search
ข้อมูลอำเภอและตำบลในจังหวัดระนอง

อำเภอเมือง

ตำบลราชกรูด
ตำบลหาดส้มแป้น
ตำบลหงาว
ตำบลบางริ้น
ตำบลบางนอน
ตำบลทรายแดง
ตำบลปากน้ำ
ตำบลเกาะพยาม
ตำบลเขานิเวศน์

อำเภอละอุ่น

ตำบลละอุ่นใต้
ตำบลละอุ่นเหนือ
ตำบลบางพระใต้
ตำบลบางพระเหนือ
ตำบลบางแก้ว
ตำบลในวงใต้
ตำบลในวงเหนือ

อำเภอกะเปอร์

ตำบลกะเปอร์
ตำบลม่วงกลวง
ตำบลบางหิน
ตำบลบ้านนา
ตำบลเชี่ยวเหลียง

อำเภอกระบุรี

ตำบลมะมุ
ตำบลลำเลียง
ตำบลบางใหญ่
ตำบลจ.ป.ร.
ตำบลปากจั่น
ตำบลน้ำจืด
ตำบลน้ำจืดน้อย

กิ่งอำเภอสุขสำราญ

ตำบลกำพวน
ตำบลนาคา

จังหวัดระนอง
 
 

คอคอดกระ ภูเขาหญ้า กาหยูหวาน ธารน้ำแร่ มุกแท้เมืองระนอง

 

จังหวัดระนอง เป็นจังหวัดชายฝั่งทะเลตะวันตกในเขตภาคใต้ตอนบน มีทรัพยากรทางธรรมชาติอุดมสมบูรณ์มาตั้งแต่อดีต โดยเฉพาะทรัพยากรแร่ดีบุกและป่าไม้ ปัจจุบันระนองเป็นจังหวัดที่มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติมากมายและสวยงามไม่แพ้จังหวัดท่องเที่ยวอื่นๆ ของภูมิภาค ทั้งชายหาดสวยงามและสงบเงียบ ท้องทะเลสวยใสที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรใต้น้ำ เกาะขนาดเล็กใหญ่จำนวนมาก แหล่งน้ำแร่ธรรมชาติ ป่าไม้เขียวขจีบริสุทธิ์ น้ำตกสวยและที่โดดเด่นคือวัฒนธรรมและวิถีชีวิตพื้นบ้านของชาวระนอง ที่ปัจจุบันได้รับความสนใจจากผู้ชื่นชอบการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ สนับสนุนและพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ในอนาคตต่อไป


จังหวัดระนอง มีเนื้อที่ประมาณ 3,298 ตารางกิโลเมตร หรือ 2,141,250 ไร่ เป็นจังหวัดที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 59 ของประเทศ มีรูปร่างเรียวยาวและแคบ โดยมีส่วนที่ยาวที่สุดวัดในแนวเหนือ-ใต้ประมาณ 169 กิโลเมตร ส่วนที่กว้างที่สุดวัดในแนวตะวันออก-ตะวันตก 44 กิโลเมตร และส่วนที่แคบที่สุดของจังหวัดในท้องที่อำเภอกระบุรี มีความกว้างเพียง 9 กิโลเมตรระนองเป็นจังหวัดแรกของภาคใต้ที่ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลอันดามัน ที่ประมาณกิโลเมตรที่ 545 ของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ในเขตบ้านทับหลี ตำบลมะมุ อำเภอกระบุรี เป็นที่ตั้งของคอคอดกระ หรือกิ่วกระ ซึ่งเป็นส่วนที่แคบที่สุดของแหลมมลายู มีระยะทางจากฝั่งทะเลตะวันตกจดฝั่งตะวันออกกว้างเพียง 50 กิโลเมตรสภาพภูมิประเทศของจังหวัดระนองส่วนใหญ่เป็นภูเขาและป่าไม้สลับซับซ้อนในด้านตะวันออก มีภูเขาสูงที่สุดคือภูเขาพ่อตาโชงโดง และแผ่นดินลาดลงสู่ทะเลอันดามันทางทิศตะวันตก มีแม่น้ำและคลองหลายสาย แต่มีที่ราบสำหรับทำการเกษตรค่อนข้างน้อย และด้วยสภาพภูมิประเทศที่ยากลำบากต่อการพัฒนาด้านการคมนาคมนี้เอง จึงทำให้พื้นที่แถบนี้มีผู้คนอาศัยอยู่น้อยมาตั้งแต่อดีต และเพิ่งจะพัฒนามาเป็นชุมชนเมืองขนาดใหญ่เมื่อร้อยกว่าปีที่ผ่านมานี้เองแต่เดิมเมืองระนอง หรือเมืองแร่นอง เป็นดินแดนส่วนหนึ่งของอาณาจักรศรีวิชัย ซึ่งเจริญรุ่งเรืองอยู่ทางตอนใต้ของภูมิภาค มีสภาพเป็นป่าทึบ ไม่มีผู้คนอยู่อาศัย จนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา เมืองระนองก็ยังคงเป็นเพียงหัวเมืองขนาดเล็กที่ขึ้นอยู่กับเมืองชุมพร ซึ่งเป็นหัวเมืองชั้นตรี มีอาณาเขตครอบคลุมตั้งแต่พื้นที่ชายฝั่งตะวันออกจดฝั่งตะวันตก จนกระทั่งในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้โปรดเกล้าฯ ยกฐานะเมืองระนองให้เป็นหัวเมืองจัตวา ขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานครในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ระนองมีฐานะเป็นหัวเมืองอิสระ และต่อมาได้รับการยกฐานะเป็นจังหวัด และได้มีการยุบ “เมืองตระ” ที่อยู่ภายใต้การปกครองของเมืองชุมพรมาพร้อมๆ กับระนอง แล้วเปลี่ยนฐานะเป็นอำเภอ เรียกว่าอำเภอกระบุรี ขึ้นกับจังหวัดระนองตั้งแต่นั้นมาระนองในอดีตนั้นมีความสำคัญในฐานะที่เป็นเมืองดีบุก เมืองชายแดน เมืองคอคอดกระ และเมืองเสด็จประทับแรม และต่อมาเมื่อมีการตัดถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4) ผ่านมายังจังหวัดระนอง เมืองระนองจึงได้พัฒนาจนมีความสำคัญในฐานะเมืองท่องเที่ยวมากขึ้นนับแต่นั้นมาปัจจุบันจังหวัดระนองแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองระนอง อำเภอละอุ่น อำเภอกะเปอร์ อำเภอกระบุรี และอำเภอสุขสำราญ

ระนอง เป็นจังหวัดแรกของภาคใต้ที่ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลอันดามัน หรือมหาสมุทรอินเดีย อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ เป็น ระยะ ทางประมาณ 568 กิโลเมตร มีพื้นที่เพียง 3,298 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 2,141,250 ไร่ มีคอคอดกระ หรือกิ่วกระ ซึ่งเป็นส่วนที่แคบที่สุดของแหลมมลายูสภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาและป่าไม้จังหวัด ระนอง มีรูป ร่าง เรียวยาวและแคบ โดยมีส่วนที่ยาวที่สุด ยาวประมาณ 169 กิโลเมตร และส่วนที่กว้างที่สุด 44 กิโลเมตร สำหรับส่วนที่แคบที่สุดของจังหวัดอยู่ในท้องที่อำเภอกระบุรี มีความกว้างเพียง 9กิโลเมตร เท่านั้น

อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดกับอำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร และประเทศสหภาพพม่า 
ทิศใต้ ติดกับอำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี และอำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา 
ทิศตะวันออก ติดกับอำเภอเมือง อำเภอสวี และอำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร 
ทิศตะวันตก ติดกับอำเภอเกาะสอง เขตทวาย ประเทศสหภาพพม่า และ มหาสมุทรอินเดีย

การเดินทางไประนอง
รถยนต์
     จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางสายธนบุรี-ปากท่อ ระยะทาง 90 กิโลเมตร แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ผ่านเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ถึงสี่แยกปฐมพร (ชุมพร) เลี้ยวขวาไปจนถึงจังหวัดระนอง รวมระยะทาง 568 กิโลเมตร 

รถไฟ
     จากกรุงเทพฯ ไม่มีรถไฟไประนองโดยตรง นักท่องเที่ยวที่ประสงค์จะเดินทางโดยรถไฟ สามารถลงรถไฟที่ สถานีรถไฟชุมพร จังหวัดชุมพร แล้วต่อรถโดยสารประจำทางชุมพร-ระนอง ระยะทาง 122 กิโลเมตร รายละเอียดติดต่อ การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690, 0 2223 7010, 0 2223 7020 หรือ www.railway.co.th

รถโดยสารประจำทาง
     บริษัท ขนส่ง จำกัด เปิดบริการเดินรถโดยสารปรับอากาศ และรถโดยสารธรรมดา ระหว่างกรุงเทพฯ - ระนอง ทุกวันสอบถามรายละเอียดได้ที่โทร. 02 894 6122 จองตั๋ว บขส. โทร. 02 422 4444    หรือ www.transport.co.th สถานีขนส่งจังหวัดระนอง โทร. 0 77811 548 และบริษัทเดินรถเอกชน คือ บริษัท โชคอนันต์ทัวร์ โทร. 0 2435 7429, 0 2433 0723 สำนักงานระนอง โทร. 0 7781 1337 และบริษัท มิตรทัวร์ โทร. 0 2281 6939, 0 2281 6949, 0 2435 5020 สำนักงานระนอง โทร. 0 7781 1150

 
สถานที่ท่องเที่ยวแนะนำ จังหวัดระนอง
tag อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพยาม จังหวัดระนอง
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพยาม จังหวัดระนอง

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพยาม ประกอบไปด้วยพื้นน้ำทะเล และเกาะน้อยใหญ่กว่า 15 เกาะ เช่น เกาะบางจาก เกาะยิว เกาะทรายดำ เกาะสน เกาะพยาม เกาะช้าง เกาะทะลุ เกาะไฟไหม้ เกาะสองพี่น้อง และเกาะขาม เป็นต้น โดยพื้นที่ส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเกาะช้าง ป่าสงวนแห่งชาติป่าคลองหินกอง-ป่าคลองม่วงกลวง และป่าสงวนแห่งชาติป่าคลองหัวเขียว-ป่าคลองเกาะสุย รวมเนื้อที่ประมาณ 183,125 ไร่ หรือ 293 ตารางก..

 

อ่านต่อ

tag หาดทะเลนอก
หาดทะเลนอก

หาดทะเลนอก ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 1 ตำบลกำพวน อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง โดยชายหาดดังกล่าวเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีบรรยากาศที่สงบ เหมาะแก่การพักผ่อนในช่วงวันหยุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับครอบครัว พื้นที่ในบริเวณรอบ ๆ ยังคงความเป็นธรรมชาติ รวมทั้งในในหมู่บ้าน มีกิจกรรมทางด้านวัฒนธรรมหลายอย่างเช่น การเย็บจาก การทำสบู่ การทำผ้าบาติก การแปรรูปเมล็ดมะม่วงหิมพานต์..

 

อ่านต่อ

tag เกาะพยาม
เกาะพยาม

เกาะพยาม จังหวัดระนอง

อยู่ฝั่งทะเลอันดามัน จ.ระนอง เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่รองลงมาจาก เกาะช้าง (ระนอง) อยู่ห่างเกาะช้างมา ทางใต้ 4 กิโลเมตร ตอนกลางของเกาะพื้นที่เป็นภูเขามีป่าไม้และสัตว์ป่าประเภทนก ลิงและหมูป่า พื้นที่บางส่วนถูกปรับเปลี่ยนเป็นสวน ชาวบ้านบนเกาะมีอาชีพทำสวนมะพร้าว สวนยางและ สวนกาหยู ลักษณะทางภูมิศาสตร์ รอบๆ ชายฝั่งเป็นอ่าวสลับกับโขดหิน บริเวณตอนกลางของอ่าว..

 

อ่านต่อ

tag เกาะช้าง
เกาะช้าง

เกาะช้าง สถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อน จังหวัดระนอง

ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลเกาะพยาม อยู่ห่างจาก เกาะพยาม ประมาณ 4 กิโลเมตร เป็นเกาะขนาดใหญ่ มีชาวบ้านอาศัยอยู่บนเกาะประมาณ 80 ครอบครัว ซึ่งอพยพมาจากเกาะพะงัน เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระนอง และจังหวัดอื่น ๆ ทางภาคกลาง กว่า 30 ปีมาแล้ว ด้านทิศตะวันออกของเกาะไม่มีหาดทราย แต่มีความอุดมสมบูรณ์ของป่าชายเลนและมีชาวเ..

 

อ่านต่อ

tag เกาะค้างคาว
เกาะค้างคาว

เกาะค้างคาว ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง โดยเป็นเกาะที่มีหาดทรายขาวละเอียด ด้านเหนือของเกาะเป็นหาดหินงาม มีหินทรงกลมมนเรียงรายอยู่เต็มหาดไปหมด จากหาดบางเบนนั่งเรือไปเกาะค้างคาวใช้เวลาประมาณ 30-40 นาที บรรยากาศเหมาะแก่การพักผ่อน เนื่องจากไม่พลุกพล่านจนเกินไป ทั้งนี้ นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปเยือนได้ตลอดปี..

 

อ่านต่อ

tag อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระนอง
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระนอง

ตั้งอยู่บริเวณคลองหัวถนน บ้านท่าฉาง หมู่ที่ 3 ตำบลหงาว อำเภอเมือง จังหวัดระนอง โดยกองอุทยานแห่งชาติได้มาดำเนินการสำรวจพื้นที่เพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อปี 2532 ซึ่งจากการสำรวจพบว่าพื้นที่บริเวณครอบคลุมพื้นที่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเกาะพยาม ป่าสงวนแห่งชาติป่าเกาะช้าง ป่าสงวนแห่งชาติป่าคลองหินกลอง - ป่าคลองม่วงกลวง และป่าสงวนแห่งชาติป่าคลองหัวเขียว - ป่าคลองเกาะสุย ประกอบไปด้วยทรัพยากรธรรมชา..

 

อ่านต่อ

tag ภูเขาหญ้าหรือเขาหัวล้านหรือเขาผี
ภูเขาหญ้าหรือเขาหัวล้านหรือเขาผี

ภูเขาหญ้าหรือเขาหัวล้านหรือเขาผี ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลหงาว จากเขตเทศบาลเมืองไปตามทางหลวงหมายเลข 4 (ระนอง-พังงา) ประมาณ 13 กิโลเมตร เขาหัวล้านหรือเขาผีนี้ เป็นภูเขาที่ไม่มีไม้ใหญ่ขึ้น พืชพรรณที่ปรากฏส่วนใหญ่ในฤดูฝนคือ หญ้าสีเขียวซึ่งขึ้นปกคลุมแนวเขาที่ทอดตัวจากทิศเหนือสู่ทิศใต้ บางครั้งจึงเรียกกันว่า ภูเขาหญ้า ในช่วงฤดูร้อนหญ้าจะตาย ภูเขาจึงแลดูเป็นสีน้ำตาล ที่ราบเชิงเขามีทางเดินเท้าสำหรับนัก..

 

อ่านต่อ

tag สถานปฏิบัติธรรม : วัดป่าชัยมงคล
สถานปฏิบัติธรรม : วัดป่าชัยมงคล

วัดป่าชัยมงคล สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดดีเด่นเฉลิมพระเกียรติประจำปี ๒๕๕๒
สำนักปฏิบัติธรรมวัดป่าชัยมงคล สังกัดมหานิกายตั้งอยู่ บ้านพรรั้ง หมู่ที่ ๓ ตำบลบางริ้น อำเภอ เมือง จังหวัดระนอง รหัสไปรษณีย์ ๘๕๐๐๐ โทร.๐๘๑-๘๕๙๔๓๒๓ 

สำนักปฏิบัติธรรมวัดป่าชัยมงคล มีสถานที่เหมาะแก่การปฏิบัติธรรมเนื่องจากบริเวณสำนักมีความสะอาดร่มรื่นด้วยไม้ยืนต้นไม้ดอกและไม้ประดับซึ..

 

อ่านต่อ

tag วัดสุวรรณคีรีวิหาร
วัดสุวรรณคีรีวิหาร

วัดสุวรรณคีรีวิหาร


สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๓ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่5 โดยมีพระราชดำริให้พระยารัตนเศรษฐี ผู้ว่าราชการเมืองระนอง ในขณะนั้น ดำเนินการสร้างขึ้นมาแทนวัดที่มีอยู่เดิม ภายในวัดมีจุดเด่นอยู่ที่พระประธาน พระพุทธรูปหินอ่อน ๕ องค์ ที่ขึ้นชื่อว่างดงามอ่อนช้อย เจดีย์ทรงพม่าและธรรมมาสน์ ที่รัชกาลที่๕ ทรงพระราชทาน วัดแห่งนี้ตั้งอยู่บนถนนชาติเฉลิม ..

 

อ่านต่อ

tag  สวนสาธารณะรักษะวาริน
	สวนสาธารณะรักษะวาริน

พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ครั้งดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมารได้เสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ และได้พระราชนิพนธ์จดหมายเหตุประพาสใต้ โดยทรงใช้นามแฝงว่า นายแก้ว ทรงเล่าถึงบ่อน้ำพุร้อนเมืองระนองไว้ว่า

“น้ำพุมานั้นร้อนจัดเท่าๆ น้ำต้มเดือด และ ใช้ได้เช่นเดียวกับชงน้ำชากินก็ได้ต้มไข่ในบ่อก็สุกอยู่ข้างจะดี มากเสียแต่มาอยู่..

 

อ่านต่อ

tag พระราชวังรัตนรังสรรค์ (เทศบาลระนอง)
พระราชวังรัตนรังสรรค์ (เทศบาลระนอง)

พระราชวังรัตนรังสรรค์ (จำลอง) ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขารัตนรังสรรค์ (ใกล้ศาลากลางจังหวัดระนอง)เป็นพระราชวังที่จัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์การ เสด็จประทับแรมจังหวัดระนองของพระมหากษัตริย์ 3 พระองค์ ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎ เกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 พระราชวังรัตนรังสรรค์ (จำลอง)


..

 

อ่านต่อ

tag วิคตอเรียพอยท์ หรือ เกาะสอง
วิคตอเรียพอยท์ หรือ เกาะสอง

วิคตอเรียพอยท์ หรือ เกาะสอง คือ อีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของพม่า ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับจังหวัดระนอง โดยมีแม่น้ำกระบุรีกั้นขวางตรงตัวจังหวัดระนองพอดี นักท่องเที่ยวสามารถข้ามฝั่งไปชมทิวทัศน์และวิถีชีวิตชาวพม่า เช่น อนุสาวรีย์บุเรงนอง วัดปิตอเอ วัดจีน หรือจะซื้อสินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก เช่น พลอย เครื่องหวาย เครื่องเขินพม่า เป็นต้น 
..

 

อ่านต่อ