ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลหน้าถ้ำ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ข้อมูลทั่วไป
เส้นทางท่องเที่ยวโดยนักวิจัย
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทธรรมชาติ
ประเภทประวัติศาสตร์ และศาสนา
ประเภทศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี
เส้นทางท่องเที่ยวโดยทัวร์อื่นๆ
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
รายชื่อมัสยิด
ร้านอาหาร
ร้านอาหาร
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
อาหารและเครื่องดื่ม
ศิลปะหัตถกรรม
กลุ่มอาชีพ / สินค้า
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

วัดคูหาภิมุข (วัดหน้าถ้ำ)
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

วัดคูหาภิมุข ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า “วัดหน้าถ้ำ” วัดเก่าแก่ของเมืองยะลา เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่เลขที่ 136 หมู่ที่ 1 บ้านหน้าถ้ำ ตำบลหน้าถ้ำ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา วัดมีเนื้อที่ทั้งหมด 52 ไร่เศษ ระยะทางห่างจากตัวเมืองยะลาไปตามถนนหลวงหมายเลข 409 ประมาณ 8 กิโลเมตร

วัดสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2390 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาล 4 โปรดเกล้าฯ ให้ นายเมือง บุตร พระยายะหริ่ง เป็น พระยายะลา ให้มีราชทินนามว่า พระยาณรงค์ฤทธิ์ ศรีประเทศวิเศษวังษา ตั้งที่ว่าราชการอยู่ที่บ้านท่าสาป เมื่ออยู่นานเข้า เห็นความจำเป็นที่จะต้องสร้างวัดขึ้น เพื่อประกอบพิธีบำเพ็ญกุศลในหมู่บ้าน จึงได้ขออนุญาตสร้างวัดขึ้นที่ริมเขาหน้าถ้ำที่มีพระนอนแห่งนี้ 

ภายในวัดคูหาภิมุข มีถ้ำใหญ่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ขนาดใหญ่ ศิลปะศรีวิชัยผสมลังกา และพระพุทธรูปปางอื่นๆ มากมาย นอกจากนี้ภายในถ้ำคูหาภิมุขยังมีหินงอกหินย้อยเป็นรูปลักษณะต่างๆ เช่น ม่าน เศียรช้างเอราวัณ และมีน้ำใสสะอาดไหลรินจากโขดหินธรรมชาติ มีความร่มรื่น ตรงบันไดทางขึ้นไปยังปากถ้ำ มีรูปปั้นยักษ์ ชาวบ้านเรียกว่า “เจ้าเขา” ภายในถ้ำมีลักษณะคล้ายห้องโถงใหญ่ ดัดแปลงปรับปรุงเป็นศาสนสถาน มีปล่องที่เพดานถ้ำยามแสงแดดส่องลงมาดูสวยงามมาก รวมทั้งมีการติดตั้งไฟฟ้าเพื่ออำนวยความสะดวกสบายแก่นักท่องเที่ยวที่จะชมถ้ำมืดแห่งนี้ด้วย

วัดคูหาภิมุข เป็นวัดที่สำคัญของเมืองยะลา มีพิพิธภัณฑ์ศรีวิชัย เก็บวัตถุโบราณที่ได้มาจากวัดถ้ำภูเขากำปั่น พระพิมพ์ดินดิบ สถูปเม็ดพระศก อิฐฐานพระพุทธรูป จอมพลแปลก พิบูลสงคราม เปลี่ยนชื่อ “วัดหน้าถ้ำ” เป็น “วัดคูหาภิมุข”

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้พระยายะหริ่งมาสร้างเมืองยะลา ตั้งที่ว่าราชการ ณ บ้านท่าสาป ตำบลท่าสาป และสร้างวัดขึ้นที่ริมเขาหน้าถ้ำที่มีพระพุทธไสยาสน์ภายในถ้ำ

ปี พ.ศ.2472 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จฯมาประทับแรมที่วัดนี้ ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยย่อ ป.ป.ร. ไว้ที่ผาหินในบริเวณวัดคูหาภิมุข 

วัดคูหาภิมุข เป็นหนึ่งในสามปูชนียสถานที่สำคัญของภาคใต้ เช่นเดียวกับพระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราช และพระบรมธาตุไชยาที่สุราษฎร์ธานี แสดงความรุ่งเรืองของศาสนาพุทธในบริเวณนี้มาตั้งแต่สมัยอาณาจักรศรีวิชัย ตั้งอยู่ที่ตำบลหน้าถ้ำ ห่างจากตัวเมือง 8 กิโลเมตร ตามเส้นทางไปอำเภอยะหา บริเวณวัดรมรื่นมีธารน้ำไหลผ่าน บันไดขึ้นไปยังปากถ้ำมีรูปปั้นยักษ์ ชาวบ้านเรียกว่า "เจ้าเขา" สร้างโดยช่างพื้นบ้านเมื่อปี 2484 ภายในถ้ำมีลักษณะคล้ายห้องโถงใหญ่ ดัดแปลงปรับปรุงเป็นศาสนสถาน มีปล่องที่เพดานถ้ำ ยามแสงแดดส่องลงมาดูสวยงามมาก เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ขนาดใหญ่ สันนิษฐานว่าสร้างมาแต่ปี พ.ศ. 1300 เป็นพระพุทธไสยายสน์สมัยศรีวิชัย มีขนาดความยาว 81 ฟุต 1 นิ้ว เชื่อกันว่าเดิมเป็นปางนารายณ์บรรทมสินธุ์ เพราะมีภาพนาคแผ่พังพานปกพระเศียร ต่อมาจึงได้ดัดแปลงเป็นพระพุทธไสยาสน์แบบหินยาน

ตำบลหน้าถ้ำ

ภาพพิกัดทางภูมิศาสตร์ของวัดคูหาภิมุขตำบลหน้าถ้ำเคยเป็นแหล่งชุมชนโบราณมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ พบร่องรอยศาสนสถาน เมืองโบราณ ซึ่งเป็นศาสนสถานที่พบเทวรูปสำริด กำแพงเมือง พระพิมพ์ดินดิบแบบทวารวดีศรีวิชัย ภาพเขียนสีพระพทธรูปฉาย ภาพเขียนสีราชรถมีสัตว์เทียม มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 15-17 ยะลาเป็นชุมชนเกษตร นักโบราณคดีได้พบภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์บริเวณถ้ำคูหาภิมุข เป็นภาพพระพุทธฉายและภาพราชรถแกะสลักไว้บนหน้าผา ภายในบริเวณถ้ำคูหาภิมุข

พระพุทธไสยาสน์ หรือ “พ่อท่านบรรทม” พระประธานในถ้ำคูหาภิมุข วัดคูหาภิมุข (วัดหน้าถ้ำ) บ้านหน้าถ้ำ ตำบลหน้าถ้ำ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา

พระพุทธไสยาสน์ ชาวตำบลหน้าถ้ำนิยมเรียกว่า “พ่อท่านบรรทม” เป็นพระพุทธรูปปางไสยาสน์ขนาดใหญ่ วัสดุก่ออิฐถือปูน ปั้นด้วยดินเหนียวโดยใช้ไม่ไผ่เป็นโครง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยศรีวิชัยรุ่งเรือง ราว พ.ศ. 1300 หรือสมัยเดียวกับพระบรมธาตุเมืองนคร ขนาดความยาวของพระเศียรถึงพระบาท 81 ฟุต 1 นิ้ว โดยรอบองค์พระ 35 ฟุต ศิลปะศรีวิชัยผสมลังกา เป็นพระพุทธรูปที่แสดงออกถึงพัฒนาการหรือการผสานศิลปวัฒนธรรมต่างยุคเข้าไว้ด้วยกัน

เชื่อกันว่าเดิมเป็นปางนารายณ์บรรทมสินธุ์ เพราะมีภาพนาคแผ่พังพานปกพระเศียร ต่อมาจึงได้ดัดแปลงเป็นพระพุทธไสยาสน์แบบหินยาน ชาวใต้ถือกันว่าเป็นปูชนียสถานที่สำคัญ 1 ใน 3 ของภาคใต้ เช่นเดียวกับพระบรมธาตุเมือง จ.นครศรีธรรมราช และพระธาตุไชยา จ.สุราษฎร์ธานี

มีคำกล่าวว่าหากได้มาเยือนยะลา ต้องมากราบไหว้ขอพรพระพุทธไสยาสน์วัดคูหาภิมุขแห่งนี้ จะได้ชื่อว่ามาถึงยะลาอย่างแท้จริง และหากได้มาอธิษฐานบนบานองค์พระพุทธไสยาสน์ที่ถ้ำแห่งนี้ มักจะได้ผลสำเร็จสมปรารถนา

มีประวัติว่า พบครั้งแรกปั้นด้วยดินดิบ โครงไม้ไผ่สานเป็นตะแกรง ภายในองค์พระกลวงสามารถเดินลอดเข้าไปได้ ต่อมาในปีพุทธศักราช 2464 องค์พระถูกน้ำจากเพดานหยดลงมาถูกพระอุระทะลุเป็นรูลึก เจ้าอาวาสจึงสั่งให้ช่างเหล็กผูกประสานไว้ จากนั้นจึงโบกปูนทับไว้ภายนอก ส่วนข้างในที่เป็นดินเหนียวปั้นเป็นลวดลายสังวาลย์ต่างๆ นั้น เก็บบรรจุรักษาไว้ภายในองค์พระเช่นเดิม

พุทธลักษณะต่างจากพระนอนองค์อื่นๆ คือ มีพญานาคทอดตัวยาวและแผ่พังพานปรกอยู่เหนือเศียร พระกรขวาทอดออกไปข้างหน้าตามแบบอินเดีย ที่ปรากฏโดยทั่วไปนั้นพระกรมักหักศอกตั้งฉาก ส่วนพระหัตถ์ยันรับพระเศียรไว้ นักโบราณคดีสันนิษฐานว่า พระพุทธรูปองค์นี้เป็นรูปหนึ่งของพระโพธิสัตว์ในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน

ประดิษฐานภายในถ้ำคูหาภิมุข วัดคูหาภิมุข เดิมชื่อ วัดหน้าถ้ำ กรมศิลปากรขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 ลงวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478 วัดคูหาภิมุข มีพระพุทธรูป สมัยศรีวิชัย สมัยสุโขทัย สมัยอู่ทอง ใกล้ๆ กับวัดมีภูเขากำปั่นเป็นภูเขาหินอ่อนสีชมพู สวยงามมาก ปัจจุบันรัฐบาลได้ให้สัมปทานแก่บริษัทเอกชนทำหินอ่อนจำหน่าย หินอ่อนสีชมพูจากยะลามีความสวยงาม มีชื่อเสียงระดับประเทศ

 

 

วันเปิดทำการ :  ทุกวัน
 

 

ข้อมูลการติดต่อ :

    ตั้งอยู่เลขที่ 136 หมู่ 1 บ้านหน้าถ้ำ ตำบลหน้าถ้ำ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

 

 

เดินทางอย่างไร :

 

เส้นรุ้ง 6 องศา 31 ลิปดา 27 ฟิลิปดาเหนือ เส้นแวง 101 องศา 13 ลิปดา 40 ฟิลิปดาตะวันออก

-------------------
(ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก www.thaitambon.com , www.oknation.net ,
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?t=45928 )

 

 

แผนที่ : 

ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น
 

 

 

 

เส้นทางการเดินทางท่องเที่ยว / สถานที่ท่องเที่ยวที่อยู่ใกล้เคียง :

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com