ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูลอำเภอและตำบลในจังหวัดปัตตานี

อำเภอเมืองปัตตานี

ตำบลกะมิยอ
ตำบลรูสะมิแล
ตำบลสะบารัง
ตำบลอาเนาะรู
ตำบลบาราโหม
ตำบลบาราเฮาะ
ตำบลบานา
ตำบลจะบังติกอ
ตำบลคลองมานิง
ตำบลตะลุโบะ
ตำบลตันหยงลุโละ
ตำบลปะกาฮะรัง
ตำบลปุยุด

อำเภอโคกโพธิ์

ตำบลมะกรูด
ตำบลช้างให้ตก
ตำบลบางโกระ
ตำบลทรายขาว
ตำบลทุ่งพลา
ตำบลท่าเรือ
ตำบลควนโนรี
ตำบลปากล่อ
ตำบลป่าบอน
ตำบลนาประดู่
ตำบลนาเกตุ
ตำบลโคกโพธิ์

อำเภอหนองจิก

ตำบลยาบี
ตำบลลิปะสะโง
ตำบลบางตาวา
ตำบลบางเขา
ตำบลบ่อทอง
ตำบลท่ากำชำ
ตำบลดอนรัก
ตำบลดาโต๊ะ
ตำบลคอลอตันหยง
ตำบลตุยง
ตำบลปุโละปุโย
ตำบลเกาะเปาะ

อำเภอปะนาเระ

ตำบลบ้านกลาง
ตำบลบ้านนอก
ตำบลบ้านน้ำบ่อ
ตำบลพ่อมิ่ง
ตำบลท่าข้าม
ตำบลท่าน้ำ
ตำบลดอน
ตำบลควน
ตำบลคอกกระบือ
ตำบลปะนาเระ

อำเภอมายอ

ตำบลกระหวะ
ตำบลกระเสาะ
ตำบลมายอ
ตำบลลางา
ตำบลลุโบะยิไร
ตำบลสะกำ
ตำบลสาคอบน
ตำบลสาคอใต้
ตำบลถนน
ตำบลตรัง
ตำบลปะโด
ตำบลปานัน
ตำบลเกาะจัน

อำเภอทุ่งยางแดง

ตำบลพิเทน
ตำบลตะโละแมะนา
ตำบลปากู
ตำบลน้ำดำ

อำเภอสายบุรี

ตำบลกะดุนง
ตำบลมะนังดาลำ
ตำบลละหาร
ตำบลบางเก่า
ตำบลบือเระ
ตำบลทุ่งคล้า
ตำบลตะลุปัน
ตำบลตะบิ้ง
ตำบลปะเสยะวอ
ตำบลแป้น
ตำบลเตราะบอน

อำเภอไม้แก่น

ตำบลคอนทราย
ตำบลตะโละไกรทอง
ตำบลไม้แก่น
ตำบลไทรทอง

อำเภอยะหริ่ง

ตำบลมะนังยง
ตำบลยามู
ตำบลราตาปันยัง
ตำบลสาบัน
ตำบลหนองแรต
ตำบลบางปู
ตำบลบาโลย
ตำบลจะรัง
ตำบลตอหลัง
ตำบลตะโละ
ตำบลตะโละกาโปร์
ตำบลตันหยงจึงงา
ตำบลตันหยงดาลอ
ตำบลตาลีอายร์
ตำบลตาแกะ
ตำบลปิยามุมัง
ตำบลปุลากง
ตำบลแหลมโพธิ์

อำเภอยะรัง

ตำบลกระโด
ตำบลกอลำ
ตำบลยะรัง
ตำบลระแว้ง
ตำบลวัด
ตำบลสะดาวา
ตำบลสะนอ
ตำบลคลองใหม่
ตำบลประจัน
ตำบลปิตูมุดี
ตำบลเมาะมาวี
ตำบลเขาตูม

อำเภอกะพ้อ

ตำบลกะรุบี
ตำบลตะโละดือรามัน
ตำบลปล่องหอย

อำเภอแม่ลาน

ตำบลม่วงเตี้ย
ตำบลป่าไร่
ตำบลแม่ลาน

 

 

จังหวัดปัตตานี
 
 

บูดูสะอาด หาดทรายสวย รวยน้ำตก นกเขาดี ลูกหยีอร่อย หอยแครงสด

 

ปัตตานีคือจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพียบพร้อมด้วยแหล่งประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม เช่น มัสยิดกรือเซะ สุสานเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ฯลฯ และพื้นที่ธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ ทั้งผืนป่า สายน้ำ และท้องทะเล นับเป็นอีกจังหวัดที่งดงามด้วยวิถีชีวิตของผู้คนและสภาพภูมิประเทศ สมกับความยิ่งใหญ่ในฐานะเมืองหลวงของอาณาจักรลังกาสุกะ ซึ่งเป็นอดีตอาณาจักรเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชียอาคเนย์

จังหวัดปัตตานีมีเนื้อที่ประมาณ 2,052 ตารางกิโลเมตร เป็นจังหวัดที่มีขนาดเล็กเป็นอันดับ 2 ของภาคใต้ (อันดับ 1 คือภูเก็ต) พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม เหมาะแก่การเพาะปลูก มีภูเขาสำคัญคือภูเขาทรายขาว ซึ่งอยู่ในเทือกเขาสันกาลาคีรี มีแม่น้ำสำคัญ 2 สาย คือ แม่น้ำตานีและแม่น้ำสายบุรีปัตตานีเป็นดินแดนเก่าแก่ซึ่งได้สั่งสมความรุ่งเรืองมายาวนาน มีชื่อปรากฏอยู่ในเอกสารโบราณหลายฉบับ เช่น ตานี ปะตานี ฟาฏอนี โฝตาหนี ต้าหนี่ เป็นต้น ด้วยทำเลที่ตั้งติดกับทะเล มีอ่าวที่สามารถบังคลื่นลมได้ดี อีกทั้งยังมีเส้นทางบกและเส้นทางแม่น้ำเชื่อมต่อกับด้านมหาสมุทรอินเดีย รวมถึงการที่มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ ปัตตานีจึงเป็นเมืองท่าค้าขายกับเมืองอื่นๆ บนคาบสมุทรมลายูที่เจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างยิ่ง การเป็นเมืองท่าเช่นนี้ยังทำให้ปัตตานีได้รับอารยธรรมจากชนชาติต่างๆ ที่เข้ามาติดต่อค้าขาย ซึ่งต่อมาได้ผสมผสานกับวัฒนธรรมดั้งเดิม กลายเป็นวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะมาจนถึงทุกวันนี้นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีเชื่อว่า ดินแดนที่เป็นปัตตานีในปัจจุบัน คือที่ตั้งของอาณาจักรลังกาสุกะ ซึ่งรุ่งเรืองมาตั้งแต่ช่วงพุทธศตวรรษที่ 7 โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองโบราณยะรังในปัจจุบัน จนถึงช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 ลังกาสุกะจึงเริ่มเสื่อมลง เพราะชายฝั่งทะเลตื้นเขิน แม่น้ำเปลี่ยนทางเดิน อีกทั้งอาณาจักรมะละกาทางตอนใต้ยกกำลังมาโจมตีหลายครั้ง กระทั่งถึงพุทธศตวรรษที่ 21 ลังกาสุกะก็ล่มสลายลง โดยมีเมืองท่าแห่งใหม่ชื่อปะตานีเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาแทน และเป็นศูนย์กลางการศึกษาและเผยแผ่ศาสนาอิสลามที่สำคัญในภูมิภาคนี้ล่วงเลยมาถึง พ.ศ. 2351 ปัตตานีแบ่งการปกครองออกเป็น 7 หัวเมือง คือ เมืองตานี ยะหริ่ง หนองจิก สายบุรี ระแงะ รามันห์ และยะลา ครั้นถึง พ.ศ. 2449 ปัตตานีแยกมาตั้งเป็นมณฑล จนถึง พ.ศ. 2475 มณฑลปัตตานีก็ถูกยุบไปรวมกับมณฑลนครศรีธรรมราช กระทั่งถึง พ.ศ. 2476 จึงได้รับการยกฐานะเป็นจังหวัดปัตตานี จวบจนถึงปัจจุบันจังหวัดปัตตานีแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 12 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองปัตตานี อำเภอโคกโพธิ์ อำเภอมายอ อำเภอหนองจิก อำเภอปะนาเระ อำเภอสายบุรี อำเภอยะรัง อำเภอยะหริ่ง อำเภอทุ่งยางแดง อำเภอไม้แก่น อำเภอกะพ้อ และอำเภอแม่ลาน

 
สถานที่ท่องเทียวแนะนำ จังหวัดปัตตานี
tag วัดช้างให้ราษฎร์บูรณาราม
วัดช้างให้ราษฎร์บูรณาราม

วัดช้างให้ราษฎร์บูรณาราม วัดช้างให้สร้างขึ้นกว่า ๓๐๐ ปี แต่ไม่ทราบแน่ชัดว่าผู้ใดเป็นผู้สร้าง ตามตำนานกล่าวว่า พระยาแก้มดำ เจ้าเมืองไทรบุรี ต้องการหาชัยภูมิสำหรับสร้างเมืองใหม่ให้กับน้องสาว(นางเจ๊ะสิตี) จึงได้เสี่ยงอธิษฐานปล่อยช้างคู่เมืองออกเดินป่า โดยมีพระยาแก้มดำน้องสาวและไพร่พลเดินติดตามช้างมาหยุด ณ ป่าแห่งหนึ่งพร้อมเดินวนเวียนแล..

 

อ่านต่อ

tag ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว
ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว

งานแห่เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวจังหวัดปัตตานีมีทุกปีหลังตรุษจีนไป ๑๔ วัน เป็นงานที่ชาวจีนและชาวไทยทั่วประเทศ รวมทั้งชาวจีนในประเทศใกล้เคียงให้ความสนใจมาชมมากที่สุดของจังหวัดปัตตานี มาด้วยความเลื่อมใสและศรัทธาต่อความศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ในงานดังกล่าวจะมีพิธีลุยน้ำข้ามแม่น้ำปัตตานี และมีพิธีลุยไฟที่ตื่นเต้นเร้าใจ

คนทั่วไปรู้ประวัติเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวมาอย่างสั..

 

อ่านต่อ

tag วังเก่าจะบังติกอ
วังเก่าจะบังติกอ

วังจะบังติกอ ตั้งอยู่ที่ตำบลจะบังติกอ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี สร้างโดยสถาปนิกชาวจีนในสมัยตนกูมูฮัมหมัดหรือตนกูบือซา พ.ศ. 2388-2399 เชื้อสายราชวงศ์กลันตัน ( กำปงลาว์หรือบ้านทะเล)ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองปัตตานี ตัววังล้อมด้วยกำแพงทึบก่ออิฐถือปูน รูปทรงของวังเป็นบ้านชั้นเดียวขนาดใหญ่ หลังคาทรงปั้นหยา หรือแบบลีมะ ตัวอาคารเป็นรูปทร..

 

อ่านต่อ

tag มัสยิดกรือเซะ
มัสยิดกรือเซะ

มัสยิดกรือเซะ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนขนาดกว้าง ๑๕.๑๐ เมตร ยาว ๒๙.๖๐ เมตร สูง ๖.๕๐ เมตร เสาทรงกลม เลียนรูปลักษณะแบบเสาโคชิดของยุโรป ช่องประตูหน้าต่าง มีทั้งแบบโค้งแหลมและโค้งมนแบบโคธิดโดมและหลังคายังก่อสร้างไม่เสร็จ อิฐที่ใช้ก่อมีลักษณะเป็นอิฐสมัยอยุธยา ตรงฐานมัสยิดมีอิฐรูปแบบคล้ายอิฐสมัยทวารวดีปะปนอยู่บ้าง

 

อ่านต่อ

tag น้ำตกทรายขาว
น้ำตกทรายขาว

น้ำตกทรายขาว เดิมชาวบ้านเรียกว่า น้ำตกตะโกน มีต้นน้ำเกิดจากยอดเขานางจันทร์ในทิวเขาทรายขาว เทือกเขาสันกาลาคีรี ถูกค้นพบโดยพระครูศรีรัตนากร (ท่านสีแก้ว) เจ้าอาวาสวัดทรายขาว เมื่อปี 2475 อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาวมีพื้นที่ครอบคลุมป่าสงวนแห่งชาติเขาใหญ่ ในท้องที่อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี อำเภอเมืองยะลา อำเภอยะหา จังหวัดยะลา ..

 

อ่านต่อ

tag สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์
สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์

ตั้งอยู่ที่ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง ห่างจากตัวเมืองประมาณ 1 กิโลเมตร   เป็นสวนสาธารณะที่จัดสร้างขึ้นบริเวณริมทะเลสาบแม่น้ำปัตตานีฝั่งซ้าย ไปจนติดกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นสวนป่าชายเลนที่ตกแต่งด้วยไม้ดอกไม้ประดับทิวทัศน์สวยงามร่มรื่นจึงมีผู้นิยมไปพักผ่อนกันมาก..

 

อ่านต่อ

tag ศูนย์ฝึกอาชีพ (วัดช้างให้) จ.ปัตตานี
ศูนย์ฝึกอาชีพ (วัดช้างให้) จ.ปัตตานี

ศูนย์ฝึกอาชีพ (วัดช้างให้) จ.ปัตตานี เป็นศูนย์การแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ศิลปาชีพ เช่น ผ้าบาติก เรือกอและจำลอง เซรามิก ..

 

อ่านต่อ

tag พิพิธภัณฑ์พระเทพญาณโมลี
พิพิธภัณฑ์พระเทพญาณโมลี

พิพิธภัณฑ์พระเทพญาณโมลี ตั้งอยู่ในสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา ภายในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ก่อตั้งขึ้นด้วยการเก็บรวบรวมศิลปวัตถุและโบราณวัตถุของพระเทพญาณโมลี (เกตุ ธรรมรัชชะ) เจ้าอาวาสวัดตานีนรสโมสร จังหวัดปัตตานี โดยท่านได้บริจาคทุนทรัพย์ และโบราณวัตถุให้แก่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เช่น เครื่องถ้วยชาม รูปเค..

 

อ่านต่อ

tag วนอุทยานปราสาทนางผมหอม
วนอุทยานปราสาทนางผมหอม

วนอุทยานปราสาทนางผมหอม ในวนอุทยานมีน้ำตกลักษณะไม่สูงนัก มีลำธารยาวประมาณ 3 กิโลเมตร มีน้ำมากในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม
..

 

อ่านต่อ

tag วัดมุจลินทวาปีวิหาร
วัดมุจลินทวาปีวิหาร

วัดมุจลินทวาปีวิหาร ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 10 กิโลเมตร ริมเส้นทางหลวงสายปัตตานี -โคกโพธิ์ ในเขตสุขาภิบาลอำเภอหนองจิก เป็นวัดเก่าแก่สร้างเมื่อพระยาวิเชียรภักดีศรีสงครามย้ายที่ว่าการอำเภอหนองจิกจากที่เก่า มาอยู่ที่ตำบลตุยง เมื่อ พ.ศ. 2388 เดิมมีชื่อว่า "วัดตุยง" ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสเมืองหนองจิก และมีพระราชศรัทธาบริจาคเงินเพื่อก่อสร้างพระอุโบสถ..

 

อ่านต่อ

tag พลับพลาที่ประทับของรัชกาลที่ 7
พลับพลาที่ประทับของรัชกาลที่ 7

พลับพลาที่ประทับของรัชกาลที่ ๗ เป็นศาลาทรงไทย สร้างขึ้นเป็นที่ประทับเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ จะเสด็จทอดพระเนตรสุริยุปราคา เมื่อ ค.ศ. ๒๔๗๒ ตั้งอยู่บริเวณที่ว่าการอำเภอโคกโพธิ์ปัจจุบันที่ประทับได้รับการบูรณะซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม..

 

อ่านต่อ

tag หาดปะนาเระ
หาดปะนาเระ

รายละเอียดสถานที่ท่องเที่ยว :
อยู่ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 3 กิโลเมตร ใช้เส้นทางเดียวกับหาดตะโละกาโปร์ เป็นหมู่บ้านชาวประมงหลายร้อยหลังคาเรือน บนหาดทรายมีเรือกอและ และเรือประมงนานาชนิดจอดเรียงรายอยู่ทั่วทั้งหาด หาดทรายไม่เหมาะแก่การเล่นน้ำ เพราะเป็นหมู่บ้านชาวประมงและที่จอดเรือ
..

 

อ่านต่อ

tag หาดรัชดาภิเษก
หาดรัชดาภิเษก

ตั้งอยู่ที่บ้านสายหมอ ตำบลสายหมอ ห่างจากตัวจังหวัดปัตตานีประมาณ 15 กิโลเมตรหรือห่างจากที่ว่าการอำเภอหนองจิกประมาณ 2 กิโลเมตร มีทางแยกเข้าระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร ชายหาดร่มรื่นด้วยทิวสนเหมาะสำหรับนั่งพักผ่อน..

 

อ่านต่อ

tag ตลาดนัดปาลัส
ตลาดนัดปาลัส

ตลาดนัดปาลัส บนทางแยกจากทางหลวงแผ่นดินสาย 42 เข้าสู่อำเภอปานาเระ คือบ้านปาลัส ช่วงเวลาเช้าสายจะมีตลาดนัดริมทาง ชาวไทยมุสลิมแต่งเครื่องแต่งกายพื้นเมือง โพกศรีษะด้วยผ้าบาติกสีฉูดฉาด เดินไปมาหาซื้อของในตลาดแหงนั้น เป็นภาพซึ่งน่าชมชีวิตชนบทของชาวไทยมุสลิม ที่มีบรรยากาศเมืองใต้อย่างแท้จริง ตลาดนัดปาลัสนี้จะปิดเฉพาะวันพุธ และวันอาทิตย์เท่านั้..

 

อ่านต่อ

tag วัดอรัญวาสิการาม
วัดอรัญวาสิการาม

ตั้งอยู่เลขที่ 123 บ้านห้วยเงาะ ถนนเพชรเกษม หมู่ที่ 5 ตำบลทุ่งพลา อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบสูงมีบ้านเรือนประชาชนโดยรอบ สำหรับปูชนียวัตถุมีประธานในอุโบสถเป็นพระพุทธชินราชจำลอง , พระพุทธรูปยืนทรงเครื่ือง และพระพุทธรูปอื่นๆ อีกประมาณ 20 องค์ ประดิษฐานอยู่ในวิหาร วัดอรัญวาสิการาม ได้สร้างขึ้น..

 

อ่านต่อ

tag วัดศรีมหาโพธิ์
วัดศรีมหาโพธิ์

เรื่องความเป็นมาของวัดศรีมหาโพธิ์นั้น ไม่ได้มีบันทึกเอาไว้เล่าต่อๆ กันมาเพียงว่าเริ่มแรกเดิมทีที่นั้น (วัดศรีมหาโพธิ์ปัจจุบัน) เป็นป่ามีพระธุดงค์มาปักกรดใต้ต้นมะม่วงใหญ่ พุทธศาสนิกชนเมื่อมาพบเจอต่างเลื่อมใสพากันมาทำบุญสดับรับฟังพระธรรมคำสั่งสอนมากขึ้น ๆ ทุกวัน จนถึงกับอาราธนานิมนต์พระธุดงค์องค์นั้น (บ้านดอน) พร้อมกับสร้างวัดขึ้นชื่อว่า ว..

 

อ่านต่อ

tag หาดบางสาย
หาดบางสาย

หาดบางสาย มีลักษณะเป็นหาดทรายชายทะเลยาวประมาณ 5 กิโลเมตรหาดป่าไหม้ ตั้งอยู่ที่ ม.3 ต.ไทรทอง อ.ไม้แก่น จว.ปัตตานีเป็นหาดทรายต่อจากหาดบางสาย หาดทั้งสองหาดไม่เหมาะแก่การลงเล่นน้ำทะเลเนื่องจากคลื่นน้ำทะเลมีการซัดคลื่นม้วนลงเป็นลักษณะแอ่งกระทะ....เหมาะแก่การเดินเล่นชมทัศนียภาพภาพพระอาทิตย์ขึ้นจากพื้นทะเลยามเช้าเป็นภาพแห่งความ..

 

อ่านต่อ

tag หมู่บ้านชาวจีนที่กาแลบือซาร์
หมู่บ้านชาวจีนที่กาแลบือซาร์

หมู่บ้านชาวจีน ตั้งอยู่ใกล้กับกาแลบือซาร์ ตำบลกะมิยอ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ในปัจจุบัน ห่างจากมัสยิดกรีเซะไปทางตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 2.5 กิโลเมตร ที่ตั้งของหมู่บ้านชาวจีนดั้งเดิมมีขนาดใหญ่ชื่อว่า "กาแลจินอ" ซึ่งหมายถึงท่าเรือของชาวจีน หรือบ้านท่าจีนนั่นเอง หมู่บ้านชาวจีนที่นี่มีอายุเก่าแก่กว่าที่กรีเซะ บริเวณหมู่บ้านชาวจีนแห่งนี้เค..

 

อ่านต่อ

tag สุสานพญาอินทิรา
สุสานพญาอินทิรา

สุสานพญาอินทิรา มุสลิมคนแรกของเมืองปัตตานี ตั้งอยู่ที่บ้านปาเระ ตำบลบาราโหม อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี เหนือหลุมฝังศพมีหินแกรนิตสลักเป็นรูปก้อนเมฆ และมีอักษรภาษาอาหรับกำกับอยู่ บริเวณนี้เคยขุดพบเครื่องใช้ของคนรุ่นโบราณมากมาย สุสานพญาอินทิรา หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “กูโบรายามะรือเก๊าะ” เป็นสถานที่ฝังพระศพของอดีตกษัตริย์ราชวงศ์โกตามหล..

 

อ่านต่อ

tag หน้าพระลานและอนุสรณ์สถานยามาดา

หน้าพระลาน ตั้งอยู่หน้าพระราชวังตรงข้ามกับประตูใหญใกล้มัสยิดกรือเซะ เป็นบริเวณลานกว้าง สำหรับจัดพิธีการสำคัญของเมือง ขณะเดียวกันก็เป็นสมรภูมิสงครามหลายครั้ง เมื่อมีการสู้รบกับกองทัพจากเมืองอื่นๆ เช่น กรณีสงครามยามาดา เมื่อปี พ.ศ. 2173 "ยามาดา" หรือออกญาเสนาภิมุข มีชื่อเต็มว่า "Yamada Nizaemonmojo Nagamasa" เป็นขุนนางญี่ปุ่นสมัยอยุธยา ได้..

 

อ่านต่อ

tag มัสยิดโบราณบาโงยลางา (มัสยิดนัจมุดดีน)
มัสยิดโบราณบาโงยลางา (มัสยิดนัจมุดดีน)

มัสยิดนัจมุดดีน (มัสยิดโบราณ 300 ปี)

ที่อยู่ : หมู่ที่ 4 ตำบลทรายขาว อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี 94120

ผู้รับผิดชอบ : นายมูฮำหมัด บาเหมบูงา, นายดลฮาพ สาหลำสุหรี

กิจกรรมที่ดำเนินการ : มัสยิดโบราณบาโงยลางา (มัสยิดนัจมุดดีน) เป็นศาสนสถานในศาสนาอิสลาม มีก..

 

อ่านต่อ

tag มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี
มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี

มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี ตั้งอยู่ถนนยะรัง ตำบลอาเนาะรู อำเภอเมืองปัตตานี เลขทะเบียนที่ 249 มีประวัติและความเป็นมาดังนี้ ในปีพุทธศักราช 2497 รัฐบาลได้ตระหนักถึงความสำคัญของศาสนาอิสลามว่าเป็นศาสนาที่ประชาชนชาวปัตตานีส่วนใหญ่นับถืออย่างเคร่งครัดอันจะนำมาซึ่งสันติสุข ประกอบกับในพื้นที่สี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีประชากรนับถือศาสนาอิสลาม (มุสลิม) เป็นจำนวนมาก สมควรสร้างมัสยิดกลางที่..

 

อ่านต่อ

tag สุสานบ้านดาโต๊ะ โตะปาแย
สุสานบ้านดาโต๊ะ โตะปาแย

ประวัติความเป็นมา ในอดีต "อ่าวปัตตานี" เป็นศูนย์กลางการค้าขายที่สำคัญ มีพ่อค้านักเดินเรือจากโปรตุเกส ฮอลันดา จีน และอาหรับ ต่างเดินทางมาซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าเป็นจำนวนมาก กลายเป็นชุม ชนท่าเรือใหญ่ที่สุดในแหลมมลายู 

อ่าวปัตตานีจึงเป็นมรดกสำคัญ..

 

อ่านต่อ

tag วังยะหริ่ง
วังยะหริ่ง

วังยะหริ่ง
เป็นวังเจ้าเมืองเก่า เจ้าของวัง คือ พระยาเมืองยะหริ่งหรือพระยาพิพิธภักดี ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลยามู ห่างจากตัวจังหวัด ประมาณ 13 กม. วังเก่ายะหริ่งสร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. 2438 ปลายรัชสมัยของรัชกาลที่ 5 ผู้สร้างคือ พระยาพิพิธเสนามาตยาธิบดี ศรีสุรสงคราม วังเก่ายะหริ่งเป็นอาคารสองชั้น ครึ่งตึกครึ่งไม้ มีบันไดโค้..

 

อ่านต่อ

tag มัสยิดอัลฮูดา (ดือราแฮ)
มัสยิดอัลฮูดา (ดือราแฮ)

ชื่อสถานที่มัสยิดอัลฮูดา (ดือราแฮ)
สถานที่ตั้งหมู่ที่ ๘ ตำบลตะลุโบะ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
เลขทะเบียนมัสยิด๔๙๙/๒๕๒๙
จดทะเบียนเมื่อวันที่๒๗ มีนาคม ๒๕๒๙
ความสำคัญเป็นสถานที่ปฏิบัติศาสนกิจทางศาสนา
กลุ่มคนที่ใช้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่และนอกพื้นที่ที่นับถือศาสนาอิสลาม
ผู้ดูแลนายยูโซะ มามะ เป็นอิหม่ามประจำมัสยิดอัลฮูดา (ดือราแฮ)<..

 

อ่านต่อ

tag มัสยิดดารุลเราะห์มะห์
มัสยิดดารุลเราะห์มะห์

มัสยิดดารุลเราะห์มะห์ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ ตำบลดอน อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี เป็นศาสนสถานสำหรับประกอบศาสนกิจของชาวไทยมุสลิมในชุมชน มัสยิดปะนาเระ จดทะเบียนมัสยิดเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2544 เลขทะเบียนที่ 609/2544 ปัจจุบัน นายดอเลาะ ดือเระ เป็นอิหม่ามประจำมัสยิด

..

 

อ่านต่อ

tag หาดชลาลัย
หาดชลาลัย

ห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 2 กิโลเมตร ไปตามถนนสายปัตตานี-นราธิวาส เลี้ยวซ้ายเข้าสู่อำเภอปะนาเระและแยกเข้าสู่ชายหาด จุดเด่นของหาดแห่งนี้อยู่ที่บึงน้ำขนาดใหญ่ใกล้บริเวณทิวสน ซึ่งให้บรรยากาศที่สงบร่มรื่นเหมาะแก่การท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ
..

 

อ่านต่อ

tag มัสยิดจะบังติกอ
มัสยิดจะบังติกอ

มัสยิดรายอปัตตานี  เดิมเป็นมัสยิดแห่งรัฐปัตตานี เริ่มก่อสร้างเมื่อสมัยเมืองปัตตานีเป็นเมืองหรือรัฐปัตตานี มีเจ้าเมืองปกครองตนเองคือ สุลต่านมูฮัมหมัด(ตนกูบือซา) เป็นเจ้าเมืองปัตตานีช่วงประมาณ พ.ศ. 2388-2399 ได้ทรงเริ่มสร้างมัสยิดประจำเมืองปัตตานี เด..

 

อ่านต่อ

tag วนอุทยานปราสาทนางผมหอม
วนอุทยานปราสาทนางผมหอม

วนอุทยานปราสาทนางผมหอม ในวนอุทยานมีน้ำตกลักษณะไม่สูงนัก มีลำธารยาวประมาณ 3 กิโลเมตร มีน้ำมากในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม
..

 

อ่านต่อ

tag น้ำตกอรัญวาริน
น้ำตกอรัญวาริน

  ตั้งอยู่ที่ตำบลทุ่งพลา น้ำตกแห่งนี้ตั้งอยู่ที่ชาวบ้านเรียกว่าควนอาศัย ต่อมาทางอำเภอโคกโพธิ์ได้เข้าสำรวจเส้นทางเพื่อก่อสร้างทางเข้าสู่น้ำตกและ ได้ตั้งชื่อน้ำตกแห่งนี้ว่า “น้ำตกอรัญวาริน” ปัจจุบันน้ำตกอรัญวารินกำลังได้รับการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ อีกแห่งหนึ่งของจังหวัดปัตตานี ผาน้ำตกชันบนสุดมีความสูง ประมาณ 30 เมตร มีส..

 

อ่านต่อ

tag หมู่บ้านปะเสยะวอ
หมู่บ้านปะเสยะวอ

ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านปะเสยะวอ เป็นหมู่บ้านที่มีชื่อเสียงในการต่อเรือ กอและ ซึ่งเป็นเรือประมงของชาวปัตตานี  และนราธิวาส มีลักษณะเป็นเรือหัวแหลมท้ายแหลม ระบายสีสันงดงาม การเดินทางไปตามเส้นทางเดียวกับทางที่ไปหาดแฆแฆ แล้วเดินทางต่อไปตามถนนเลียบชายทะเลไปจนถึงบ้านปะเสยะวอ เรือกอและของชาวบ้านปะเสยะวอมีทั้งขนาดใหญ่ที่เป็นเรือประมงจริงๆ และขนา..

 

อ่านต่อ

tag สุเหร่าอาวห์ หรือ มัสยิดอาโฮ
สุเหร่าอาวห์ หรือ มัสยิดอาโฮ

สุเหร่าอาวห์ หรือ มัสยิดอาโฮ ตั้งอยู่ที่หมู่บเานตันหยง ตำบลมะนังยง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี เป็นสุเหร่าขนาดเล็กสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง ยกพื้นสูงประมาณ 1 เมตร หลังคาทรงจั่ว 3 ชั้น มุงด้วยกระเบื้องดินเผา ถือว่าเป็นมัสยิดรุ่นแรกของปัตตานีที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดที่เหลืออยู่ในเวลานี้ ที่ตั้งของสุเหร่าอยู่ใกล้กับคลองตันหยง ซึ่งเป็นลำน้ำสายหลักข..

 

อ่านต่อ

 

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com