ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ข้อมูลทั่วไป
เส้นทางท่องเที่ยวโดยนักวิจัย
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทธรรมชาติ
ประเภทประวัติศาสตร์ และศาสนา
ประเภทศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี
สันทนาการและการบันเทิง
โครงการหลวง/โครงการในพระราชดำริ
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
รายชื่อมัสยิด
โรงแรม / ที่พัก
โรงแรม รีสอร์ท และสปา
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
อาหารและเครื่องดื่ม
ศิลปะหัตถกรรม
ธุรกิจขนาดกลาง/ ขนาดย่อม
กลุ่มอาชีพ / สินค้า
สิ่งอำนวยความสะดวก
สถานีตำรวจ
ททท.สำนักงานจังหวัด
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

ความเป็นมาและพระราชดำริ
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริเป็นหน่วยงานที่พระบาทสมเด็จ  พระเจ้าอยู่หัวฯทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งขึ้น เพื่อมีหน้าที่ทำการศึกษา ค้นคว้า แล้วนำข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้านั้น ไปใช้ขยายผลในการพัฒนา โดยทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งกระจายอยู่ในพื้นที่ ต่างๆของประเทศรวม 6 ศูนย์คือ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองจังหวัดนราธิวาส, ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนจังหวัดฉะเชิงเทรา, ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานจังหวัดสกลนคร, ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้จังหวัดเชียงใหม่,ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายจังหวัดเพชรบุรีและศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนจังหวัดจันทบุรี โดยศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง เป็นศูนย์ที่ทรงมีพระราชดำริ ให้ตั้งขึ้นเมื่อ ปีพ.ศ. 2525 
ทั้งนี้ทรงมีพระราชประสงค์ในเบื้องต้นเพื่อให้ทำการศึกษา ค้นคว้า การแก้ปัญหาดินเปรี้ยวที่เกษตรกรทำนาได้ผลไม่คุ้มค่า ซึ่งข้อเท็จจริงการแก้ปัญหาเรื่องดินนั้น ต้องทำควบคู่กันไปในหลายด้านคือด้านป่าไม้ แหล่งน้ำ และ อื่นๆด้วย ต่อมาเป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลจึงมีรูปแบบการทำงานที่ผสมผสานการทำงานของหน่วยงานด้านอื่นๆด้วย ซึ่งปัจจุบันมีส่วนราชการเข้าร่วมดำเนินงานประมาณ 30 หน่วยงาน
สำหรับงานป่าไม้ เป็นงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบหลักในการดำเนินการศึกษา ค้นคว้าและจัดการทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่โครงการให้เกิดผลประโยชน์สูงสุด ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่าพรุ(peatswampforest) ที่มีน้ำจืดท่วมขังอยู่เกือบทั้งปี มีเนื้อที่ประมาณ193,559 ไร่ ซึ่งสามารถจำแนกพื้นที่พรุของจังหวัดนราธิวาสโดยอาศัยข้อมูลสภาพของพรรณไม้และสภาพของดินในพื้นที่พรุออกเป็น 3 เขตคือ

เขตสงวน (preservation zone) 
เขตนี้เป็นเขตใจกลางพรุเป็นป่าพรุดั้งเดิมที่ยังคงมีความสมบูรณ์มีเนื้อที่ประมาณ 56,906 ไร่

เขตอนุรักษ์(conservationzone)
เขตนี้เป็นเขตที่พบสังคมพืชอยู่ในสภาพเสื่อมโทรมซึ่งเปลี่ยนสภาพมาจากป่าพรุดั้งเดิมที่
สมบูรณ์ถูกทำลายด้วยการระบายน้ำออกจากป่าพรุ และเกิดไฟป่าเผาไหม้10มีเนื้อที่ประมาณ 112,188ไร่

เขตพัฒนา(developmentzone)
เขตนี้เป็นเขตที่ป่าพรุได้ถูกทำลายเปลี่ยนสภาพไปหมดแล้วส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ทุ่งร้างไม่มี
พรรณไม้ยืนต้นขึ้นอยู่สภาพของดินมีชั้นของดินอินทรีย์คงเหลืออยู่น้อยมากเขตนี้กำหนดให้ใช้ประโยชน์พื้นที่เพื่อการกสิกรรมหรือทำการปลูกป่าในลักษณะของสวนป่าเศรษฐกิจ

ในส่วนที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมป่าไม้ ปัจจุบันนี้ นั้น โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง จังหวัดนราธิวาส เดิมเป็นหน่วยงานในสังกัดกรมป่าไม้ (เดิม) มีภารกิจหลักเป็นหน่วยงานศึกษา   ค้นคว้า และวิจัยด้านป่าไม้  โดยเน้นงานวิจัยด้านป่าพรุ โดยเฉพาะด้านการปลูกและฟื้นฟูป่าพรุ ควบคู่กับด้านนิเวศวิทยาป่าไม้และอื่นๆ     นอกจากนี้มีภารกิจเสริมอีกหลายกิจกรรมภายใต้แผนงานของโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริจังหวัดนราธิวาสเช่น การเพาะชำกล้าไม้แจกจ่ายฟรีแก่ประชาชนและหน่วยงานของรัฐ เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้แผ่นดิน จัดทำโครงการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน  เพื่อสร้างจิตสำนึกให้นักเรียนมีใจอนุรักษ์การจัดสร้างแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ไม้และอนุรักษ์พันธุ์ไม้ งานด้านส่งเสริมประชาสัมพันธ์ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ รวมถึงการช่วยดับไฟและป้องกันไฟป่าในป่าพรุ และที่สำคัญคืองานสนองงานพระราชดำริต่างๆของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงค์ ที่พระองค์ได้มีพระราชดำริหรืกระแสพระราชดำรัสต่างๆ ไว้เป็นต้น

ต่อมาเมื่อวันที่ 2ตุลาคม 2546รัฐบาลได้ปฏิรูปราชการ ได้แยกกรมป่าไม้ออกเป็น3กรม  กิจกรรมงานที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมป่าไม้ (เดิม) ทั้งหมดถูกกำหนดให้เป็นหน่วยงานหนึ่งอยู่ภายใต้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้มีหน่วยงานสนองงานภารกิจของกรมป่าไม้ กรมป่าไม้ จึงได้มีคำสั่งให้จัดตั้ง โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง จังหวัดนราธิวาส เป็นหน่วยงานสังกัดกรมป่าไม้ขึ้นมาใหม่ เมื่อปี 2547

วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
เพื่อสนองงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ  ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส  และจังหวัดใกล้เคียง
เพื่อศึกษา  ค้นคว้า  ทดลอง  วิจัย และ สำรวจ    หาข้อมูลเกี่ยวกับป่าไม้ในป่าพรุ และป่าอื่นๆ ในพื้นที่ภาคใต้  มาใช้ในการพัฒนาและส่งเสริมให้เกิดประโยชน์สูงสุดในทางเศรษฐกิจให้กับชุมชนที่อยู่อาศัยรอบๆ ป่าพรุ ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส
เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติป่าพรุพรุ และป่าอื่นๆ ในพื้นที่ภาคใต้ให้คงอยู่ตลอดไป
เพื่อสาธิตและเผยแพร่งานด้านการประโยชน์ไม้และของป่าพรุในป่าพรุพรุ และป่าอื่นๆ
ในพื้นที่ภาคใต้ต่อสู่สาธารณชนเพื่อผลิตกล้าไม้  แจกจ่ายสู่ราษฎร  นำไปปลูกขยายผลในพื้นที่ของราษฎร

ระยะเวลาดำเนินงานและผลการดำเนินงาน
ในปีงบประมาณ  2550  นี้  สามารถดำเนินงานได้สำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายในแผนการปฏิบัติงานทุกประการ  รวมทั้งได้ดำเนินงานในกิจกรรมอื่นเพื่อสนับสนุนแผนการดำเนินงานปกติอีกหลายกิจกรรม  มีรายละเอียด  ดังต่อไปนี้

เพาะชำกล้าไม้ทั่วไป
ดำเนินการเพาะชำกล้าไม้เพื่อแจกจ่ายฟรีให้แก่ประชาชนและหน่วยงานราชการทั่วไป ทั้งนี้เพื่อเป็นการส่งเสริมการปลูกป่าและเพิ่มพื้นที่สีเขียว  รวมทั้งได้ไม้ไว้ใช้สอยตลอดจนตกแต่งอาคารสถานที่ให้ร่มรื่น  ได้กล้าไม้  30,000  กล้า  ได้แก่  พะยอม  ดาหลา  ตะเคียนทอง  อินทนิน  ตีนเป็ด  จามจุรี  ราชพฤกษ์  หมากเหลือง  กระถินเทพา  หมากเขียว  มันปู  หมากนวล  มะฮอกกานี  ตะลิงปิง  เป็นต้น              ในรอบปี  2550  ที่ผ่านมามีประชาชน  และส่วนราชการ  ตลอดจนนักเรียน  นักศึกษา  มาขอรับบริการเป็นจำนวนมาก  และนอกจากนี้  ยังได้สนับสนุนกล้าไม้ไปแจกฟรีในงานนิทรรศการนอกสถานที่  ณ  จุดต่าง ๆ  อีกหลายครั้ง  

เพาะชำกล้าไม้มีค่า
ดำเนินการเพาะกล้าไม้มีค่า  หายาก  เพื่อสนับสนุนโครงการพิเศษ  และแจกจ่ายให้แก่ประชาชน  และหน่วยงานราชการทั่วไป  ทั้งนี้เพื่อเป็นการส่งเสริมการปลูกป่าและเพิ่มพื้นที่สีเขียว  รวมทั้งได้ไม้ไว้ใช้สอยตลอดจนตกแต่งอาคารสถานที่ให้ร่มรื่น  โดยการเก็บเมล็ดจากแม่ไม้ที่ดี  มีคุณภาพ  มาเพาะชำในถุงดิน  ขนาด  5x8  นิ้ว  จำนวน  30,000  กล้า  เช่น  มะถังแต้  นมแมว  หมากแดง  ผักหวานป่า  ตะเคียนทอง  ตำหยาว  ยางวาด  ส้มแขก  ประ  หูยาน  ขี้กวาง  มะพุด  รักนา  สารภีทะเล  เป็นต้น   
 
งานศึกษาทดลองกลั่นน้ำมันหอมระเหยไม้เสม็ด
ดำเนินการทดลองกลั่นน้ำมันหอมระเหยจากใบไม้เสม็ดขาว  จากพื้นที่ต่าง ๆ ในจังหวัดนราธิวาส และนำน้ำมันหอมระเหยที่กลั่นได้ไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์  ใบไม้เสม็ดขาวที่ทางโครงการฯ  นำมาทดลองกลั่นนั้น  จะมีทั้งใบไม้เสม็ดขาวแบบสด  และแบบแห้ง  ซึ่งใบไม้เสม็ดขาวแบบแห้งจะให้น้ำมันได้ดีกว่าแบบสด  ผลิตภัณฑ์ที่นำน้ำมันหอมระเหยมาแปรรูป  คือ  โลชั่นทากันยุง  แชมพูสระผม  และยาหม่อง

งานศึกษาการใช้ประโยชน์ไม้เสม็ดขนาดเล็ก
ดำเนินการแปรรูปไม้เสม็ดขาวในขนาดที่แตกต่างกัน  เพื่อนำมาจัดทำเป็นผลิตภัณฑ์จากไม้เสม็ดขาวให้เกิดประโยชน์สูงสุด  เช่น  โต๊ะ  เก้าอี้  ที่ครอบกระถางต้นไม้  หิ้งพระ  กรอบรูป  ชั้นวางของ  เป็นต้น

งานอำนวยการ  และประสานการดำเนินงาน
อำนวยการและบริหารโรงงานหัตถกรรมไม้เสม็ดขาว  เพื่อวางแผนให้เป็นโรงงานต้นแบบใช้ขยายผลการใช้ประโยชน์ไม้เสม็ดขาว  และไม้อื่น ๆ ในท้องถิ่นสู่ประชาชน  และชุมชน  อีกทั้งได้ดำเนินการเพื่อการสนับสนุนการปฏิบัติงานวิจัยและรวบรวมข้อมูลงานวิจัยด้านป่าพรุ  โดยเฉพาะข้อมูล           ด้านวนวัฒนวิทยาของพันธุ์ไม้ป่าพรุ  การจัดทำเอกสารและนำเผยแพร่สู่ประชาชนในทุกรูปแบบ  รวมทั้งประสานงานและให้บริการกับนักวิจัยจากหน่วยงานอื่นที่เข้ามาปฏิบัติงานวิจัยด้านป่าพรุ  และเป็นแผนงาน ที่ช่วยสนับสนุนการดำเนินงานการตอบรับหนังสือราชการ  งานสารบัญ  งานธุรการ  ตลอดจนการรวบรวม  การจัดทำรายงานแผน/ผล  การปฏิบัติงานประจำเดือน/ปี  รวมทั้งจัดทำเอกสารใบสำคัญการเบิกจ่ายงบประมาณของโครงการฯ  สำเร็จผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ทุกประการ 

งานอื่น ๆ นอกเหนือจากแผนงานปกติ

การเตรียมการรับเสด็จ 
1. ได้ทำการจัดเตรียมพื้นที่รับเสด็จ  ที่บริเวณ  งานป่าไม้  ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง  จังหวัดนราธิวาส  ท้องที่ตำบลกะลุวอเหนือ  อำเภอเมือง  จังหวัดนราธิวาส  เพื่อเฝ้ารับเสด็จและกราบบังคมทูลถวายรายงานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารี  เมื่อวันที่  7  กุมภาพันธ์  2550
2. ได้ทำการจัดเตรียมพื้นที่รับเสด็จ  ที่ฟาร์มตัวอย่างบ้านรอตันบาตู  ท้องที่ตำบลกะลุวอเหนือ  อำเภอเมือง  จังหวัดนราธิวาส  เพื่อเฝ้ารับเสด็จและกราบบังคมทูลถวายรายงานสมเด็จ พระบรมโอรสาธิราชสยามมงกุฎราชกุมาร  ที่ทรงมีกำหนดการจะเสด็จพระราชดำเนินทรงงานในวันที่   21  สิงหาคม  2550

จัดนิทรรศการต่าง ๆ
  1. ร่วมจัดกิจกรรมในงานวันเด็กแห่งชาติ  ประจำปี  2550  ณ  เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกียรติ  สมเด็จพระเทพรัตนสุดาฯ   สยามบรมราชกุมารี  อำเภอตากใบ  จังหวัดนราธิวาส  เมื่อวันที่  14  มกราคม  2550
  2. ร่วมจัดนิทรรศการในงานวันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาติ  ประจำปี  2550  ณ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 6 สาขาปัตตานี (สำนักงานป่าไม้เขตปัตตานี เดิม)  เมื่อวันที่  17 – 18   มกราคม  2550
  3. ร่วมกับส่วนราชการในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  จัดนิทรรศการด้านธรรมชาติ  และแจกกล้าไม้    ในงานกาชาด  และงานประจำปีจังหวัดนราธิวาส    ระหว่างวันที่  26  เมษายน 2550 – 5  พฤษภาคม  2550 
  4. ร่วมจัดนิทรรศการในงานสมโภชศาลหลักเมือง  และงานกาชาด  จังหวัดยะลา  เฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา  80  พรรษา  ประจำปี  พ.ศ. 2550   ระหว่างวันที่  25  พฤษภาคม  - 4  มิถุนายน  2550
  5. ร่วมกับศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง  จังหวัดนราธิวาส  จัดนิทรรศการแสดงผลการดำเนินงานของโครงการฯ  ผลการศึกษาวิจัย  งานด้านวิชาการป่าไม้    สาธิตการกลั่นน้ำมันหอมระเหยจากใบเสม็ดขาว  การใช้ประโยชน์จากไม้เสม็ด  และแจกจ่ายกล้าไม้ฟรีแก่เด็กนักเรียน  และประชาชนผู้เข้าชมที่บริเวณงานป่าไม้  ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง     งาน  “80  พรรษา  ปวงประชาเป็นสุขศานต์” ระหว่างวันที่  3 – 11  กันยายน  2550
  6. ร่วมกับส่วนราชการในกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  จัดนิทรรศการด้านธรรมชาติ  และแจกกล้าไม้  ในงานวันของดีเมืองนรา  ระหว่างวันที่  21 – 30  กันยายน  2550 
งานด้านปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติฯ
  1. ร่วมกับศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง  จังหวัดนราธิวาส  จัดงาน  “วันรณรงค์ปลูกหญ้าแฝกเฉลิมพระเกียรติ  80  พรรษา  ณ  บ้านโคกอิฐ – โคกใน  หมู่ที่ 2  ตำบลพร่อน  อำเภอตากใบ  จังหวัดนราธิวาส  ในวันที่  3  สิงหาคม  2550
  2. สนับสนุนกล้าไม้  และป้ายชื่อต้นไม้  เพื่อทรงปลูก  แก่ส่วนราชการต่าง ๆ ที่ขอการสนับสนุนมา 

 

 

วันเปิดทำการ :  ทุกวัน
 

 

เวลาเปิดทำการ :  08.30 - 16.30 น.
 

 

ข้อมูลการติดต่อ :

    ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
    95 หมู่ 6 ต.กะลุวอเหนือ อ. เมือง จ.นราธิวาส รหัสไปรษณีย์ 96000
    โทรศัพท์ : 0-7363-1033, 0-7363-1038
    โทรสาร : 0-7363-1034
    อีเมลล์ : cpt_1@ldd.go.th

    (ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.pikunthong.com , http://thai.tourismthailand.org , http://www.forest.go.th/orip/index.php?option=com_content&view=article&id=350&Itemid=441&lang=th)

 

 

เดินทางอย่างไร :

 


 

 

แผนที่ : 

ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น
 

 

 

 

เส้นทางการเดินทางท่องเที่ยว / สถานที่ท่องเที่ยวที่อยู่ใกล้เคียง :

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com