย์นะ ก็ได้ชักชวนพุทธศาสนิกชนทั้งหลายช่วยกันทำการก่อสร้างพระสถูปเจดีย์สำหรับบรรจุพระบรมสารีริกธาตุเป็นทรงลังกา แบบถูปารามตามคำท่านเศรษฐีสั่งทุกประการ และได้ทำพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เมื่อวันวิสาขบูชา ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2437
ปัจจุบัน วัดชัยมงคล เป็นพระอารามหลวง มีพระราชวรธรรมโกศล เป็นเจ้าอาวาส และดำรงตำแหน่ง รองเจ้าคณะจังหวัดสงขลา ได้พัฒนาและปรับปรุงวัดชัยมงคล มาตลอด และขณะนี้ได้เป็นศูนย์กลางของการปฏิบัติธรรมแก่พุทธศาสนิกชนผู้สนใจทั่วไป  (จาก... หนังสือ ไหว้พระดีเมืองสงขลา ทัศนาเมืองเก่า)


ภายในวัดชัยมงคล พระบรมธาตุเจดีย์ ซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ได้มาจากลังกา เป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนทั่วไป และที่รอบฐานขององค์พระเจดีย์ทั้งสี่ด้านทำเป็นซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่างๆ วัดชัยมงคลสร้างขึ้นโดยพระภิกษุชาวกลันตัน ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ปัจจุบันเป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ ตั้งอยู่ที่ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา มีเนื้อที่ 15 ไร่เศษ


WAT CHAI MONKOL

Muang District, Songkhla Province

It is situated on Phet Mongkhon – Chai Mongkhon Road, has a chedi that was built to house the Buddhist relics brought back from Ceylon by a monk named “Na Issaro” who was teaching Pali there in 1892.

---------------
ขอบคุณภาพจากคุณ abman

 

 

วันเปิดทำการ :  ทุกวัน
 

 

เวลาเปิดทำการ :  เปิดให้เข้าชมเวลา 9.00-17.00 น.
 

 

ข้อมูลการติดต่อ :

    เลขที่ 1 ถ.ชัยมงคล ต.บ่อยาง อ.เมือง จ.สงขลา

 

 

แผนที่ : 

ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น
 

 

 

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com