ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ข้อมูลทั่วไป
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทธรรมชาติ
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
รายชื่อมัสยิด
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
อาหารและเครื่องดื่ม
กลุ่มอาชีพ / สินค้า
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 10
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

หมู่บ้านจุฬาภรณ์ 10 เป็นหมู่บ้านหมู่ร่วมพัฒนาชาติไทย ที่มีบรรยากาศเย็นตลอดปี มีต้นไม้ใหญ่ที่สุดในภาคใต้, น้ำตกในบริเวณ ,ที่พักตากอากาศ ,หมอฝังเข็มรักษาโรค ,สมุนไพร,อาหารจีนและติดป่าบาลา-ฮาลา เหมาะแก่การท่องเที่ยวและเข้าค่ายอย่างยิ่ง

ความเป็นมา
จากการที่พรรคคอมมิวนิสต์มาลายา  ได้ยุติการต่อสู้ด้วยอาวุธและสลายกองทัพมาเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย ตามข้อตกลงนามสัญญาสันติภาพ 3 ฝ่าย (รัฐบาลไทย /รัฐบาลประเทศมาเลเซีย /พรรคคอมมิวนิสต์มาลายา) เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2532  ณ โรงแรมลีการ์เดนส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา      กองทัพภาคที่ 4 โดยพลทหารราบที่ 5 ได้จัดทำโครงการรับผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยขึ้นเพื่อรองรับผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย โดยมีระยะเวลาโครงการ 6 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2533 – 2538 โดยจัดตั้งเป็นหมู่บ้านขึ้นมา  เรียกว่า   “หมู่บ้านรัตนกิตติ 2”

ต่อมาศาสตราจารย์ดอกเตอร์สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์อัคราชกุมารี องค์ประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์     ทรงมีพระราชประสงค์จะทำการพัฒนา โครงการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมและชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรในพื้นที่จังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส เพื่อให้เกิดความมั่นคงภายในพื้นที่แนวชายแดนจึงได้โปรดเกล้า    โปรดกระหม่อมทรงรับหมู่บ้าน  “รัตนกิตติ 2”     เข้าร่วมโครงการของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์    และทรงพระราชทานชื่อหมู่บ้านใหม่เป็น “หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 10”      เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2536       ซึ่งมีพื้นที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ หมู่ที่ 8  ตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา

ต่อมา    เมื่อวันที่  18 ตุลาคม พ.ศ.2547    “หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 10”   ได้แยกออกจาก หมู่ที่ 8 ตำบลอัยเยอร์เวง โดยได้จัดตั้งเป็น “หมู่ที่ 10 ตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา” ในปัจจุบัน

พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 10 อำเภอเบตง และเปิดงานรำลึกครบรอบ 20 ปี การลงนามสัญญาสันติภาพ 3 ฝ่าย ไทย- มาเลเซีย- สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์มาลายา วันนี้ (16 ก.พ.53) ที่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 10 ตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา 

นายดลเดช พัฒนรัฐ นายอำเภอเบตง เป็นประธานในพิธีเปิดอาคารพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 10 อำเภอเบตง จังหวัดยะลา และงานรำลึกครบรอบ 20 ปี การลงนามสัญญาสันติภาพ 3 ฝ่าย ไทย-มาเลเซีย-สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์มาลายา โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ ประชาชน ที่อยู่ในประเทศมาเลเซียเดินทางมาเยี่ยมญาติและร่วมงานเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีนายเฉิน อายุ 92 ปี อดีตผู้นำติดอาวุธพรรคคอมมิวนิสต์มาลายามาร่วมงานด้วย 

นายดลเดช พัฒนรัฐ นายอำเภอเบตง กล่าวว่า โครงการพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์บ้านจุฬาภรณ์พันา 10 เป็นศูนย์เรียนรู้และท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ประวิติศาสตร์ โดยภายในอาคารจัดแสดงรูปภาพ ประวัติความเป็นมา และอุปกรณ์ครุภัณฑ์ที่ใช้ในอดีต โดยใช้งบประมาณทั้งสิ้นประมาณ 3 ล้านบาท ส่วนงานรำลึกครบรอบ 20 ปี การลงนามสัญญาสันติภาพ 3 ฝ่าย ไทย-มาเลเซีย-สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์มาลายา (พคม.) นั้น ทางราษฎรบ้านจุฬาภรณ์ 10 ได้จัดขึ้น เพื่อให้ลูกหลานชาวจีนเชื้อสายไทยและมาเลเซียในปัจจุบันได้ระลึกถึงอดีตและประวัติศาสตร์ความเป็นมาของการต่อสู้ และการยุติการต่อสู้ด้วยอาวุธและสลายกองทัพเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย ตามข้อตกลงนามสัญญาสันติภาพ 3 ฝ่าย เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2532 กองทัพภาคที่ 4 โดยพลทหารราบที่ 5 ได้จัดทำโครงการรับผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยขึ้น เพื่อรองรับผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย มีระยะเวลาของโครงการ 6 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2533 ปีงบประมาณ 2538 โดยจัดตั้งเป็นหมู่บ้านขึ้นเป็น 4 หมู่บ้าน เรียกว่า หมู่บ้านรัตนกิตติ 1,2,3, และ 4 ตามลำดับ ต่อมา ศาสตราจารย์ดอกเตอร์ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี องค์ประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ทรงมีพระประสงค์จะทำการพัฒนาโครงการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม และ ชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรในพื้นที่จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส เพื่อให้เกิดความมั่นคงในพื้นที่แนวชายแดน จึงได้โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมทรงรับหมู่บ้านรัตนกิตติทั้ง 4 หมู่บ้านเข้าร่วมโครงการของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ และทรงพระราชทานชื่อหมู่บ้านใหม่เป็น หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 9,10,11,12 เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2536

 

 

สิ่งอำนวยความสะดวก :
พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา ๑๐ สร้างขึ้นเพื่อจัดเก็บรวบรวมวัสดุสิ่งของ  ที่สหายใช้ในอดีต และรวบรวมประวัติความเป็นมาของการก่อตั้ง  กองทัพประชาชนมาลายา  ให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาและเรียนรู้ ในด้านการใช้ชีวิตอยู่ในป่า แนวคิดอุดมการณ์ที่มีร่วมกัน         โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนระดับหมู่บ้าน จังหวัดชายแดนภาคใต้ (พนม.)ปี ๒๕๕๑ – ๒๕๕๒ คือ “โครงการก่อสร้างอาคารศูนย์การเรียนรู้และท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ประวัติศาสตร์ (พิพิธภัณฑ์)” โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้ เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ที่ครบถ้วนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของหมู่บ้าน และส่งเสริมการท่องเที่ยวในหมู่บ้าน   

การก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา ๑๐ มีลักษณะเป็นอาคารเดี่ยวชั้นเดียว   ขนาด   ๘ ×  ๒๕   ตารางเมตร    โดยประมาณการก่อสร้างจนแล้วเสร็จ  ต้องใช้งบประมาณ  จำนวน  ๑  ล้าน  ๙ แสนบาท ( ๑,๙๐๐,๐๐๐ )  เริ่มโครงการ   โดยใช้งบประมาณของโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับหมู่บ้าน ( พนม.) ปี ๒๕๕๑  จำนวน    ๒๒๘,๐๐๐  บาท   แต่การก่อสร้างอาคารไม่แล้วเสร็จ สร้างได้เพียงโครงสร้างอาคาร ขนาด  ๘ ×  ๑๐ ตารางเมตร ซึ่งต่อมาคณะกรรมการหมู่บ้าน(กม.) ได้รับเงินบริจาคร่วมสมทบทุนในการก่อสร้างอาคารฯ  จากชาวบ้านในหมู่บ้าน และกลุ่มองค์กรต่าง ๆ  ในหมู่บ้าน  เช่น  สหกรณ์ชาวบ้านจุฬาภรณ์พัฒนา ๑๐     อรบ.      และส่วนหนึ่งได้รับเงินบริจาคร่วมสมทบทุนในการก่อสร้าง  จากนักท่องเที่ยวชาวไทย  และชาวมาเลเชีย   ทำให้การก่อสร้างตัวอาคารแล้วเสร็จสมบูรณ์  (การก่อสร้างตัวอาคารแล้วเสร็จใช้งบโดยประมาณ ๑ ล้าน ๒ แสน ๕ หมื่นบาท  )     

โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนระดับหมู่บ้าน จังหวัดชายแดนภาคใต้(พนม.) ปี ๒๕๕๒ งบประมาณ จำนวน  ๒๒๘,๐๐๐  บาท  คือ “โครงการต่อยอดการก่อสร้างอาคารศูนย์การเรียนรู้และท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ประวัติศาสตร์ (พิพิธภัณฑ์)” โดยทำการตกแต่งภายในตัวอาคารในส่วนจัดแสดง รูปภาพ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในอดีต การตกแต่ภายในทำได้เพียงในบางส่วน และขาดงบประมาณในการดำเนินงาน อีก จำนวน ๔ แสน ๕ หมื่นบาท (โดยการประมาณการตกแต่งภายในตัวอาคารส่วนที่จัดแสดง คาดว่าต้องใช้งบ ประมาณ จำนวน ๖ แสนบาท)

ในปี ๒๕๕๒   หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา ๑๐ ได้รับการคัดเลือกจากอำเภอเบตง เป็นตัวแทนของอำเภอเบตง เข้าร่วมประกวดโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่มีผลงานดีเด่นประจำปี ๒๕๕๒   ผลการประกวด ได้ลำดับที่ ๒ ได้รับเงินรางวัล  จำนวน ๕๐๐,๐๐๐ บาท
 

 

วันเปิดทำการ :  ทุกวัน
 

 

เวลาเปิดทำการ :  24 ชั่วโมง
 

 

ข้อมูลการติดต่อ :

    วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจุฬาภรณ์ 10
    ตั้งอยู่หมู่ที่ 10 ตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา

 

 

เดินทางอย่างไร :

 

เส้นทางการเดินเข้าสู่ชุมชนและการคมนาคม 
การขนส่งพืชผลทางการเกษตรและการเดินทางเข้าสู่หมู่บ้าน โดยเดินทางจากอำเภอเบตง – หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 10 ด้วยรถยนต์ ใช้เวลาในการเดินทางโดยประมาณ 30 นาที ระยะทางโดยประมาณ 30 กิโลเมตร.

-----------------
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก https://sites.google.com/site/mbanchulapornpattana10/home/phaen-thi-hmuban

 

 

แผนที่ : 
 

 

 

 

เส้นทางการเดินทางท่องเที่ยว / สถานที่ท่องเที่ยวที่อยู่ใกล้เคียง :

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com