ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ข้อมูลทั่วไป
เส้นทางท่องเที่ยวโดยนักวิจัย
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทธรรมชาติ
ประเภทประวัติศาสตร์ และศาสนา
ประเภทศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี
การท่องเที่ยวโดยชุมชน
สันทนาการและการบันเทิง
สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ
การท่องเที่ยวกลางคืน
เส้นทางท่องเที่ยวโดยทัวร์อื่นๆ
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
รายชื่อมัสยิด
โรงแรม / ที่พัก
โรงแรม รีสอร์ท และสปา
คอนโด อพาร์ทเม้นต์ และแมนชั่น
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
อาหารและเครื่องดื่ม
ศิลปะหัตถกรรม
เครื่องสำอาง
ธุรกิจขนาดกลาง/ ขนาดย่อม
กลุ่มอาชีพ / สินค้า
สิ่งอำนวยความสะดวก
สถานีตำรวจ
โรงพยาบาล
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงพหุวัฒนธรรม 5 จังหวัดชายแดนใต้ ถึงประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซีย
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงพหุวัฒนธรรม ซึ่งจัดเป็นการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ ที่มีความผสมผสานกันระหว่าง 3 ศาสนา มีการเที่ยวชมวัดวาอาราม มัสยิดและศาลเจ้า   โดยมีจุดเริ่มต้นที่เมืองเก่า(Old Town)จังหวัดสงขลา City Tour ที่จังหวัดสตูล  เชื่อมต่อไปเที่ยวชมวัดเก่าแก่ และชมมัสยิดที่มีอายุกว่าร้อยปีของจังหวัดปัตตานี จากนั้นเดินทางต่อไปยังจังหวัดยะลา และจังหวัดนราธิวาส และไปชมเมืองเก่าที่เมืองปินัง เมืองมะละกา ของประเทศมาเลเซีย และเมืองเมดาน ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นพื้นที่ภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจสามฝ่ายอินโดนีเซีย – มาเลเซีย – ไทย (IMT-GT)


เส้นทางท่องเที่ยวจากประเทศไทยจังหวัดสงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ถึงประเทศมาเลเซีย และประเทศอินโดนีเซีย

1. วัดพระราชประดิษฐาน (วัดพะโคะ)
ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ตำบลชุมพล บริเวณเขาพัทธลิงค์ อยู่ห่างจากสงขลา 48 กิโลเมตร เป็นวัดจำพรรษาของสมเด็จพะโคะ หรือหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ซึ่งประชาชนเคารพนับถือมาก สร้างประมาณ พ.ศ. 500 เล่ากันว่า วันหนึ่งมีโจรสลัดแล่นเรือเลียบมาตามฝั่ง เห็นสมเด็จพะโคะเดินอยู่มีลักษณะแปลกกว่าคนทั้งหลาย จึงใคร่จะลองดี โจรสลัดจอดเรือ และจับสมเด็จพะโคะไป เมื่อเรือแล่นมาได้สักครู่เกิดเหตุเรือแล่นต่อไปไม่ได้ ต้องจอดอยู่หลายวัน จนในที่สุดน้ำจืดหมดลง โจรสลัดเดือดร้อน สมเด็จพะโคะสงสาร จึงเอาเท้าซ้ายแช่ลงไปในน้ำทะเลเกิดเป็นประกายโชติช่วง น้ำทะเลกลายเป็นน้ำจืด โจรสลัดเกิดความเลื่อมใสศรัทธากราบไหว้ขอขมา และนำสมเด็จพะโคะขึ้นฝั่ง ตั้งแต่นั้นมาประชาชนจึงพากันไปกราบไหว้บูชา

2. วัดแหลมพ้อ 
อยู่ที่บ้านสวนทุเรียน หมู่ที่ 4 ต.เกาะยอ ในอดีตเป็นวัดที่สำคัญ ของตำบลเกาะยอ ลักษณะโบสถ์ มีความเรียบง่าย สวยงาม  วัดพระนอนแหลมพ้อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2330 ในสมัยรัชกาลที่ 3 หลังจากนั้นเมื่อประมาณปีพ.ศ. 2360 สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยเสด็จประพาสทางน้ำขึ้นที่ท่าเรือหน้าวัด สถาปัตยกรรมที่นับเป็นปูชนียสถานที่สำคัญของวัดคืออุโบสถ ซึ่งสร้างในสมัยนั้น ลวดลายหน้าบันด้านหน้า มีช้างสามเศียร หน้าบันด้านหลังเป็นครุฑยุดนาค มีโปรยทานซึ่งพระเจ้าแผ่นดินในสมัยก่อนจะโปรยเงินทองแก่ประชาชนเมื่อเสด็จวัดต่างๆ พระสถูปเจดีย์องค์แรกก็เป็นปูชนียสถานเก่าแก่ของวัด โดยพระอุโบสถและพระสถูปเจดีย์ได้ขึ้นกับกรมศิลปากรแล้ว 

3. วัดช้างให้ราษฎร์บูรณาราม 
ตั้งอยู่ที่บ้านป่าไร่ ตำบลทุ่งพลา ริมทางรถไฟสายหาดใหญ่-สุไหงโก-ลก ระหว่างสถานีนาประดู่กับสถานีป่าไร่ ห่างจากตัวเมืองประมาณ 31 กิโลเมตร  
วัดช้างให้สร้างขึ้นกว่า ๓๐๐ ปี แต่ไม่ทราบแน่ชัดว่าผู้ใดเป็นผู้สร้าง ตามตำนานกล่าวว่า พระยาแก้มดำ เจ้าเมืองไทรบุรี ต้องการหาชัยภูมิสำหรับสร้างเมืองใหม่ให้กับน้องสาว(นางเจ๊ะสิตี) จึงได้เสี่ยงอธิษฐานปล่อยช้างคู่เมืองออกเดินป่า โดยมีพระยาแก้มดำน้องสาวและไพร่พลเดินติดตามช้างมาหยุด ณ ป่าแห่งหนึ่งพร้อมเดินวนเวียนและร้องขึ้น ๓ ครั้ง(วัดช้างให้ขณะนี้) พระยาแก้มดำจึงเห็นว่าเป็นนิมิตหมายอันดี จึงจะใช้บริเวณดังกล่าวสร้างเมือง แต่น้องสาวไม่ชอบจึงให้ช้างออกเดินทางหาทำเลใหม่พบกระจงขาววิ่งอยู่ น้องสาวจึงชักชวนไพร่พลวิ่งจับกระจงวิ่งไปบริเวณหาดทรายสีขาว (ตำบลกรือเซะขณะนี้) แล้วหายไป นางรู้สึกชอบ พระยาแก้มดำจึงสร้างเมืองให้ 

จากนั้นจึงเดินทางกลับเมืองไทรบุรีมาถึงที่ช้างเคยหยุดจึงพักแรมถางป่าและสร้างวัดชื่อ วัดช้างให้ เมื่อเดินทางถึงเมืองไทรบุรีได้นิมนต์พระภิกษุซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “ท่านลังกา” หรือ ”สมเด็จพระโคะ” หรือ หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด มาเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก ท่านลังกาเดินทางธุดงค์ไปมาระหว่างเมืองไทรบุรีกับวัดช้างให้และได้สั่งลูกศิษย์ว่าถ้าท่านมรณภาพขอให้นำศพไปทำการฌาปนกิจ ณ วัดช้างให้ เมื่อท่านมรณภาพที่เมืองไทรบุรี ลูกศิษย์ได้นำพระศพกลับวัดช้างให้เพื่อฌาปนกิจ ระหว่างเดินทางหยุดที่ใดก็จะปักไม้ไว้ (ปัจจุบันจึงมีสถูป ตามที่ต่างๆ) ลูกศิษย์ได้นำอัฐิส่วนหนึ่งกับเมืองไทรบุรี และส่วนหนึ่งฝังไว้ที่วัดช้างให้มีผู้คนมากราบไหว้บนบานอธิษฐาน ได้ผลตามความประสงค์ความศักดิ์สิทธิ์ จึงเลื่องลือไปไกล หลังจากนั้นวัดช้างให้ก็ร้างไปนาน

4. มัสยิดกลางจังหวัดสตูลหรือมัสยิดมำบัง  
ตั้งอยู่บริเวณมุมถนนบุรีวานิชและถนนสตูลธานี กลางเมืองสตูล เป็นสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนา สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยพระยาสมันตรัฐบุรินทร์ (ตนกูมูฮำหมัดอาเก็ม) เป็นเจ้าเมืองสตูล (ประมาณ พ.ศ. 2539) ชื่อมำบังตั้งตามชื่อเมืองสตูลในสมัยนั้นต่อมาในปี พ.ศ. 2517 ได้จัดสร้างลักษณะรูปทรงมัสยิดเป็นสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ ตัวอาคารสีขาวตกแต่งด้วยกระเบื้องเคลือบหินอ่อนและกระจกใส ตัวอาคารแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนนอกเป็นระเบียง มีบันไดขึ้นหอคอย ลักษณะเป็นยอดโดม สามารถมองเห็นทิวทัศน์เมืองสตูลได้ ส่วนในเป็นห้องโถงใหญ่ใช้เป็นที่ละหมาด ชั้นล่างมีห้องใต้ดิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้เสด็จทรงเปิดเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2525

5. วัดคูหาภิมุข หรือวัดหน้าถ้ำ
เป็นหนึ่งในสามปูชนียสถานที่สำคัญของภาคใต้ เช่นเดียวกับพระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราช และพระบรมธาตุไชยาที่สุราษฎร์ธานี แสดงความรุ่งเรืองของศาสนาพุทธในบริเวณนี้มาตั้งแต่สมัยอาณาจักรศรีวิชัย ตั้งอยู่ที่ตำบลหน้าถ้ำ ห่างจากตัวเมือง 8 กิโลเมตร ตามเส้นทางไปอำเภอยะหา บริเวณวัดรมรื่นมีธารน้ำไหลผ่าน บันไดขึ้นไปยังปากถ้ำมีรูปปั้นยักษ์ ชาวบ้านเรียกว่า "เจ้าเขา" สร้างโดยช่างพื้นบ้านเมื่อปี 2484 ภายในถ้ำมีลักษณะคล้ายห้องโถงใหญ่ ดัดแปลงปรับปรุงเป็นศาสนสถาน มีปล่องที่เพดานถ้ำ ยามแสงแดดส่องลงมาดูสวยงามมาก เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ขนาดใหญ่ สันนิษฐานว่าสร้างมาแต่ปี พ.ศ. 1300 เป็นพระพุทธไสยายสน์สมัยศรีวิชัย มีขนาดความยาว 81 ฟุต 1 นิ้ว เชื่อกันว่าเดิมเป็นปางนารายณ์บรรทมสินธุ์ เพราะมีภาพนาคแผ่พังพานปกพระเศียร ต่อมาจึงได้ดัดแปลงเป็นพระพุทธไสยาสน์แบบหินยาน

6. มัสยิดกลางจังหวัดยะลา 
ตั้งอยู่ที่ ถนนสิโรรส บ้านตลาดเก่า อำเภอเมือง จังหวัดยะลา เป็นมัสยิดใหญ่ประจำจังหวัดยะลา มัสยิดแห่งนี้สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2526 เป็นสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก ที่สอดแทรกเส้นกรอบทรงสุเหร่าไว้ได้อย่างกลมกลืน ด้านหน้าเป็นบันไดกว้าง สูงประมาณ 30 ขั้น ทอดสู่ลานชั้นบน หลังคาทรงสี่เหลี่ยมมีโดมใหญ่อยู่ตรงกลาง  มัสยิดกลางจังหวัดยะลา เป็นศาสนสถานที่ชาวไทยมุสลิมได้ใช้เป็นที่ประกอบศาสนกิจ และที่ประชุมเพื่อศึกษาธรรม เป็นมัสยิดที่สง่างามและเป็นที่ภาคภูมิใจของชาวจังหวัดยะลา

7. มัสยิดกลางเก่า หรือ มัสยิดยุมอียะห์ หรือมัสยิดรายอ 
ตั้งอยู่ถนนพิชิตบำรุง ตำบลบางนาค อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส ทางเหนือของตัวเมืองห่างจากศาลากลางจังหวัดขึ้นไปตามถนนพิชิตบำรุงก่อนถึงหอนาฬิกาเล็กน้อย เป็นมัสยิดไม้แบบสุมาตราสร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2481 เป็นมัสยิดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองนราธิวาส และเป็นที่ตั้งของสุสานเจ้าเมืองเก่า คือ พระยาภูผาภักดี ตามปกติมัสยิดกลางประจำจังหวัดจะมีเพียงแห่งเดียวเท่านั้น แต่เนื่องจากมัสยิดแห่งนี้ค่อนข้างคับแคบ จึงได้มีการสร้างมัสยิดหลังใหม่ขึ้นบริเวณปากแม่น้ำบางนรา อย่างไรก็ตามประชาชนในพื้นที่ยังคงเลื่อมใสศรัทธาในมัสยิดหลังเก่าอยู่ มัสยิดแห่งนี้จึงดำรงฐานะเป็นมัสยิดกลางสืบต่อไป และทำให้นราธิวาสมีมัสยิดกลางประจำจังหวัดด้วยกันถึง 2 แห่ง

8. วัดเขากง 
มีเนื้อที่ 142 ไร่ ตั้งอยู่ที่ตำบลลำภู จากตัวเมืองใช้เส้นทางนราธิวาส-ระแงะ (ทางหลวงหมายเลข 4055) ประมาณ 9 กิโลเมตร จะมองเห็นวัดเขากง และพระพุทธรูปทักษิณมิ่งมงคลสีทองปางปฐมเทศนาขัดสมาธิเพชรอยู่บนยอดเขา เป็นศิลปะสกุลช่างอินเดียตอนใต้ เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2509 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2512 องค์พระเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กประดับด้วยโมเสกสีทอง หน้าตักกว้าง 17 เมตร ความสูงวัดจากพระเกศบัวตูมถึงบัวใต้พระเพลา 24 เมตร จัดเป็นพระพุทธรูปกลางแจ้งที่งดงามและใหญ่ที่สุดในภาคใต้ เนินเขาลูกถัดไปมีเจดีย์สิริมหามายาซึ่งเป็นทรงระฆัง เหนือซุ้มประตูทั้ง 4 ทิศมีเจดีย์รายประดับอยู่ ภายในประดิษฐานพระพรหม บนยอดสุดบรรจุพระบรมสารีริกธาตุอันศักดิ์สิทธิ์  เนินเขาถัดไปอีกลูกหนึ่งเป็นที่ตั้งของอุโบสถ ผนังด้านนอกทั้งสี่ด้านประดับกระเบื้องดินเผาแกะสลัก ด้านหลังเป็นรูปช้างหมอบถวายดอกบัว หน้าบันเป็นรูปนักรบมีเทวดาถือคนโทถวาย

9. ปนัง ประเทศมาเลเซีย
ถูกกลาวถึงเสมอในนามไขมุกแหงตะวันออก ในฐานะเมืองที่มีความสวยและโรแมนติกที่สุดเมืองหนึ่งของภาคตะวันออก ชื่อของปนังมาจากคำวา ปนัง (Pinang) แปลวาตนหมาก ซึ่งครั้งหนึ่งเคเปนตนไมที่พบมากในเกาะแหงนี้ ปนังไดรับการสถาปนาใหเปนที่มั่นทางการคาของอังกฤษเมืองแรกในภูมิภาคตะวันออกไกลเมื่อป ๑๗๘๖ ทุกวันนี้  ปนังกลายเปนเมืองขนาดใหญที่ผสานเอาวัฒนธรรมสองซีกโลกไว ดวยกันอยางแยกไมออกมันกลายเปนเสนหประหลาดที่ดึงดูดใจใหนักทองเที่ยวมาเยือนเมืองแหงนี้ไม่หยุดหยอน รัฐปนังประกอบไปดวยเกาะปนังและแผนดินที่มีความยาวซึ่งรูจักกันในนาม Seberang Parai (ในอดีตคือ จังหวัด Wellesley) เชื่อมโยงพื้นที่สองสวนนี้ไวดวยสะพานปนัง ซึ่งเปนสะพานที่ยาวที่สุดในภูมิภาคเอเชีย ดวยความยาว ๑๓.๕ กิโลเมตร และนอกจากสะพานปนังซึ่งเปนทางเชื่อมสายหลักแลว ยังสามารถเดินทางสูเกาะปนังโดยใชบริการเรือขามฟากไดอีกดวยบนเกาะปนังมีจอรจทาวนเปนเมืองหลวงและจุดศูนยกลางอันร่ำรวยดวยประวัติศาสตรและวัฒนธรรมในขณะที่ปนังฉายแสงอันเต็มไปดวยความมีชีวิตชีวาและ ทันสมัยดวยการพัฒนาและกาวไปขางหนาอยางไมรูจบ แตสถานที่มากมายบนเกาะปนังก็ยังคงรักษาความเปนเอกลักษณสะทอนถึงวานวันในอดีต จนทำใหปนังกลายเปนสถานที่สุดพิเศษหลากอารมณทางเดินเล็กๆ ริมถนนสามลอ วิหารหรือแมแตพอคาแมขายที่กำลังวุนวายสาละวนอยูกับหนาที่ของตัวเองภาพเหลานี้ดูจะสะทอนความเปนอดีตไดอยางดีปนังยังเปนสวรรคสำหรับนักชอป ไมวาจะเปนตลาดของใหม หรือของสะสมโบราณ นักทองเที่ยวสามารถมองหาสินคาในราคาที่นาพึงพอใจ สินคาที่ไดรับความนิยมอยาง กลองถายรูปอุปกรณไฟฟา และอิเล็กทรอนิกส เสื้อผาบาติก ของที่ระลึกของเกา และของสะสมรวมทั้งของกระจุกกระจิก  มีใหเลือกซื้ออยางจุใจเกาะแหงนี้ยังโดงดังเรื่องอาหารชั้นเลิศ ของภูมิภาคไลเรื่อยมาตั้งแตอาหารตนตำรับ Nyonya ไปจนถึงอาหารจานโปรดแบบพื้นเมืองที่หารับประทานไดงายตามรานขางทางอยาง นาซิกันดาร (Nasi Kandar) ซาร์กวยเตี๋ยว (Char Kway Teow) หรือปนัง ลักซา (Penang Laksa) 

10. เมดาน ประเทศอินโดนีเซีย
เมดาน (อินโดนีเซีย: Kota Medan) เป็นเมืองหลวงของ จังหวัดสุมาตราเหนือ ในประเทศ อินโดนีเซีย ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งด้านทิศเหนือ ของเกาะสุมาตรา เมดานเป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของประเทศอินโดนีเซีย รองจาก จาการ์ตา สุราบายา และ บันดง และยังเป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่ที่อยู่นอก เกาะชวาด้วย

เมดาน เริ่มต้นเป็นหมู่บ้านที่เรียกว่า กัมปง เมดาน (หมู่บ้านเมดาน ). หมู่บ้านเมดาน ถูกก่อตั้งโดย Guru Patimpus ประมาณปี ค.ศ. 1590 พื้นที่ดั้งเดิมของเมดาน เป็นพื้นที่บริเวณที่ แม่น้ำดีลิ Deli River และ แม่น้ำบาบูรา Babura River มาบรรจบกัน พ่อค้าชาวอาหรับในช่วงต้นศตวรรษที่ 16 มีการบันทึกว่า เมดาน มีที่มาจาก เมดิน่า ซึ่งเป็นชื่อเมืองศักดิ์สิทธิ์ในภาคตะวันตกของซาอุดีอาระเบีย อย่างไรก็ตามมีแหล่งข้อมูลอื่น ที่ระบุว่าชื่อของเมดานที่จริงมาจาก คำในภาษาฮินดี ของอินเดียที่ว่า"Maidan"แปลว่า "พื้นดิน" หรือ "ที่ดิน" ชนพื่นเมื่องดั้งเดิมของเมดาน ย้ายถิ่นฐานมาจากคาบสมุทรมาลายู ประเทศมาเลเซียปัจจุบัน เมดานอยู่ภายใต้การปกครองของ สุลต่านแห่งอาเจะห์ มีการพัฒนาจนเจริญรุ่งเรื่องอย่างมาก และ ในรัชสมัยปีที่สองของสุลต่าน Deli (ระหว่าง 1669-1698) เมดานเกิดมีสงครามขึ้น และมีการสู้รบกับกองทหารม้าจากอาเจะห์ จนทำให้เมดานขาดการเหลียวแลจากอาเจะห์ ไม่มีการพัฒนาเท่าที่ควร จนถึงปีค.ศ. 1860 มีการเข้ามาของชาวดัตช์ มีการริเริ่มเพาะปลูกยาสูบ จนทำให้เมดานเป็นเมืองสำคัญทางด้านเศรษฐกิจในภูมิภาค ในปี 1918 เมดานได้กลายเป็นเมืองหลวงอย่างเป็นทางการของ จังหวัดสุมาตราเหนือ


 

 

แผนที่ : 
 

 

 

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com