ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ข้อมูลทั่วไป
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทธรรมชาติ
ประเภทศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี
เส้นทางท่องเที่ยวโดยทัวร์อื่นๆ
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
รายชื่อมัสยิด
โรงแรม / ที่พัก
โรงแรม รีสอร์ท และสปา
กระท่อม และบังกะโล
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
อาหารและเครื่องดื่ม
กลุ่มอาชีพ / สินค้า
สิ่งอำนวยความสะดวก
โรงพยาบาล
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

เกาะตะรุเตา
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

อุทยานแห่งชาติตะรุเตา  เป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเลแห่งแรกของประเทศไทย มีชื่อเสียงทางด้านประวัติศาสตร์และความสวยงามของธรรมชาติ ตั้งอยู่ในทะเลอันดามัน ห่างจากตัวเมืองสตูลประมาณ  40 กิโลเมตร  และห่างจากฝั่งที่ท่าเรือปากบารา 22 กิโลเมตร  มีอาณาเขตทิศเหนือจดอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา ทิศใต้จดทะเลที่เป็นแนวพรมแดนระหว่างประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย   มีพื้นที่ทั้งเกาะและทะเลรวมกันประมาณ 1,490 ตารางกิโลเมตร ประกอบไปด้วยหมู่เกาะใหญ่น้อย จำนวน 51 เกาะ  มีเกาะขนาดใหญ่ 7 เกาะ  ได้แก่ เกาะตะรุเตา เกาะอาดัง เกาะราวี เกาะหลีเป๊ะ  เกาะกลาง เกาะบาตวง และเกาะบิสสี  แบ่งออกเป็น 2 หมู่เกาะใหญ่ คือหมู่.เกาะตะรุเตา และหมู่เกาะอาดัง-ราวี ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2517 และ ได้รับยกย่องจากองค์การยูเนสโก  ในปี พ.ศ. 2525 ให้เป็นอุทยานมรดกแห่งอาเซียน (ASEAN Heritage Parks and Reserves) ช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับการเดินทางท่องเที่ยวอยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายน – เมษายน


สถานที่ท่องเที่ยวในเขตอุทยานแห่งชาติตะรุเตา 

เกาะตะรุเตา   
นับเป็นเกาะใหญ่ที่สุดของอุทยาน มีพื้นที่ 152 ตารางกิโลเมตร   สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาที่มีสภาพเป็นป่าดิบชื้นซึ่งยังมีพรรณไม้และสัตว์ป่าที่น่าสนใจจำนวนไม่น้อย  และมีพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นป่าชายเลน นอกจากนี้ยังมีอ่าวน้อยใหญ่ที่มีชายหาดสวยงามอยู่หลายแห่ง และในท้องทะเลของเกาะตะรุเตายังมีพันธุ์ปลามากมายหลายชนิดรวมทั้งเต่าทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์  4 ชนิด  คำว่า “ตะรุเตา” นี้ เพี้ยนมาจาก คำว่า “ตะโละเตรา” ในภาษามลายูแปลว่า มีอ่าวมาก

นอกจากสภาพธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์แล้ว เกาะตะรุเตายังมีประวัติศาสตร์ที่น่าจดจำ โดยในปี พ.ศ. 2479 รัฐบาลมีนโยบายให้กรมราชทัณฑ์จัดหาสถานที่เพื่อจัดตั้งนิคมฝึกอาชีพ และเป็นสถานที่กักกันนักโทษ เกาะตะรุเตาซึ่งอยู่ห่างไกลจากฝั่ง เต็มไปด้วยปัจจัยทางธรรมชาติที่เป็นอุปสรรคต่อการหลบหนี ก็ได้ถูกกำหนดให้เป็นสถานที่จัดตั้งนิคมดังกล่าว มีการจัดสร้างอาคารที่ทำการ บ้านพักของผู้คุม เรือนนอนนักโทษ และโรงฝึกอาชีพขึ้นที่อ่าวตะโละวาว และอ่าว    ตะโละอุดัง  ในปี พ.ศ.2481 นักโทษชุดแรกจำนวน 500 คนก็ได้เดินทางมายังตะรุเตา และทยอยเข้ามาอีกเรื่อยๆ จนมีนักโทษเพิ่มขึ้นสูงสุดถึง 3,000 คน และในช่วงปี พ.ศ.2482 รัฐบาลได้ส่งนักโทษการเมือง 70 คน ซึ่งเป็นกลุ่มนักโทษจากเหตุการณ์กบฏบวรเดชและกบฏนายสิบ มากักบริเวณอยู่ที่อ่าวตะโละอุดัง

ในปี พ.ศ.2484 สงครามโลกครั้งที่ 2 ที่อุบัติขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อนิคมฝึกอาชีพตะรุเตา เนื่องจากเกิดภาวะขาดแคลนอาหาร และยารักษาโรค นักโทษเจ็บป่วยล้มตายลงเป็นจำนวนมาก ผู้คุมและนักโทษจำนวนหนึ่งจึงได้ออกปล้นสะดมเรือสินค้าที่ผ่านไปมาในน่านน้ำบริเวณช่องแคบมะละกา จนทำให้เรือสินค้าไม่กล้าล่องเรือผ่านมาในบริเวณนั้น  ในปี พ.ศ.2489 รัฐบาลอังกฤษซึ่งปกครองมลายูอยู่ในขณะนั้นได้ขออนุญาตจากรัฐบาลไทยในการส่งกองกำลังเข้าปราบปรามโจรสลัดตะรุเตาจนสำเร็จ ต่อมากรมราชทัณฑ์ได้ประกาศยกเลิกนิคมฝึกอาชีพตะรุเตา และหลังจากนั้นเกาะ       ตะรุเตาก็ถูกทิ้งร้างเป็นเวลา 26 ปี จนกระทั่งวันที่ 19 เมษายน พ.ศ.2517 กรมป่าไม้ในขณะนั้น ได้ประกาศจัดตั้งอุทยานแห่งชาติตะรุเตาขึ้น โดยนับเป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเลแห่งแรกของประเทศไทย


สถานที่น่าสนใจบนเกาะตะรุเตา 

อ่าวพันเตมะละกา มีชายหาดยาวขาวสะอาด เป็นที่ตั้งของที่ทำการอุทยานแห่งชาติตะรุเตา และศูนย์บริการนักท่องเที่ยวซึ่งส่วนหนึ่งจัดเป็นนิทรรศการเกี่ยวกับเรื่องของธรรมชาติและประวัติศาสตร์ของเกาะตะรุเตา อ่าวพันเตมะละกายังเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกที่สวยงาม และจากอ่าวพันเตมะละกา ยังสามารถเดินขึ้นไปยังจุดชมวิวผาโต๊ะบู ได้อีกด้วย

อ่าวจาก เป็นอ่าวเล็กๆ ติดต่อกับอ่าวพันเตมะละกา บรรยากาศเงียบสงบ เหมาะต่อการพักผ่อน

อ่าวเมาะและ ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ 4 กิโลเมตร มีหาดทรายขาวสะอาด และดงมะพร้าวสวยงาม เงียบสงบ มีบังกะโลเหมาะสำหรับพักผ่อน เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว

อ่าวสน ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ 8 กิโลเมตร เป็นอ่าวรูปโค้งที่มีหาดทรายสลับกับหาดหิน และเป็นที่วางไข่ของเต่าทะเล มีจุดกางเต็นท์ บริการอาหารและเครื่องดื่ม มีน้ำตกขนาดเล็กคือ น้ำตกลูดู และน้ำตกโละโป๊ะ เหมาะสำหรับเดินป่าศึกษาธรรมชาติ

อ่าวตะโละวาว อยู่ทิศตะวันออกของเกาะ เป็นจุดที่สามารถชมดวงอาทิตย์ขึ้นที่สวยงามอีกมุมหนึ่ง เป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ ที่ ตต.1 (ตะโละวาว) พื้นที่ประวัติศาสตร์แห่งนี้เคยเป็นสถานที่ตั้งนิคมฝึกอาชีพสำหรับนักโทษกักกันและนักโทษอุกฉกรรจ์ ปัจจุบันทางอุทยานฯได้จำลองอาคารสถานที่ที่เคยอยู่ในนิคมฝึกอาชีพ เช่น บ้านพักของผู้คุม เรือนนอนของนักโทษ โรงฝึกอาชีพ หลุมศพ 700 ศพ ไว้ในบริเวณดังกล่าว

อ่าวตะโละอุดัง อยู่ทางทิศใต้ของเกาะ ห่างจากเกาะลังกาวี 8 กิโลเมตร จุดเด่นคือ มีหินซีกขนาดใหญ่ตั้งเด่นเป็นสัญลักษณ์ด้านหน้าอ่าว มีสะพานสำหรับเรือจอด และเป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานฯที่ ตต.2 (ตะโละอุดัง) ในอดีตเคยเป็นที่กักกันนักโทษการเมือง กลุ่มนักโทษจากเหตุการณ์กบฏบวรเดช และกบฏนายสิบ

น้ำตกลูดู เป็นน้ำตกขนาดเล็กที่มีความสวยงาม อยู่ห่างจากอ่าวสนประมาณ 3 กิโลเมตร ซึ่งจากบริเวณอ่าวสนมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติไปยังน้ำตกลูดู
ถ้ำจระเข้ เป็นถ้ำที่มีความลึกประมาณ 300 เมตร ภายในมีหินงอกหินย้อยสวยงามและมีลักษณะแตกต่างกันไป  การเดินทางไปถ้ำจระเข้ต้องนั่งเรือหางยาวไปตามคลองพันเตมะละกา ซึ่งอุดมไปด้วยป่าชายเลนที่มีไม้โกงกางจำนวนมากตลอดสองฝั่งคลองโดยใช้เวลาล่องเรือประมาณ 20 นาทีและใช้เวลาชมถ้ำประมาณหนึ่งชั่วโมง  ติดต่อได้ที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวของอุทยานฯ  ผู้ที่จะเที่ยวชมภายในตัวถ้ำควรนำไฟฉายไปด้วย
 
จุดชมวิว “ผาโต๊ะบู” เป็นหน้าผาสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 60 เมตร เส้นทางเดินขึ้นไปตามแนวป่าดิบแล้ง ใช้เวลาเดินขึ้นจุดชมวิวประมาณ 20 นาที อยู่ด้านหลังที่ทำการอุทยานฯ เป็นจุดชมทิวทัศน์ของเกาะบริเวณชายหาด      
    
อ่าวพันเตมะละกา จะเห็นเกาะบุโหลน เกาะกลาง เกาะไข่ เกาะอาดัง เกาะราวี หมู่เกาะเภตรา และเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกที่สวยงามอีกมุมหนึ่ง


กิจกรรมบนเกาะตะรุเตา

เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ จากที่ทำการอุทยานฯ บริเวณอ่าวพันเตมะละกามีเส้นทางเดินเท้าผ่านป่าดงดิบไปอ่าวตะโละวาว ระยะทาง 12 กิโลเมตร สองข้างทางสภาพเป็นป่าดงดิบหนาทึบ ร่มรื่นด้วยไม้นานาพรรณ มีสัตว์ป่า เช่น หมูป่า กระจง และนกน่าสนใจหลายชนิด โดยเฉพาะนกเงือกที่พบได้บ่อย 
 อีกเส้นทางหนึ่งไปอ่าวจาก อ่าวเมาะและจนถึงอ่าวสน ระยะทาง 8 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง       จะผ่านป่าดงดิบที่อุดมสมบูรณ์ และยังเหมาะแก่การดูนกเช่นนกเงือก  นกแซงแซว
 
เส้นทางล่องเรือรอบเกาะ เพื่อศึกษาธรรมชาติแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยอุทยานฯจะจัดเรือบริการพร้อมเจ้าหน้าที่นำทางชมหาดทรายต่าง ๆ เริ่มจากแวะดูนกที่อ่าวจาก ชมหาดทรายขาวและยาวที่สุดบนเกาะตะรุเตาที่อ่าวสน  ศึกษาร่องรอยประวัติศาสตร์ที่อ่าวตะโละอุดัง  ชมธรรมชาติที่อ่าวตะโละวาว แวะดำน้ำและเที่ยวป่าชายเลน ใช้เวลาในการล่องเรือ 1 วัน ผู้สนใจติดติดได้ที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวบนเกาะ





 

 

สิ่งอำนวยความสะดวก :
ในเขตอุทยานฯ มีบ้านพักไว้บริการนักท่องเที่ยวบนเกาะตะรุเตาและเกาะอาดัง สอบถามรายละเอียดได้ที่ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช โทร. 0 2562 0760, www.dnp.go.th หรือ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติตะรุเตา บริเวณท่าเรือปากบารา ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล 91110โทร. 0 7478 3485, 0 7478 3597, 0 7478 1285 หรือ หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติตะรุเตาที่ ต.ต.1 (อ่าวพันเตมะละกา) บนเกาะตะรุเตา โทร. 0 7472 9002-3

 

 

วันเปิดทำการ :  ทุกวัน
 

 

เวลาเปิดทำการ :   06.00 - 20.00
 

 

ข้อมูลการติดต่อ :

     กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช โทร. 0 2562 0760, www.dnp.go.th หรือ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติตะรุเตา บริเวณท่าเรือปากบารา ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล 91110โทร. 0 7478 3485, 0 7478 3597, 0 7478 1285 หรือ หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติตะรุเตาที่ ต.ต.1 (อ่าวพันเตมะละกา) บนเกาะตะรุเตา โทร. 0 7472 9002-3

 

 

เดินทางอย่างไร :

 

จากจังหวัดตรัง – ท่าเรือปากบารา
รถโดยสารประจำทาง   ตรัง – สตูล ออกจากตัวเมืองตรัง ถนนรัษฎา ทุก ๆ 1 ชั่วโมง มีบริการตั้งแต่เวลา 06.00-17.00 น. ลงที่สามแยกเข้าละงู ต่อด้วยรถสองแถวไปท่าเรือปากบารา ใช้เวลาเดินทางทั้งสิ้นประมาณ 2 ชั่วโมง
รถแท็กซี่ ตรัง – สตูล  ออกจากตัวเมืองตรัง ถนนรัษฎา ติดกับคิวรถโดยสารประจำทาง มีบริการตั้งแต่เวลา06.00-17.30 น. ของทุกวัน ผ่านอำเภอย่านตาขาว อำเภอปะเหลียน ลงที่สามแยกเข้าอำเภอละงู ต่อด้วยรถสองแถวหรือมอเตอร์ไซด์รับจ้างสู่ท่าเรือปากบารา
รถตู้ เฉพาะช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว (ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-เมษายนของทุกปี) จาก หน้าสถานีรถไฟตรัง มีบริการรถตู้โดยสารวันละ 2 เที่ยว เวลา 09.30 น. และ 11.30 น. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดได้ที่ บริษัท เค.เค ทราเวล แอนด์ ทัวร์ โทร. 0 7521 1198
 
จากอำเภอเมือง จังหวัดสตูล-ท่าเรือปากบารา  
รถยนต์    ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 406 ถึงบ้านฉลุง แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 416 (สตูล-ละงู)  ต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 4052  ซึ่งแยกจาก อำเภอละงู ตรงไปสู่ท่าเรือปากบารา ระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร
รถโดยสาร  มีรถแท็กซี่โดยสารสายสตูล-ปากบารา ออกจากตัวเมืองสตูล บริเวณข้างธนาคารกรุงเทพ สาขาสตูล วิ่งบริการวันละหลายเที่ยว นอกจากนี้ยังมีรถสองแถวและรถตู้ วิ่งบริการจากบริเวณตัวเมืองด้วย
 
จากอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา-ท่าเรือปากบารา 
รถยนต์  ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 406 ถึงบ้านฉลุง จังหวัดสตูล แยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 416 (สตูล-ละงู) ต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 4052 ซึ่งแยกจาก อำเภอละงู ตรงไปสู่ท่าเรือปากบารา
รถตู้โดยสาร จอดที่หน้าตลาดเกษตรฯ ถนนเพชรเกษม ตั้งแต่เวลา 07.30-18.30 น. รถจะออกทุก 1 ชั่วโมง ใช้เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง (สามารถนั่งรถตุ๊ก ๆ จากหน้าสถานีรถไฟไปลงที่ตลาดเกษตรฯราคา 10 บาท) สอบถามรายละเอียดได้ที่ บริษัท สตูลขนส่ง จำกัด (คิวรถตู้หาดใหญ่) โทร. 0 7424 5655
ตารางเดินเรือไปยังหมู่เกาะตะรุเตาและเกาะหลีเป๊ะ ของบริษัทต่างๆ จากท่าเรือปากบารา  
ในช่วงเทศกาลท่องเที่ยวตะรุเตาประมาณเดือนพฤศจิกายน-เมษายน มีบริการเรือโดยสารสู่เกาะต่างๆ ในเขตอุทยานแห่งชาติตะรุเตา จำนวน 5 บริษัท  (ตารางและเวลาเดินเรืออาจมีการเปลี่ยนแปลง กรุณาสอบถามรายละเอียดก่อนเดินทาง)
1. เรือสปีดโบ้ท / Speed Boat จำนวน 3 บริษัท
  1.1 บันดาหยา สปีดโบ้ท โทร. 08 9963 2377

 

 

แผนที่ : 

ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น
 

 

 

 

เส้นทางการเดินทางท่องเที่ยว / สถานที่ท่องเที่ยวที่อยู่ใกล้เคียง :

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com