ค้นหาข้อมูล
search
ข้อมูลอำเภอและตำบลในตรัง

เมืองตรัง

หนองตรุด
บางรัก
บ้านควน
บ้านโพธิ์
ทับเที่ยง
ควนปริง
นาบินหลา
นาพละ
นาท่ามใต้
นาท่ามเหนือ
นาตาล่วง
นาโยงใต้
นาโต๊ะหมิง
น้ำผุด
โคกหล่อ

กันตัง

กันตัง
กันตังใต้
ย่านซื่อ
วังวน
บางสัก
บางหมาก
บางเป้า
บ่อน้ำร้อน
คลองลุ
คลองชีล้อม
ควนธานี
นาเกลือ
โคกยาง
เกาะลิบง

นาโยง

ละมอ
ช่อง
นาหมื่นศรี
นาข้าวเสีย
นาโยงเหนือ
โคกสะบ้า

ปะเหลียน

ลิพัง
สุโสะ
บางด้วน
บ้านนา
ทุ่งยาว
ท่าพญา
ท่าข้าม
ปะเหลียน
แหลมสอม
เกาะสุกร

ย่านตาขาว

ย่านตาขาว
หนองบ่อ
ทุ่งกระบือ
ทุ่งค่าย
นาชุมเห็ด
ในควน
โพรงจรเข้
เกาะเปียะ

รัษฎา

หนองบัว
หนองปรือ
คลองปาง
ควนเมา
เขาไพร

วังวิเศษ

วังมะปราง
วังมะปรางเหนือ
อ่าวตง
ท่าสะบ้า
เขาวิเศษ

สิเกา

กะลาเส
บ่อหิน
นาเมืองเพชร
ไม้ฝาด
เขาไม้แก้ว

ห้วยยอด

ลำภูรา
วังคีรี
หนองช้างแล่น
ห้วยยอด
ห้วยนาง
บางกุ้ง
บางดี
ทุ่งต่อ
ท่างิ้ว
ปากคม
ปากแจ่ม
นาวง
ในเตา
เขากอบ
เขาขาว
เขาปูน

หาดสำราญ

หาดสำราญ
บ้าหวี
ตะเสะ

ตรัง
 
 

เมืองพระยารัษฎา ชาวประชาใจกว้าง หมูย่างรสเลิศ ถิ่นกำเนิดยางพารา เด่นสง่าดอกสีตรัง ปะการังใต้ทะเล เสน่ห์หาดทรายงาม น้ำตกสวยตระการตา

 

สำหรับผู้ที่หลงใหลบรรยากาศของหาดทราย ชายทะเล กลุ่มเกาะ และอาหารอร่อยแล้ว ไม่มีใครไม่คิดถึงตรัง หรือเมืองทับเที่ยง เมืองท่าค้าขายที่เจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่อดีต และเติบโตต่อเนื่องยาวนานมาจนถึงปัจจุบัน โดยสั่งสมเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ตกทอดไว้ในแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่ง เช่น พิพิธภัณฑ์พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี

และอย่างที่รู้กันว่า ตรังเป็นดินแดนแรกที่มีการนำต้นยางพารามาปลูก ทุกวันนี้ ยางพาราคือพืชเศรษฐกิจสำคัญของภาคใต้ ทำรายได้เลี้ยงชีพผู้คนมาอย่างยั่งยืน ไม่เพียงเท่านั้น ความอุดมสมบูรณ์ของตรังยังรวมถึงผืนป่า แหล่งน้ำ และถ้ำน้อยใหญ่ ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าหาดทราย ชายทะเล และหมู่เกาะเลย

การไปเยือนจังหวัดตรังจึงนับว่าได้ท่องเที่ยวครบทุกรสชาติ ทั้งดินแดนประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต ธรรมชาติ โดยมีสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างเหมาะสมและพอเพียงในแต่ละที่ที่คุณไป

จังหวัดตรังมีเนื้อที่ประมาณ 4,941 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเนินเล็กเนินน้อยสลับกับที่ราบ ทำให้สันนิษฐานกันว่าชื่อตรัง มาจากคำว่า “ตรังคะ” ในภาษาบาลี ซึ่งแปลว่าลูกคลื่น ตามสภาพพื้นที่ของจังหวัดตรัง ขณะที่อีกข้อสันนิษฐานหนึ่งบอกว่า ตรังมาจาก “ตรังเค” ภาษามลายู แปลว่า “รุ่งอรุณ” หรือ “สว่างแล้ว” เพราะสมัยก่อน เรือสินค้าจากมลายูจะแล่นมาถึงตรังตอนสว่างพอดี

ความเป็นมาของเมืองตรังนั้นเริ่มต้นในสมัยรัตนโกสินทร์ โดยพบหลักฐานคือจารึกวัดเสมาเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งบอกไว้ว่า ตรังเป็นหัวเมืองที่ขึ้นต่อเมืองนครศรีธรรมราช และหลักฐานอื่นๆ ที่พบในเวลาต่อมา ทำให้สามารถแบ่งยุคสมัยของวิวัฒนาการเมืองตรังได้เป็น 3 ช่วง คือ

1. สมัยตั้งเมืองที่ตำบลควนธานี (พ.ศ. 2354-2436) ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พบหลักฐานจากทำเนียบกรมการเมืองตรังว่า พระอุไภยธานี ผู้ว่าราชการเมืองตรังคนแรก ได้สร้างหลักเมืองไว้ที่ควนธานี (อยู่ในอำเภอกันตังในปัจจุบัน ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศใต้ 8 กิโลเมตร) 

2. สมัยตั้งเมืองที่กันตัง (พ.ศ. 2436-2458) ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยุคนี้พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) ดำรงตำแหน่งเจ้าเมือง ท่านเห็นว่าที่ตั้งเมืองเดิมคือควนธานีนั้นอยู่ห่างจากฝั่งทะเลมาก จึงกราบบังคมทูลขอย้ายที่ตั้งเมืองมาอยู่ที่ตำบลกันตัง เพราะที่นี่เป็นชุมชนใหญ่ มีชาวจีนเข้ามาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ในช่วงที่พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดีเป็นเจ้าเมืองนี้เองที่ตรังได้รับการพัฒนาไปอย่างมาก เช่น มีการนำต้นยางพาราจากมลายูมาปลูกเป็นครั้งแรก มีการตัดถนนจากตรังไปพัทลุง สร้างท่าเรือเพื่อรองรับการค้าขายกับต่างชาติ ฯลฯ นับเป็นยุครุ่งเรืองอย่างยิ่งเลยทีเดียว

3. สมัยตั้งเมืองที่ทับเที่ยง (พ.ศ. 2458 จนถึงปัจจุบัน) ล่วงมาถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งตรงกับช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ทรงมีพระราชดำริว่า เมืองกันตังมีพื้นที่ที่ไม่ปลอดภัยจากอริราชศัตรู อีกทั้งมีการระบาดของไข้อหิวาตกโรค จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองมาตั้งอยู่ที่ตำบลทับเที่ยง ซึ่งเป็นที่ตั้งของอำเภอเมืองตรังในปัจจุบันนั่นเอง

จังหวัดตรังแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 10 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองตรัง อำเภอกันตัง อำเภอห้วยยอด อำเภอย่านตาขาว อำเภอปะเหลียน อำเภอสิเกา อำเภอวังวิเศษ อำเภอนาโยง อำเภอรัษฎา และอำเภอหาดสำราญ


 
สถานที่ท่องเที่ยวแนะนำ ตรัง

 

 

   
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com

Developed and Designed by ME-FI dot com