ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลตะกั่วป่า อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา
ข้อมูลทั่วไป
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทธรรมชาติ
ประเภทประวัติศาสตร์ และศาสนา
ประเภทศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี
การท่องเที่ยวโดยชุมชน
สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ
โรงแรม / ที่พัก
โรงแรม รีสอร์ท และสปา
การคมนาคม
 

 

 

 

 

ตำบลตะกั่วป่า อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา
 

 
ประวัติความเป็นมา ตำบลตะกั่วป่า ได้ยกฐานะตามพระราชกฤษฏีกา เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2480 โดยยกฐานะพื้นที่บางส่วนของตำบลตลาดเหนือ ตำบลตลาดใต้ และตำบลย่านยาว อำเภอตะกั่วป่า กำหนดไว้เป็นเขตเทศบาลเมืองตะกั่วป่า ภาพตราสัญลักษณ์ประจำเทศบาล เป็นรูปพระนารายณ์ ตะกั่วป่าในเชิงตำนานว่าแต่เดิม เป็นเมืองท่าสำคัญเมืองหนึ่งทางฝั่งทะเลตะวันตกของภาคใต้ ในราว พ.ศ. 200-300 พระเจ้าอโศกมหาราช จักรพรรดิแห่งประเทศอินเดีย ยกกองทัพมาปราบปรามพวกลิงคราษฐ และเมืองใกล้เคียง เช่น ตะกั่วทุ่ง และถลาง เป็นต้น มาจนปรากฎตามหลักฐาน หนังสือมิลินทร์ปัญหา ซึ่งรจนาขึ้นราว พ.ศ. 500 ว่าชาวอินเดีย เรียกเมืองนี้ว่า ตักโกละหรือตกโคล (ตักกล ภาษาสิหล แปลว่ากระวาน) เนื่องจากบริเวณนี้อุดมไปด้วยเครื่องเทศ มีหลักฐานปรากฏตามแผนที่ประวัติศาสตร์ของแฮมมอนส์ และมีโบราณสถาน และโบราณวัตถุประเภทลูกปัด เครื่องภาชนะดินเผา เครื่องแก้วเป็นหลักฐาน อยู่เป็นจำนวนมาก ณ บริเวณบ้านทุ่งตึกที่เกาะคอเขา ต่อมา ตกโกล จึงกลายเป็นเมือง "ตะโกลา" และเนื่องจากบริเวณนี้มีสินแร่อยู่ทั่วไป ตั้งแต่สมัยโบราณ มีโรงถลุงแร่เคียวเอาน้ำตะกั่ว ส่งไปขายต่างประเทศ จึงเรียกเมืองตะโกลา เป็น "ตะกั่วป่า"
   
สภาพทั่วไปของตำบล
   
อาณาเขตตำบล
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ต.บางนายสี อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา
ทิศใต้ ติดต่อกับ ต.บางไทร และต.ตำตัว อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ต.บางนายสี อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ต.บางนายสี อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา
   
จำนวนประชากรของตำบล จำนวนประชากรทั้งสิ้น 8,747 คน เป็นชาย 4,467 คน และเป็นหญิง 4,280 คน
   
ข้อมูลอาชีพของตำบล
อาชีพหลัก รับจ้าง, ค้าขาย
อาชีพเสริม เกษตรกรรม, ทำเหมือง และรับราชการ
   
ข้อมูลสถานที่สำคัญของตำบล อุทยานพระนารายณ์
   
ข้อมูลองค์การบริหารส่วนตำบล :
   

 

 

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com