ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ข้อมูลทั่วไป
เส้นทางท่องเที่ยวโดยนักวิจัย
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทธรรมชาติ
ประเภทประวัติศาสตร์ และศาสนา
ประเภทศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี
การท่องเที่ยวโดยชุมชน
สันทนาการและการบันเทิง
สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ
การท่องเที่ยวกลางคืน
เส้นทางท่องเที่ยวโดยทัวร์อื่นๆ
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
รายชื่อมัสยิด
โรงแรม / ที่พัก
โรงแรม รีสอร์ท และสปา
คอนโด อพาร์ทเม้นต์ และแมนชั่น
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
อาหารและเครื่องดื่ม
ศิลปะหัตถกรรม
เครื่องสำอาง
ธุรกิจขนาดกลาง/ ขนาดย่อม
กลุ่มอาชีพ / สินค้า
สิ่งอำนวยความสะดวก
สถานีตำรวจ
โรงพยาบาล
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

ทะเลสาบสงขลา
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

“ทะเลสาบสงขลา” ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดสงขลา พัทลุง และนครศรีธรรมราช เป็นทะเลสาบที่มีลักษณะเฉพาะแห่งเดียวของประเทศไทย ที่มีน้ำจืดจากลำคลองหลายสายและน้ำจากแผ่นดินไหลลงสู่ทะเลสาบสงขลา จึงทำหน้าที่เป็นแหล่งรับน้ำ น้ำจืดจากแผ่นดินก่อนที่จะไหลออกสู่อ่าวไทยและมีน้ำเค็มจากทะเลไหลเข้ามาผสมผสานทำให้มีลักษณะเป็นระบบทะเลสาบแบบลากูน (Lagoon) ขนาดใหญ่

การที่ทะเลสาบสงขลาได้รับทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม ทำให้ความเค็มของน้ำในทะเลสาบเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับฤดูกาลและแตกต่างกันไป ระหว่างบริเวณต่างๆ ของทะเลสาบสงขลาที่มีปริมาณของน้ำจืดและน้ำเค็มผสมกันในสัดส่วนต่างกัน จึงมีการกล่าวขานกันว่า ทะเลสาบสงขลาเป็น “ทะเลสาบสามน้ำ” คือ มีทั้งน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม

ความเป็นทะเลสาบสามน้ำมีความผันแปรขึ้นอยู่กันฤดูกาล ในฤดูแล้งที่มีน้ำจืดไหลลงสู่ทะเลสาบน้อย มีน้ำเค็มจากในทะเลรุกเข้ามา น้ำในทะเลสาบจะเป็นสามน้ำอย่างชัดเจนคือ ตอนบนเป็นน้ำจืดตอนกลางเป็นน้ำจืดถึงกร่อยและตอนล่างเป็นน้ำกร่อยถึงเค็ม ส่วนในฤดูฝนน้ำท่ามีมากจึงดันน้ำเค็มออกจากทะเลสาบจนเกือบหมด น้ำจึงเป็นน้ำจืดเกือบทั่วทะเลสาบ ยกเว้นที่ใกล้ปากทะเลสาบทเท่านั้นที่ยังเป็นน้ำกร่อยอยู่


ดยน้ำในทะเลสาบสงขลาได้รับน้ำจากเทือกเขาบรรทัดและเทือกเขาสันกาลาคีรีจากอำเภอสะเดา ทั้งหมดไหลลงสู่ทะเลสาบสงขลา ลุ่มน้ำในแถบนี้เรียกว่า "ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา" แบ่งออกได้เป็น4ตอนใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
1.ทะเลน้อย
 อยู่ตอนบนสุดมีพื้นที่ประมาณ28ตารางกิโลเมตร ความลึกเฉลี่ยประมาณ1.5เมตรเป็นทะเลสาบน้ำจืดโดยแยกส่วนกับทะเลสาบโดย มีคลองนางเรียมเชื่อมต่อระหว่างทะเลน้อยกับทะเลหลวงทิศตะวันตกของทะเลน้อยเป็นส่วนของจังหวัดพัทลุงทิศเหนือเป็นส่วนของ จังหวัดนครศรีธรรมราชและทิศตะวันออกจรดอำเภอระโนด จังหวัดสงขลาทะเลน้อยเป็นทะเลสาบน้ำจืดที่มีพืชน้ำนานา ชนิดขึ้นอยู่ โดยรอบ มีป่าพรุขนาดใหญ่มีวัชพืชพวกผักตบชวา กกจูดและยังเป็นแหล่งของนกน้ำนานาพันธุ์ทั้งที่ประจำถิ่น และที่อพยพมาจาก แหล่งอื่น

2.ทะเลหลวง (ทะเลสาบสงขลาตอนบน)
เป็นส่วนของทะเลสาบสงขลาถัดจากทะเลน้อยลงมาจนถึงเกาะใหญ่ อำเภอกระแสสินธุ์เป็นห้วงน้ำกว้างใหญ่ที่สุดมีพื้นที่ ประมาณ 458.80ตร.กม. ความลึกประมาณ2เมตรในอดีตเป็นท้องน้ำจืดขนาดใหญ่แต่ในบางปีมีการรุกตัวของน้ำเค็มค่อนข้างสูงในช่วงฤดูแล้ง 

3.ทะเลสาบ(ทะเลสาบตอนกลาง)
อยู่ถัดจากทะเลหลวงลงมาตั้งแต่บริเวณแนวเกาะใหญ่ทางใต้ไปบรรจบกับเขตอำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุงอำเภอสทิงพระจน ถึงบริเวณ ปากรอ อำเภอสิงหนครจังหวัดสงขลามีพื้นที่ประมาณ377.20ตร.กม. ความลึกประมาณ 2 เมตร เป็นส่วนของทะเลสาบที่มี เกาะมากมาย เช่น เกาะสี่ เกาะห้า เกาะหมากเกาะนางคำพื้นที่ส่วนนี้เป็นการผสมผสานของน้ำเค็มและน้ำจืดจึงทำให้มี สภาพเป็นทั้ง น้ำจืดและน้ำกร่อยในช่วงที่เป็นน้ำจืดจะมีพืชปกคลุมโดยทั่วไป 

4.ทะเลสาบสงขลา(ทะเลสาบสงขลาตอนล่าง)
เป็นส่วนของทะเลสาบตอนนอกสุดที่เชื่อมต่อกับอ่าวไทยมีพื้นที่ประมาณ182ตร.กม. ความลึกประมาณ1.5 เมตร ยกเว้นช่องแคบที่ ติดต่อกับทะเลอ่าวไทย ซึ่งเป็นช่องเดินเรือมีความลึกประมาณ12-14 เมตร ทะเลสาบส่วนนี้เป็นบริเวณที่มีน้ำเค็ม แต่บางส่วนในช่วง ฤดูฝนจะเป็นน้ำกร่อยและได้รับอิทธิพลจากน้ำขึ้น น้ำลงบริเวณทางตอนใต้มีพื้นที่ป่าชายเลนปกคลุมโดย ทั่วไปแต่ปัจจุบันถูกเปลี่ยน ไปเป็นพื้นที่อยู่อาศัยและพื้นที่เพาะเลี้ยงกุ้งนักท่องเที่ยวสามารถหาเรือท่องเที่ยวในทะเลสาบได้ บริเวณท่าเรืออยู่หลังที่ทำการ ไปรษณีย์โทรเลข หรือบริเวณตลาดสดจะมีเรือหางยาวรับส่งตลอดวัน

 

 

แผนที่ : 
 

 

 

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com