ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลอาเนาะรู อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ข้อมูลทั่วไป
เส้นทางท่องเที่ยวโดยนักวิจัย
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทประวัติศาสตร์ และศาสนา
ประเภทศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี
สันทนาการและการบันเทิง
เส้นทางท่องเที่ยวโดยทัวร์อื่นๆ
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
รายชื่อมัสยิด
โรงแรม / ที่พัก
โรงแรม รีสอร์ท และสปา
ร้านอาหาร
ร้านอาหาร
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
ศิลปะหัตถกรรม
ธุรกิจขนาดกลาง/ ขนาดย่อม
สิ่งอำนวยความสะดวก
สถานีตำรวจ
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

ประเพณีแห่เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

ในวันขึ้น15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี จะมีงานสมโภชเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวโดยจังหวัดปัตตานีจะให้ความสำคัญกับงานนี้ เป็นพิเศษ งานสมโภชนี้จะมีความยิ่งใหญ่มโหฬารมีประชาชนจากต่างจังหวัดของไทยและจาก ประเทศเพื่อนบ้านเดินทางหลั่งไหลมาชมงานนมัสการเจ้าแม่กันอย่างเนืองแน่น ปกติจะมีการจัดงานประมาณ 7 วัน 7 คืน นับตั้งแต่วันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 3 บรรดาร้านค้ามาเปิดขายของคล้ายๆ กับงานประจำปีทั่วๆ ไปมหรสพ 2 อย่างที่จะขาดเสียมิได้ คือ งิ้ว และมโนห์รา งิ้วและมโนราห์จะจัดให้แสดงบนโรงถาวรหน้าศาลเจ้า เพราะถือว่าเจ้าแม่ชอบดูศิลปะการแสดงทั้ง 2 อย่างนี้มาก นอกจากนี้ยังมีการเชิดสิงโต หนังกลางแปลงจอยักษ์ และอื่นๆ อีกมากมาย

           คืนวันขึ้น 14 ค่ำ บริเวณงานจะยิ่งคึกคักเป็นพิเศษ เพราะผู้คนจะหลั่งไหลมาอย่างเต็มที่ ทางมูลนิธิเทพปูชนียสถานจะจัดการแสดงต่างๆ ที่เร้าใจผู้คนมากยิ่งขึ้น เช่น จัดแห่มังกร นครสวรรค์ และจุดพลุตระการตา ภายในศาลเจ้าผู้คนจะเบียดเสียดยัดเยียดเข้าสักการะเจ้าแม่เด็กๆ วัยรุ่น ผู้ใหญ่ วัยฉกรรจ์ ตระเตรียมจองคานหามกันคึกคัก เพื่อร่วมพิธีอันสำคัญยิ่งของงานที่จะเริ่มต้นเช้าตรู่ไปจนถึงเที่ยงวันรุ่ง ขึ้น นั่นคือ การแห่พระรอบเมือง และการหามและลุยไฟตอนเช้าตรู่ของวันขึ้น 15 ค่ำ ท่ามกลางเสียงกลอง และเสียงประทัดประดังจนแสบแก้วหู ขบวนคานหามเริ่มทยอยออกจากศาลเจ้า โดยธรรมเนียมปฏิบัติ พระหมอจะเป็นคานหามนำ ตามด้วยคานหามเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว เป็นอันดับ 2 แล้วจึงต่อด้วยคานหามพระองค์อื่นๆ ตามความเหมาะสม

           คานหามแต่ละคานจะมีผู้หาม 4-6 คน คอยสำรองไว้ 4-6  คน แต่ละคนได้รับผ้ายันต์สีแดงของเจ้าแม่ผูกข้อมือไว้เป็นที่สังเกต นอกจากขบวนหามพระ ยังมีขบวนแห่สิงโต ขบวนแห่ป้าย ขบวนหาบกระเช้าดอกไม้ และขบวนกระจับปี่สีซอ เป็นแถวยาวเหยียดไปตามถนน ประชาชนทั้ง 2 ฟากถนนที่เลื่อมใสศรัทธา จะจัดโต๊ะบูชา จุดธูปกราบไหว้ คานหามพระจะแยกย้ายกันไปตามบ้านต่างๆ ให้คนได้สักการะทั่วถึง บางคานหามจะลงว่ายข้ามแม่น้ำปัตตานี จวบจนเวลาใกล้เที่ยงทุกคานหามจะกลับถึงศาลเจ้าเพื่อรอกระทำพิธีกรรมหามพระลุยไฟ อันเป็นพิธีกรรมที่สำคัญที่สุดยอดของงาน กองไฟถูกก่อด้วยถ่านไฟรอไว้กลางลานดินหน้าศาลเจ้า ขนาดประมาณ 3x8 เมตร กองพูนสูงเทียมหัวเข่า มีพนักงานคอยกระพือพัดให้ไฟลุกแดงจนได้ที่ เมื่อได้เวลา น้ำมนต์จากโอ่งมังกรใบใหญ่ถูกนำมาราดรดผู้หามคานหามจนชุ่มโชก เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจแล้วคานหามก็ถูกหามฝ่าไปในกองไฟด้วยเท้าที่เปล่า เปลือย คานหามละ 3 เที่ยว จนครบทุกคานหาม

 

 

 

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com